ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุวรรณ พวงประโคน en_US
dc.contributor.advisor พัชรินทร์ ศิริอำพันธ์กุล en_US
dc.contributor.advisor สมศักดิ์ เทศสวัสดิ์วงศ์ en_US
dc.contributor.author รัชนีวัลย์, เต็งตระกูล
dc.date.accessioned 2017-09-28T02:01:29Z
dc.date.available 2017-09-28T02:01:29Z
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2530
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาลักษณะการมีส่วนร่วมและปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่นในการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ ประชากร ได้แก่ ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ จำนวน 3 แห่ง คือ ชุมชนหลังศาล ชุมชนเทศบาล และชุมชนตลาด บ.ข.ส. จำนวน 5,577 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 373 คน ได้มาจากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางสำเร็จรูปของทาโร ยามาเน (Taro Yamane) ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบตามความสะดวก (Convenience Sampling) จากชุมชนหลังศาลจำนวน 97 คน ชุมชนเทศบาล 150 คน และชุมชนตลาด บ.ข.ส. 126 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมี 2 ลักษณะ คือ แบบเลือกตอบ และแบบปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ผลวิจัยพบว่า 1. ลักษณะการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ มีดังนี้ 1.1 การมีส่วนร่วมคิดในการัดการขยะมูลฝอย ประชาชนส่วนใหญ่มีส่วนร่วมมากที่สุด แต่มีส่วนร่วมน้อยในการเป็นผู้ริเริ่มการจัดการขยะมูลฝอย 1.2 การมีส่วนร่วมวางแผนจัดการขยะมูลฝอย ประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีส่วนร่วม และมีส่วนร่วมน้อยที่สุดในการกำหนดเป้าหมาย 1.3 การมีส่วนร่วมดำเนินการกำจัดขยะมูลฝอย ประชาชนส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการชำระค่าธรรมเนียมขยะมูลฝอยแก่เทศบาล แต่มีส่วนร่วมน้อยที่สุดในการเป็นสมาชิกโครงการตลาดนัดวัสดุเหลือใช้ 1.4 การได้รับประโยชน์จากการคัดแยกขยะมูลฝอย ประชาชนส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้นกว่าเดิม และรองลงไป ทำให้สามารถนำวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์ 1.5 การมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผล ประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีส่วนร่วม 2. ปัจจัยของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลมีดังนี้ 2.1 การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการจัดการขยะมูลฝอย ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าผู้นำมีส่วนร่วมในการลงมือปฏิบัติ และมีส่วนร่วมน้อยที่สุดในการรับผลประโยชน์ 2.2 ปัจจัยที่ทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าความตระหนักถึงผลเสียของขยะมูลฝอยที่มีต่อสิ่งแวดล้อมทำให้มีส่วนร่วมมากที่สุด แต่ความศรัทธาและความเกรงใจต่อผู้นำชุมชน มีความเห็นน้อยที่สุด 2.3 การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการรณรงค์การคัดแยกขยะมูลฝอย ประชาชนส่วนใหญ่เคยได้รับข้อมูลข่าวสาร 2.4 การได้รับการสนับสนุนการศึกษา ดูงาน และการอบรมเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับการศึกษาและการอบรม 2.5 การได้รับการสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ ในการจัดการขยะมูลฝอย ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าชุมชนเคยได้รับการสนับสนุน en_US
dc.description.abstract The purposes of this study were to investigate the public participation in The Solid Waste Management Program of Buriram Municipality (SWMPBM), and factors affecting the participation of the communities. The population of 5,557 live in three communities of Buriram Municiparity: Lungsarn, Municipality and Bus Station Market. The sample group of 373 was derived through Taro Yamane’s Table by convenience sampling, of which 97 were in Lungsarn, 150 in Municipality, and 126 in Bus Station Market. The instrument comprised 2 parts: Check list, and Open form. The statistics for data analysis was percentage. The results revealed that: 1. SWMPBM was as followed :1.1 participation by expressing opinions for SWMPBM was at highest level , but creative participation was low. 1.2 Participation in planning zero, and participation in goal setting was lowest. 1.3 People cooperated in fee paying waste management, nevertheless least participation was revealed of Used Material Market. 1.4 It was also disclosed that the selection process had been useful because firstly it had generated a better environment, and secondly materials had been reusable. 1.5 Participation in evaluation was mostly not action. 2. Factors concerning participation: 2.1 Regarding the participation of the leaders, most people thought that leaders took least action in practicing and receiving and receiving advantages. 2.2 Factors concerning participation the most was being aware of unhealthy environment resulting from waste, and the least were respects and faiths in the community’s leaders. 2.3 Most participants had never heard of waste selection process. 2.4 least participants had access to supports of in education of in education, jobs and trainings about solid waste management. 2.5 It was recognized that the communities were supported regarding materials for waste management. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ en_US
dc.title การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative The public participation in the solid waste management program of Buriram Municipality en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics