ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

สภาพการดำเนินการและปัญหาด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ในโรงเรียนกลุ่มเครือข่าย พัฒนาคุณภาพการศึกษาพลับพลาชัย 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2

Show simple item record

dc.contributor.author นารี, ห่อทอง
dc.date.accessioned 2017-09-27T07:07:05Z
dc.date.available 2017-09-27T07:07:05Z
dc.date.issued 2015
dc.identifier.citation การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาครั้งที่ 17 และการสัมมนาวิชาการเพื่อเผยแพร่งานวิจัยสู่ชุมชน ครั้งที่ 5 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2433
dc.description.abstract บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินการและปัญหาด้านการจัด กระบวนการเรียนรู้ 2) เพื่อศึกษาสภาพความร่วมมือในการดำเนินการด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ และ 3) เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็น ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 12 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 3 คน และครู จำนวน 140 คน รวม ทั้งสิ้น 155 คน เก็บข้อมูลโดยใชแ้ บบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรง มีค่าความเชื่อมั่น 0.923 และการใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารโรงเรียนและครูมีความคิดเห็นต่อสภาพการดำเนินการและปัญหาด้านการจัด กระบวนการเรียนรู้ ใน 6 ด้าน มีสภาพการดำเนินการอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับสภาพการ ดำเนินการ ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ได้ดังนี้ อันดับ 1 ด้านการประสานร่วมมือพัฒนางานวิชาการ ของกลุ่มเครือข่าย อันดับ 2 ด้านนโยบายและแนวทางการพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ของ โรงเรียน อันดับ 3 ด้านความรู้และทักษะการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครู อันดับ 4 ด้านการส่งเสริม และพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา อันดับ 5 ด้านการประเมินผล นิเทศและติดตามการจัดกระบวนการเรียนรู้ และอันดับ 6 ด้านสื่อ สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการจัด กระบวนการเรียนรู้ ส่วนสภาพปัญหาด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ พบว่าทุกด้านมีปัญหาอยู่ในระดับ ปานกลาง โดยเรียงลำดับ ดังนี้ อันดับ 1 ด้านการประเมิน นิเทศและติดตามการจัดกระบวนการเรียนรู้ อันดับ 2 ด้านการส่งเสริมและพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา อันดับ 3 ด้านนโยบายและแนวทางการพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ของโรงเรียน อันดับ 4 ด้านสื่อ สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ อันดับ 5ด้านความรู้และทักษะการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครู และอันดับ 6 ด้านการประสานร่วมมือพัฒนา งานวิชาการของกลุ่มเครือข่าย การศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูต่อสภาพความร่วมมือในการดำเนินการ ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ ในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาพลับพลาชัย 2 พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน การ แข่งขันความเป็นเลิศทางวิชาการ และการจัดนิทรรศการผลงานทางวิชาการของกลุ่มเครือข่าย มีสภาพ ความร่วมมือในการดำเนินการสูงสุด ส่วนครู ส่วนใหญ่ให้ความคิดเห็นว่า สภาพความร่วมมือด้านการ แข่งขันความเป็นเลิศทางวิชาการ และการจัดนิทรรศการผลงานทางวิชาการของกลุ่มเครือข่าย มี ค่าเฉลี่ยสูงสุด จากการศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูที่มีต่อสภาพการดำเนินการและ ปัญหาด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดกระบวนการ เรียนรู้มากที่สุด คือ ครู ได้แก่ ครูสอนไม่ตรงวิชาเอก ครูไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน และครูขาด ทักษะการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูต้องมีวิธีการในการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย สามารถทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ กระตือรือร้นในการเรียนรู้ มีความเชี่ยวชาญในวิชาที่สอน และครู ควรได้รับการอบรมพัฒนาด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย คือ ผู้บริหารโรงเรียนและครูส่วนใหญ่เห็นว่า ครูควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ รองลงมา คือ สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาควรส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรครูด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง โรงเรียนควรสนับสนุน วัสดุ อุปกรณ์ สื่อที่ส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ และการนิเทศติดตาม การดำเนินงานด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ควรปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title สภาพการดำเนินการและปัญหาด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ในโรงเรียนกลุ่มเครือข่าย พัฒนาคุณภาพการศึกษาพลับพลาชัย 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 en_US
dc.title.alternative STATE OF OPERATIONS AND PROBLEMS IN LEARNING PROCESS MANAGEMENT IN SCHOOLS OF PLABPLACHAI QUALITY DEVELOPMENT NETWORK GROUP 2 UNDER BURIRAM EDUCATIONAL SERVICE AREA en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics