ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของสมรรถนะศึกษานิเทศก์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

Show simple item record

dc.contributor.author ปริญญา, เฉิดจำเริญ
dc.date.accessioned 2017-09-25T03:24:34Z
dc.date.available 2017-09-25T03:24:34Z
dc.date.issued 2015
dc.identifier.citation การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ พ.ศ. 2558 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2274
dc.description บทคัดย่อการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นสมรรถนะศึกษานิเทศก ์ ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของสมรรถนะศึกษานิเทศก์ ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิผล รวมองสมรรถนะศึกษานิเทศก์ ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน การวิจัยครั้งนี้แบบเป็น 2 ระยะ จึงมีกลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ระยะที่ 1 เป็นการสัมภาษณ์ เพื่อกำหนดกรอบของรูปแบบความสัมพันธ์ โครงสร้างของสมรรถนะศึกษานิเทศก ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน ผู้วิจัยจึงใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ซึ่งเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาศึกษานิเทศก์ ที่มีวิทยฐานะในระดับ เชี่ยวชาญ และเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู็นำในการนิเทศการศึกษามาเป็นผู้ให้ข้อมูลสำหรับการสัมภาษณ์ เชิงลึก จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห ์ข้อมูล การวิจัยระยะที่ 1 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เป็นที่ใช้ สำหรับการสัมภาษณ เชิงลึก เป็นแบบสัมภาษณ ์แบบมีโครงสร้าง การวิเคราะห์ ข้อมูลของการวิจัยเป็นข้อมูลเชิง คุณภาพที่ไม่ต้องอาศัยสถิติตัวเลข แต่อาศัยข้อมูลสาระสนเทศ รายละเอียด ด้านสมรรถนะศึกษานิเทศก ที่ได้จาก การสัมภาษณ ผู้วิจัยได้นำข้อคิดเห็น คำตอบ วิเคราะห์ ข้อมูลโดยการใช้วิธีการวิเคราะห เชิงเนื้อหา ด้วยการหาข้อสรุป ตามประเด็นคำถาม อธิบายความเชิงพรรณนา แล้วจัดหมวดตามหัวข้อการวิจัย และในระยะที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วประเทศ ในปีการศึกษา 2557 จำนวน 460 โรง โดยมีผู้บริหารสถานศึกษาหรือข้าราชการครูที่ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนประถมศึกษาเป็นผู้ตอบ แบบสอบถาม ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ในการวิจัยระยะนี้เครื่องมือที่ใช้ในเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น แบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ ใช้เก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามตามแนวคิดทฤษฎีที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น การวิเคราะห ์มูลโดยวิธีการวิเคราะห์ องค์ ประกอบเชิงยืนยัน เพื่อศึกษาว่ารูปแบบการวัดมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยสถิติที่ใช้ใน การทดสอบสมมติฐานเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ โครงสร้างตามทฤษฎีกับข้อมูล เชิงประจักษ จากกลุ่มตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์ จะนำเสนอในรูปการวิเคราะห ์ความสัมพันธ ์เชิงเส้นระหว่างตัวแปร ต่างๆ ค่าสถิติที่สำคัญที่ใช้ในการตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบสมมติฐานการวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของรูปแบบความสัมพันธ ์โครงสร้างเชิงเส้นของสมรรถนะ ศึกษานิเทศก ที่ส่งผลต้่อประสิทธิผลสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน1.1 ผลการวิเคราะห์ ข้อมูลเบื้องต้นของผู้ตอบแบบสอบถาม ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง (ร้อยละ 75.20) โดยมี อายุ 35-44 ป; มากที่สุด (ร้อยละ 39.40) ส่วนใหญ(สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ตรี (ร้อยละ 81.50) และเป็นครูผู้สอน (ร้อยละ 82.00) ซึ่งส่วนใหญ่มีประสบการณ ในการทำงาน 5-10 ป; (ร้อยละ 40.40) 1.2 ผลการวิเคราะห ์ค่าอิทธิพลตัวแปรองค ประกอบสมรรถนะศึกษานิเทศก์ ที่ส่งผลต่อ ประสิทธิผลสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2 จากผลการวิเคราะห์ ข้อมูลสมการโครงสร้างเชิงเส้นของสมรรถนะสมรรถนะศึกษานิเทศก ์ที่ส่งผล ต่อประสิทธิผลสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สามารถอธิบายได้ดังนี้ 2.1 ตัวแปรอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิผลของโรงเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีรายละเอียด ดังนี้ 1) สมรรถนะการปฏิบัติงานหรือเฉพาะทางมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล = 1.88 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) สมรรถนะส่วนบุคคลมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล = -1.09 เป-นอิทธิพลทางลบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 มีดังต่อไปนี้ 2.2.1 สมรรถนะการปฏิบัติงานหรือเฉพาะทางมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลทางอ้อม ต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน = 2.35 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน = 2.35 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2.2 สมรรถนะส่วนบุคคลมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลทางอ้อมต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน = 1.08 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject สมรรถนะ en_US
dc.subject ศึกษานิเทศก en_US
dc.subject ประสิทธิผลของสถานศึกษา en_US
dc.subject competencies en_US
dc.subject education supervisor en_US
dc.subject school effectiveness en_US
dc.title รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของสมรรถนะศึกษานิเทศก์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน en_US
dc.title.alternative A Linear Structural Equation Model of Competencies of Education Supervisors Affecting to the Effectiveness of Basic Education schools en_US
dc.type Proceedings en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics