ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ผลการใช้แบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่องการเขียนสะกดคำ ที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุเทียบ ละอองทอง en_US
dc.contributor.advisor วันทนีย์ นามสวัสดิ์ en_US
dc.contributor.author ณัฐวรา, เอกฉัตร
dc.date.accessioned 2017-09-17T02:49:59Z
dc.date.available 2017-09-17T02:49:59Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2077
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่องการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2)เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะภาษาไทย 3) หาค่าดัชนีประสิทธิผลการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดสำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่องการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านวังรี อำเภอเขฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้วเขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553รวม 11 คน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง แบบกลุ่มเดียว ( One Group Pretest-posttest design) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าดัชนีประสิทธิผล การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยค่าที (t-test) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่องการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด จำนวน 4 เล่ม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการเขียนสะกดที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด เป็นแบบปรนัย มี 3 ตัวเลือกจำนวน 40 ข้อ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน ด้วยแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่องการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ ผลการวิจัยพบว่า 1.แบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่องการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ 85.22/92.27 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ใช้แบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่องการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ขึ้นสูงร้อยละ 75 4. ความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่องการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title ผลการใช้แบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่องการเขียนสะกดคำ ที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline หลักสูตรและการสอน
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics