ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การศึกษาการละเล่นพื้นบ้านกลองยาวอำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด

Show simple item record

dc.contributor.advisor ภูมิจิต เรืองเดช en_US
dc.contributor.advisor สมมาตร์ ผลเกิด en_US
dc.contributor.advisor ประกิจ จันตะเคียน en_US
dc.contributor.author ชาญวิทย์, ชุมศรี
dc.date.accessioned 2017-09-17T02:42:43Z
dc.date.available 2017-09-17T02:42:43Z
dc.date.issued 2549
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2075
dc.description.abstract การวิจัยนี้เป็นความมุ่งหมายเพื่อศึกษา 1) ปัจจัยที่มีผลทำให้การละเล่นพื้นบ้านกลองยาวดำรงอยู่ได้ในปัจจุบัน 2) กระบวนการในการปรับตัวของคณะกลองยาว และ 3) แนวทางในการอนุรักษ์และเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการละเล่นพื้นบ้านกลองยาวอำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด โดยศึกษาจากคณะกลองยาว 3 คณะ ได้แก่ คณะขวัญใจเพชรประทุม คณะเมืองเกษ คณะน้องใหม่ขวัญใจป่ายาง ผู้ที่เกี่ยว ได้แก่ หัวหน้าคณะ รองหัวหน้าคณะ นักดนตรีสากล ผู้ว่าจ้าง และผู้ชมการแสดง จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลตามความมุ้งหมายแล้วเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ปัจจัยที่มีผลต่อการดำรงอยู่ของการละเล่นพื้นบ้านกลองยาวในปัจจุบัน ได้แก่ ปัจจัยด้านเครื่องดนตรีประกอบในการบรรเลงกลองยาว โดยนำเครื่องดนตรีพื้นบ้าน ประเภทเครื่องหนังหุ้ม และเครื่องโลหะบรรเลงร่วมกันทำให้เกิดความครึกครื้น ปัจจัยด้านโอการในการแสดง คือการได้มีส่วนรวมและงานประเพณีส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการสร้างรายได้ จากการศึกษาคณะกลองยาว 3 คณะมีรายได้จากการแสดง 3,000 – 9,000 บาท ต่อครั้ง ปัจจัยด้านความต้องการของผู้ว่าจ้าง/ ผู้ชมการแสดง ที่ให้คณะกลองยาวร่วมการแสดงในงานประเพณีต่าง ๆ เป็นภาพสะท้อนให้เห็นการละเล่นพื้นบ้านกลองยาวว่ามีการดำรงอยู่ และปัจจัยด้านการสืบทอด เห็นได้จากที่มีการดำรงอยู่ของคณะกลองยาวในปัจจุบัน กระบวนการในการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของคณะกลองยาว ได้แก่ การประสมวงกลองยาวแบบประยุกต์ โดยการนำเครื่องดรตรีสากลเข้าร่วมบรรเลงในการแสดงกลองยาว การบรรเลงยาวแบบประยุกต์ มีการปรับเปลี่ยนวิธีการบรรเลงให้มีจังหวะที่กระชับขึ้นเพื่อให้กลมกลืนกับเพลงในปัจจุบันที่นำมาบรรเลง และการประยุกต์เครื่องแต่งกายที่มีรูปแบบเดียวกันซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละคณะ แนวทางในการอนุรักษ์ และเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการละเล่นพื้นบ้านกลองยาว ได้แก่ การจัดให้มีการเรียนการสอนกลองยาวในสถานศึกษาของชมชน การจัดประกวดกลองยาวเพื่อให้เกิดการพัฒนาประยุกต์ และการจัดให้มีสื่อกลองยาวแบบวีดีทัศน์หรือวีดีโอซีดีเพื่อสดวกในการศึกษาเผยแพร่ en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title การศึกษาการละเล่นพื้นบ้านกลองยาวอำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics