ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การบริหารงานการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ ละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor พรพิมล พงศ์สุวรรณ en_US
dc.contributor.advisor นิวัฒน์ กัลยพฤกษ์ en_US
dc.contributor.advisor สมใจ ภูมิพันธุ์ en_US
dc.contributor.author ชนากานต์, พูนสวัสดิ์
dc.date.accessioned 2017-09-17T02:41:05Z
dc.date.available 2017-09-17T02:41:05Z
dc.date.issued 2545
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2074
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารงานพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร 34 คน ครู 372 คน และกรรมการสถานศึกษา 136 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่า t – test ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารงานพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู พบว่า สิ่งสำคัญที่มีการปฏิบัติมากที่สุด คือ การจัดทำธรรมนูญโรงเรียน การได้รับความร่วมมือและอำนวยความสะดวกจากท้องถิ่นในการจัดหาทรัพยากรพื้นฐานที่จำเป็นและการกำหนดคุณภาพผู้เรียนในอนาคต 2. ผู้บริหารและครูมีความคิดเห็นว่า การบริหารงานพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ด้านการพัฒนาหลักสูตรและด้านการประเมินหลักสูตรเป็นรายข้อ มีการดำเนินงานและปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลางทุกข้อ ส่วนด้านการบริหารงานที่เอื้อต่อการพัฒนาหลักสูตร มีการปฏิบัติจริงอยู่ในระดับมาก คือ การดำเนินการจัดบรรยากาศในโรงเรียนที่เอื้อต่อการเรียนการสอนและการดำเนินงานด้านอาคารสถานที่ 3. ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับการบริหารงานพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น โดยภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง 4. ความคิดเห็นของผู้บริหารและครู ด้านการบริหารงานพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ด้านการประเมินหลักสูตรท้องถิ่นและด้านการบริหารงานที่เอื้อต่อการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเป็นรายข้อไม่แตกต่างกัน 5. ความคิดเห็นของผู้บริหารและครู ที่สำคัญ คือ (1) บุคลากรไม่เข้าใจเรื่องการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น (2) ควรจัดให้มีการให้ความรู้แก่บุคลากรทางการศึกษา เรื่องการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นอย่างเป็นระบบและ (3) ทุกโรงเรียนควรมีหลักสูตรท้องถิ่น 6. คณะกรรมการสถานศึกษา มีความคิดเห็นว่าตนเองได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น โดยการร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่สำคัญ ดังนี้ (1) ปลูกฝังค่านิยมในภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน (2) การมีส่วนร่วมในการจัดทำธรรมนูญโรงเรียนและ (3) การพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน en_US
dc.description.abstract T his research studied and compared the local curriculum development in accordance with the education reform in primary schools under Lahansai District Primary Education Office, Buriram. A Questionnaire survey and interviews were conducted to collect the data from 34 administrators, 372 teachers, ad 136 school board members. Then the data was analyzed by the use of frequency, mean, percentage, standard deviation and t – test. The results of the study were reported as follows : 1. The administrators and teachers reported that what had been put into practice most were establishment of school charter, community cooperation and resources provision, and students quality set – up. 2. The administrators and teachers reported that curriculum development and curriculum evaluation were practiced at the medium level. However, environment and site management was conducted at the high level. 3. The overall perception of the administrators and teachers toward the local curriculum development was at the medium level. 4. The administrators’ and teachers’ perception regarding the local curriculum development and evaluation was not significantly different. 5. The administrators and teachers reported that : (1) there was not a good understanding of the local curriculum development, (2) there should be a systematic curriculum development training for all school personnel, and (3) every school should have their own local curriculum. 6. The school board members claimed that they had participated in the local curriculum development in these activities : (1) establishing local value orientation, (2) joining in establishing school charters, and (3) developing positive learning and teaching environments. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title การบริหารงานการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ ละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative The local curriculum development administration regarding the education reform in primary schools under Lahansai District Office of Primary Education, Buriram Province en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics