ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ความต้องการระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของกลุ่มหัตถกรรมพื้นบ้านบ้านหนองครอบ ตำบลสองชั้น อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor จุมพล วิเชียรศิลป์ en_US
dc.contributor.advisor พรพิมล พงศ์สุวรรณ en_US
dc.contributor.advisor พัชรินทร์ ศิริอำพันธ์กุล en_US
dc.contributor.author มณฑิณี, สุขะ
dc.date.accessioned 2017-09-16T07:51:10Z
dc.date.available 2017-09-16T07:51:10Z
dc.date.issued 2547
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2040
dc.description.abstract การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาความต้องการระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของกลุ่มหัตถกรรมพื้นบ้านบ้านหนองครอบ ตำบลสองชั้น อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ และรูปแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสมในการนำสินค้าของชุมชนออกสู่ตลาดด้วย ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ผลิตสินค้าหัตถกรรมที่เป็นสมาชิกกลุ่มหัตถกรรมพื้นบ้านบ้านหนองครอบ จำนวน 150 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยแบบสอบถามความต้องการระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 5 ประเด็น คือ ความต้องการนำเสนอสินค้า ความต้องการวิธีการสั่งซื้อสินค้า ความต้องการวิธีการขนส่งสินค้า วิธีการรับชำระเงิน และแบบสอบถามรูปแบบของการประกอบการของกลุ่มตามทฤษฎีส่วนประสมการตลาด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1. กลุ่มหัตถกรรมพื้นบ้านบ้านหนองครอบมีความต้องการใช้ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อต้องการเพิ่มช่องทางการจำหน่าย สินค้า โดยใช้องค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้นำเสนอสินค้าให้ กลุ่มลูกค้าที่ต้องการนำเสนอ คือ ผู้ใช้สินค้า กลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นลูกค้าในประเทศ 2. วิธีการสั่งซื้อสินค้า พบว่า ต้องการให้สั่งซื้อสินค้าโดยตรงกับกลุ่มโดยมีสินค้าผลิตไว้มากเพื่อรอการจำหน่าย และไม่ต้องการหลักประกันในการสั่งซื้อสินค้า 3. วิธีการขนส่งสินค้า พบว่า ให้ผู้ซื้อมารับสินค้าด้วยตนเอง ไม่มีการประกันการจัดส่งสินค้าและจัดส่งสินค้าตามความสะดวกของผู้ขาย 4. วิธีการชำระเงิน พบว่า ต้องการรับชำระเงินจากลูกค้าโดยตรง ไม่มีนโยบายในการรับชำระเงินและต้องการให้ใช้ชื่อกลุ่มเป็นผู้รับเงิน สำหรับรูปแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสมในการนำสินค้าของชุมชน พบว่า รูปแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสมและมีความเป็นไปได้ถ้ากลุ่มหัตถกรรมพื้นบ้านบ้านหนองครองนำสินค้าของชุมชนด้วยระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ รูปแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค(Consumer to Consumer หรือ C-to-C) แต่ยังต้องอาศัยหน่วยงานของภาครัฐ สถานศึกษาหรือเอกชนเข้ามาสนับสนุนส่งเสริมจึงจะสามารถนำสินค้าของชุมชนออกสู่ตลาดด้วยระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ en_US
dc.description.abstract The mian purpose of this research was to examine the needs for electronic commerce system of local handicraft Groups of Nong Krob Village, Tambon Songchan, Amphor Krasang, Buriram Province. What Appropriate electronic patterns for them to place their products in the markets were also investigated. The subjects of the study were 150 members of the groups. Data was collected through a questionnaire survey with particular emphasis on 5 aspect of needs: Product presentation, ways of product ordering, methods of product transportation, methods of payment, and management patterns of the groups. Data was analyzed for percentage, mean, and standard deviation. The results of the research found that : The group need the electronic commerce system for adding more channels of their product sales. The product promotion focusing on domestic customers should be in charge of the Tambon Administration Committee. 2. The group prefer the customes’ direct ordering. They also want to adequately produce their handicrafts for sales and there is on need for any guarantee. 3. The groups prefer methods of conveniently product transporting without guarantee organized. 4. They need the customers direct payment to the group. The findings also revealed that the appropriate and possible pattern of the electronic commerce system was the Customer to Customer or C-to-C but they still need the support form private and public organizations as educational institutions in order to feasibly promote their products with the electronic commerce system en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title ความต้องการระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของกลุ่มหัตถกรรมพื้นบ้านบ้านหนองครอบ ตำบลสองชั้น อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative The needs for electronic commerce system of local handicraft groups : A case study of Nong Krob Village, Tambon Songchan, Amphaor Krasang, Buriram Province en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics