ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนกลยุทธ์ตามทัศนะของผู้บริหารและครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor อนันต์ชัย พงศ์สุวรรณ en_US
dc.contributor.advisor วิศิษฐ์ นาจำปา en_US
dc.contributor.advisor วันทนีย์ นามสวัสดิ์ en_US
dc.contributor.author ภูวนาถ, ยุพานวิทย์
dc.date.accessioned 2017-09-16T07:35:26Z
dc.date.available 2017-09-16T07:35:26Z
dc.date.issued 2548
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2025
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับและเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของผู้บริหารและครูผู้ที่ปฏิบัติงานในปีการศึกษา 2546 ในการจัดทำแผนกลยุทธ์ของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์ จำแนกตามประสบการณ์ในตำแหน่งผู้บริหาร ประสบการณ์ในการทำงานของครู และระดับการศึกษา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้บริหาร 67 คน และครูโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ 2,386 คน ผู้บริหารใช้ประชากร สำหรับครูใช้การสุ่มตัวอย่างจากตารางเครชี่และมอร์แกน ได้ 331 คน หลังจากนั้นทำการสุ่มตัวอย่างให้กระจายไปทุกโรงเรียนตามสัดส่วนโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Proportional Stratified Random Sampling) รวมผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย 398 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ลักษณะ คือแบบตรวจสอบรายการ (Check List) แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) และแบบคำถามปลายเปิด (Open Form) ค่าความเชื่อมั่น 0.9851 มีค่าอำนาจอยู่ระหว่าง 1.819 ถึง 4.064 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติ๘นโดยใช้ t-test และ F-test กำหนดค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. โดยภาพรวมและโดยรายขั้นตอน ผู้บริหารมีความเห็นว่าตนเองมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนกลยุทธ์ในระดับมาก ส่วนครูนั้นโดยภาพรวมมีความเห็นว่าตนเองมีส่วนร่วมในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายขั้นตอนพบว่า ขั้นการจัดวางทิศทางการจัดการศึกษาของโรงเรียนอยู่ในระดับมาก ส่วนขั้นตอนอื่น ๆ อยู่ในระดับปานกลาง 2. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมตามตัวแปรต่าง ๆ พบว่าระดับการมีส่วนร่วมของผู้บริหารและครูแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อพิจารณาเป็นรายขั้นตอนพบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ทุกขั้นตอน เช่นเดียวกัน ผู้บริหารที่ประสบการณ์ดำรงตำแหน่งแตกต่างกันมีระดับการมีส่วนร่วมไม่แตกต่างกันแต่ครูที่มีประสบการณ์มีต่างกันมีส่วนร่วมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้บริหารที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีระดับการมีส่วนร่วมไม่แตกต่างกัน ส่วนครูที่มีระดับการศึกษาต่างกันโดยภาพรวมระดับการมีส่วนร่วมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นขั้นตอนพบว่าขั้นตอนที่มีระดับการมีส่วนร่วมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ขั้นตอนการศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับสภาพของโรงเรียน การกำหนดกลยุทธ์ของโรงเรียน และขั้นตอนการจัดทำโครงสร้างและการวางแผนปฏิบัติการ ส่วนขั้นตอนอื่น ๆ ระดับการมีส่วนร่วมไม่แตกต่างกัน 3. สภาพปัญหาที่พบในการจัดทำแผนกลยุทธ์ คือ บุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดทำแผนกลยุทธ์ ไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร มีภาระงานมากทำให้มีเวลาในการจัดทำแผนกลยุทธ์ค่อนข้างน้อย ขาดแคลนงบประมาณ และโรงเรียนขนาดใหญ่ใช้เวลาจัดแผนกลยุทธ์มาก การแก้ปัญหาในการจัดทำแผนกลยุทธ์ได้แก่การจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำแผนกลยุทธ์ แบ่งกลุ่มและมอบหมายงานให้ไปศึกษาและนำเสนอในที่ประชุมสร้างความตระหนักให้บุคลากรเห็นความสำคัญของแผนกลยุทธ์ และปรึกษาศึกษานิเทศก์ 4. ข้อเสนอแนะในการจัดทำแผนกลยุทธ์นั้นผู้บริหารและครูเห็นว่าสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรเร่งจัดอบรมผู้บริหารและครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำแผนกลยุทธ์ เป็นอันดับ 1 รองลงไปคือ ควรแต่งตั้งบุคลากรที่มีความชำนาญทำหน้าที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดทำแผนกลยุทธ์ประจำโรงเรียน ควรนำแผนกลยุทธ์มาใช้อย่างจริงจังและมีการนิเทศติดตามผล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรสร้างความตระหนักให้ผู้บริหารและครูเห็นความสำคัญของแผนกลยุทธ์ให้มากขึ้น ควรให้บุคลากร องค์กรชุมชนหรือผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนกลยุทธ์มากขึ้น ควรจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ และโรงเรียนควรแต่งตั้งคณะทำงานให้เหมาะสม en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title การมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนกลยุทธ์ตามทัศนะของผู้บริหารและครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative Participation in strategic planning as perceived by en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics