ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อการพัฒนาแหล่งเรียนรู้สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2

Show simple item record

dc.contributor.advisor ประเสริฐ ภู่เงิน en_US
dc.contributor.advisor เบญจพร วรรณูปถัมภ์ en_US
dc.contributor.author ประเสริฐ, แทนพลกรัง
dc.date.accessioned 2017-09-16T07:27:21Z
dc.date.available 2017-09-16T07:27:21Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2016
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 ตามกรอบแนวคิด 5 ด้าน คือ 1)ด้านการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 2) ด้านการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน ปัญหาของแหล่งเรียนรู้ 3) ด้านการศึกษารูปแบบ ในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 4) ด้านการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับแหล่งเรียนรู้ และ 5) ด้านการประเมินผลการใช้แหล่งเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 148 คน และครู 338 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซีและมอร์แกน แล้วสุ่มกลุ่มตัวอย่างทั้งผู้บริหารสถานศึกษาและครู โดยใช้วิธีการสุ่มแบบ แบ่งชั้นภูมิตามสัดส่วน โดยให้ขนาดโรงเรียนเป็นชั้นภูมิ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อย ละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานใช้การทดสอบค่าทีและค่าเอฟ ผลการวิจัยพบว่า 1.บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา ที่มีต่อการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมาก เช่นเดียวกัน โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยสูงไปหาต่ำ คือ ด้านการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับแหล่งเรียนรู้ ด้านการศึกษารูปแบบในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ด้านการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ด้านการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน ปัญหาของแหล่งการเรียนรู้ และด้านการประเมินผลการใช้แหล่งเรียนรู้ตามลำดับ 2.บทบาทของผู้บิหารสถานศึกษา ในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ตามความคิดเห็นของครูพบว่า โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ก็พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เช่นเดียวกัน โดยด้านการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับแหล่งเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือด้านการศึกษาความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ด้านการศึกษารูปแบบในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ด้านการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน ปัญหาของแหล่งเรียนรู้ และด้านการประเมินผลการใช้แหล่งเรียนรู้ ตามลำดับ 3.ผลการเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 โดยรวมไม่แตกต่างกันและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการศึกษาข้อมูลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบ จำแนกตามขนาดของโรงเรียนโดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน 4.ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 มีข้อเสนอแนะในแต่ละด้านดังนี้ 1)ด้านการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ โรงเยนควรจะมีการพัฒนาบุคลากร โดยการประชุม อบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน เพื่อนำความรู้มาพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน 2)ด้านการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน ปัญหาของแหล่งเรียนรู้ ควรมีการสำรวจแหล่งเรียนรู้ ทั้งในโรงเรียน ชุมชนพร้อมทั้งเก็บรวบรวมข้อมูล ทำทะเบียน ไว้อย่างเป็นระบบ 3)ด้านการศึกษารูปแบบในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ควรจัดหา วัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ต่างๆ ที่จำเป็นไว้ในห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์และห้องพิเศษอื่นๆ อย่างเพียงพอ 4)ด้านการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับแหล่งเรียนรู้ ควรมีการจัดงบประมาณสนับสนุน มีการใช้ การปรับปรุง การพัฒนาแหล่งเรียนรู้และ 5)ด้านการประเมินผลการใช้แหล่งเรียนรู้ ควรมีการบันทึกและประเมินผลการใช้แหล่งเรียนรู้ พร้อมสรุปผลเมื่อสิ้นปีการศึกษาเพื่อแก้ไข ปรับปรุงและพัฒนาต่อไป แก้ไข en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อการพัฒนาแหล่งเรียนรู้สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 en_US
dc.title.alternative ROLES OF SCHOOL ADMINISTRATION IN THE DEVELOPMENT OF LEARNING RESOURCES UNDER BURIRAM EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics