ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 2

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศิราณี จุโฑปะมา en_US
dc.contributor.advisor มาลิณี จุโฑปะมา en_US
dc.contributor.advisor ประคอง กาญจนการุณ en_US
dc.contributor.author ถิรมนัส, ยอดบุญมา
dc.date.accessioned 2017-09-16T07:21:26Z
dc.date.available 2017-09-16T07:21:26Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2008
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 2 จำแนกตามสถานภาพและขนาดของสถานศึกษา ตามกรอบแนวคิด 5 ด้าน คือ 1) ด้านความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 2) ด้านข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน ปัญหาของแหล่งเรียนรู้ 3) ด้านรูปแบบในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 4) ด้านการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับแหล่งเรียนรู้ 5) ด้านการประเมินผลการใช้แหล่งเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 127 คน และครู จำนวน 327 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ เครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) แล้วทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างย่อย (Stratified Random Sampling) ทั้งผู้บริหารสถานศึกษาและครูแบ่งตามขนาดของสถานศึกษาและทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแต่ละขนาดสถานศึกษาตามสักส่วน (Proportional Stratified Random Sampling) โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) การวะเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานใช้ค่า t-test (Independent Samples) และ F-test และการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของ เชฟเฟ่ (Scheff’s Method) กำหนดสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูที่ต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ โดยรวมและรายด้านทุกด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยสูงไปหาต่ำตามความคิดเห็นของผู้บริหารคือ ด้านข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน ปัญหาของแหล่งเรียนรู้และด้านการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับแหล่งเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยอยู่ระดับสูงสุด รองลงมาได้แก่ ด้านรูปแบบในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ด้านการศึกษาความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ และด้านการประเมินผลการใช้แหล่งเรียนรู้ ตามลำดับ ส่วนความคิดเห็นของครูโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยสูงไปหาต่ำ คือ ด้านความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และด้านข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน ปัญหาของแหล่งเรียนรู้ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ด้านการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับแหล่งเรียนรู้ ด้านรูปแบบในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ และด้านการประเมินผลการใช้แหล่งเรียนรู้ ตามลำดับ 2. บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 2 โดยรวมและรายด้านทุกด้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 2 โดยรวมพบว่า ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนขนาดกลาง และโรงเรียนขนาดใหญ่ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูคือ ควรมีการสร้างจัดหาและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโงเรียนให้มากขึ้น ควรมีการเก็บข้อมูลแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการนำไปใช้ควรมีการประสานงานวางแผนร่วมกันระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ควรมีการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เช่น การใช้วิทยากรในท้องถิ่น การประกอบอาชีพไปถึงวัฒนธรรมความเป็นอยู่ในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อนักเรียน และควรมีการจัดกิจกรรม ประกวดการผลิตสื่อ และนวัตกรรมทางการเรียนการสอน en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 2 en_US
dc.title.alternative Roles of School Administrators Toward Learning Sources Development as Perceived by School Administrators and Teachers Under Nakhonratchasima Educational Service Area Office 2 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics