ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การศึกษาการบริหารการสร้างเสริมพฤติกรรมสุข**ภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor อนันต์ชัย พงศ์สุวรรณ en_US
dc.contributor.advisor หาญชัย อัมภาผล en_US
dc.contributor.advisor ประคอง กาญจนการุณ en_US
dc.contributor.author พจนีย์, เข็มบุปผา
dc.date.accessioned 2017-09-16T07:15:06Z
dc.date.available 2017-09-16T07:15:06Z
dc.date.issued 2544
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1992
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาการบริหารงานการสร้างพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนหมวดวิชาพลานามัยและครูอนามัยโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ในกรอบแนวคิด 4 ด้าน คือด้านบุคลากร ด้านการส่งเสริมสุขภาพอนามัย ด้านการจัดประสบการณ์และด้านการปลูกจิตสำนึกต่อส่วนรวมและร่วมสร้างสรรค์สังคม 2) เปรียบเทียบการปฏิบัติการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพตามบัญญัติแห่งชาติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 10 ด้าน คือ ด้านการดูแลรักษาร่างกายและของใช้ให้สะอาด ด้านการรักษาสุขภาพฟันและช่องปาก ด้านการล้างมือให้สะอาด ด้านการรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ ด้านการหลีกเลี่ยงสารเสพติด การพนันปละการสำส่อนทางเพศ ด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว ด้านการป้องกันอุบัติภัย ด้านการดูแลรักษาสุขภาพและการออกกำลังกาย ด้านการบำรุงรักษาจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอและด้านการมีสำนึกต่อส่วนรวมและร่วมสร้างสรรค์สังคม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 20 คน ครูผู้สอน ในหมวดวิชาพลานามัยและครูอนามัยโรงเรียน จำนวน 23 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 364 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพตามบัญญัติแห่งชาติของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยภาพรวมทุกด้าน มีการบริหารงานอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านการปลูกจิตสำนึกต่อส่วนรวมและร่วมสร้างสรรค์สังคมมีการบริหารงานอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านอื่น ๆ มีการบริหารงานอยู่ในระดับน้อย 2. การบริหารการสร้งเสริมพฤติกรรมสุขภาพบัญญัติแห่งชาติของครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยภาพรวมทุกด้านและรายด้าน มีการบริหารงานอยู่ในระดับน้อย 3. การปฏิบัติงานในการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพ ตามสุขบัญญัติแห่งชาติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 –6 โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ในโรงเรียนขนาดต่างกัน โดยภาพรวมมีการปฏิบัติตนต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระกับ .01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านการรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ ด้านการมีสำนึกต่อส่วนรวมและร่วมสร้างสรรค์สังคม มีการปฏิบัติตนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเฉพาะด้านการล้างมือให้สะอาด มีการปฏิบัติตนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่น ๆ มีการปฏิบัติตนแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อทดสอบเป็นรายคู่ พบว่าการปฏิบัติตนของนักเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษกับขนาดเล็ก โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนั้นแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนรายด้านพบว่าการปฏิบัติตนของนักเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษกับขนาดเล็กและขนาดใหญ่พิเศษกับขนาดกลาง มีการปฏิบัติตนด้านการมีสำนึกต่อส่วนรวมและร่วมสร้างสรรคืสังคมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และ .05 ตามลำดับ นอกจากนั้นแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และการปฏิบัติตนของนักเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่กับขนากลาง มีการปฏิบัติตนด้านการล้างมือให้สะอาด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนั้นแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ en_US
dc.description.abstract The purposes of this research were 1) to study four areas of the administration of the Promotion of Health Behavior according to the National Health Recommendations (PHBNHR) in the secondary school in Amphur Muang, Buriram, regarding staff, health promotion, health experience provision, and the sense of community awareness and development as perceives by secondary school administration, physical education teachers and health teachers, and 2) to compare students’ health behaviors regarding body treatment and the cleanliness of household utensils, teeth and oral hygiene, hand washing, food nutrition, avoidance of drugs and narcotics, gambles and sex abuses, parent or family relations, accident prevention, health and exercises, state of being sound mind, and sense of community awareness and development. The sample group of 407 consisted of 20 administrators, 23 teachers, and 364 secondary school students. Three questionnaires were locally developed and administered during the first semester of the year 2000. The findings were as follows : 1. As a whole, school administrators’ level of the administration of the PHBNHR was high. When areas were considered, it was found that while the level of the administration of the sense of community awareness and development was high, others were low. 2. As a whole and each area, the teachers’ administration of PHBNHR was low 3. Students’ behaviors in school of different size as a whole showed a significant difference at the level of .01. When areas were considered, it was found that behaviors regarding food nutrition and the sense of community awareness and development disclosed a significant difference at the level of .01. Nevertheless, hand washing revealed a significant difference at the level of .05. No significant difference in behaviors was found in the other areas. 4. The study through Scheffe’s Method revealed a significant difference students’ behaviors at level of .05 in extra large school and small ones as a whole. There was no significant difference in other types of school. When areas were considered, it was found that students’ behaviors regarding the sense of community awareness and development in extra large schools and small schools, and extra large schools and medium schools were consequently different at the level of .01 and .05. while others were not different. In addition, students’ behaviors regarding hand washing in large and medium schools were significantly different at the level of .05, while others were not found significantly different. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title การศึกษาการบริหารการสร้างเสริมพฤติกรรมสุข**ภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative The administration of health behavior promotion according to the National Health Recommendations in secondary schools under the General Education Department, Amphur Muang, Buriram en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics