ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ความเชื่อและพิธรกรรมการสะเดาะเคราะห์ : กรณีศึกษา บ้านจาน ตำบลบ้านจาน อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor สมมาตร์ ผลเกิด en_US
dc.contributor.advisor ประกิจ จันตะเคียน en_US
dc.contributor.advisor สรเชต วรคามวิชัย en_US
dc.contributor.author ทองเพชร, ชำนิกล้า
dc.date.accessioned 2017-09-16T07:09:51Z
dc.date.available 2017-09-16T07:09:51Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1982
dc.description.abstract การวิจัยเรื่องความเชื่อและพิธีกรรมการสะเดาะเคราะห์ กรณีศึกษา : บ้านจาน ตำบลบ้านจาน อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ มีจุดมุ่งหมาย 4 ประการ คือ 1) ศึกษาองค์ประกอบและขั้นตอนในการประกอบพิธีกรรมการสะเดาะเคราะห์ที่หมู่บ้านจาน อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ 2) ศึกษาความสำพันธ์ระหว่าง ความเชื่อและพิธีกรรมการสะเดาะเคราะห์ที่มีต่อวิถีการดำเนินชีวิตของชาวบ้านจาน 3) ศึกษาถึงอิทธิพลของความเชื่อและพิธีกรรมการสะเดาะเคราะห์ที่มีต่อความสำพันธ์กับวิถีการดำเนินชีวิตของชาวบ้านจาน และ 4) ศึกษาแนวทางการอนุรักษ์พิธีกรรมกรรมการสะเดาะเคราะห์ให้ดำรงอยู่และนำไปสู่การพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ผลการศึกษาพบว่า การสะเดาะเคราะห์ เป็นพิธีกรรมที่เกิดจากความเชื่อในสิ่งลี้ลับเหนือธรรมชาติ ภูตผี ปีศาจ เทวดา ที่มีการสืบทอดกันมาจากบรรพชน บนพื้นฐานความเชื่อว่า เทวดาภูตผีและสิ่งศักดิ์สิทธิ์สามารถบัลดาลให้คนได้รับอันตรายเจ็บป่ายจนถึงชีวิตได้ หรือสามารถขจัดปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายให้ออกไปจากวิถีชีวิต และสามารุที่จะบันดาลให้คนประสบกับความสุขได้ ความเชื่อในพิธีกรรมการสะเดาะเคราะห์ เป็นความเชื่อที่ได้ผสมผสานระหว่างความเชื่อทางพุทธศาสนากับความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ที่มีการผสมผสานกันอย่างกลมกลืน และพิธีกรรมการสะเดาะเคราะห์ได้กลายเป็นประเพณีที่สำคัญของชาวบ้านจาน ตำบลบ้านจาน อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ ที่มีการจัดทำพิธีกรรมสืบทอดมาเป็นเวลายาวนาน พิธีกรรมการสะเดาะเคราะห์ของชาวบ้านจาน มี 3 ประเภท ได้แก่ 1) พิธีกรรมการสะเดาะเคราะห์แบบพราหมณ์ เป็นพิธีกรรมที่ผสมผสานความเชื่อในเวทมนต์คาถา ความเชื่อเรื่องผีสางเทวดา อิทธิฤทธิ์เทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์กับความศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาพุทธ 2) พิธีกรรมการสะเดาะเคราะห์แบบพุทธพื้นบ้าน เป็นพิธีกรรมที่มีความคล้ายคลึงกับพิธีกรรมการสะเดาะเคราะห์แบบพราหมณ์แต่มีองค์ประกอบบางประการที่แตกต่างกัน กล่าวคือพิธีกรรมการสะเดาะเคราะห์แบบพุทธพื้นบ้านจะใช้บทสวดในพุทธศาสนาเป็นหลัก และยังสามารถที่จะประกอบพิธีเองได้โดยไม่ต้องมีผู้นำพิธี และ 3) พิธีกรรมการสะเดาะเคราะห์แบบหลวง ที่เป็นพิธีกรรมการสะเดาะเคราะห์ที่ใหญ่นิยมทำกันเป็นกลุ่มหรือทั้งหมู่บ้านในโอกาสสำคัญ อย่างไรก็ตามพิธีกรรมนี้สามารถทำเป็นปัจเจกบุคคลได้เช่นกัน การทำพิธีกรรมการสะเดาะเคราะห์มีองค์ประกอบของพิธีกรรม ดังนี้ 1. บุคคล ได้แก่ ผู้ทำพิธี ผู้เข้ารับการสะเดาะเคราะห์ และผู้เข้าร่วมพิธี 2. อุปกรณ์ หมายถึง สิ่งของที่ใช้ในการทำพิธีกรรมการสะเดาะเคราะห์ อาจมีความแตกต่างกันไปตามลักษณะการสืบทอดของแต่ละบุคคลหรือธรรมเนียมของแต่ละท้องถิ่นนั้นๆ 3. โอกาสในการทำพิธีชาวบ้านจานจะทำพิธีกรรมการสะเดาะเคราะห์ เมื่อมีอาการเจ็บป่ายเรื้อรัง เมื่อครบรอบอายุเพื่อความเป็นสิริมงคล เมื่อเกิดลางไม่ดีขึ้นแก่ตนเองหรือคนในครอบครัว การทำพิธีกรรมการสะเดาะเคราะห์ สามารถทำได้ตลอดปีทุกฤดูกาล แต่วันที่ถือว่าเป็นวันที่เหมาะในการทำพิธีกรรม ได้แก่ วันอังคาร วันพฤหัสบดี และวันเสาร์ 4. สถานที่ การพิธีกรรมการสะเดาะเคราะห์ นิยมใช้บ้านพักอาศัยของผู้เข้ารับการสะเดาะเคราะห์เอง ยกเว้นมีเหตุจำเป็นผู้ทำพิธีกรรมสามารถใช้สถานที่อื่นได้ 5. พิธีกรรม คือขั้นตอนการทำพิธีกรรมการสะเดาะเคราะห์ผู้เข้ารับการสะเดาะเคราะห์ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ทำพิธีหรือหมอสูตรอย่างเคร่งครัด หลังจากหมอสูตรสวดคาถาแล้งจึงใช้ด้ายผูกข้อมือให้ จากนั้นให้นำกระทงไปทิ้งนอกหมู่บ้านบริเวณที่เป็นทางแยก โดยห้ามหันกลับไปไปมองเพราะจะทำให้การสะเดาะเคราะห์ไม่ประสบผลสำเร็จ พิธีกรรมการสะเดาะเคราะห์ มีอิทธิพลและมีคุณค่าต่อวิถีการดำเนินชีวิตของชาวบ้านจานเป็นอย่างมาก นอกจากจะเป็นวิธีการสร้างขวัญกำลังใจในการต่อสู้กับความเจ็บป่วยและอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตแล้ว ยังทำให้ได้สำนึกอยู่ในความไม่ประมาท การสะเดาะเคราะห์ถือว่าได้ผลในทางการรักษาทางด้านสภาวะจิตใจ เช่น การป่วยเรื้อรังที่ต้องใช้เวลารักษาค่อนข้างยาวนาน ทำให้จิตใจเข้มแข็ง มีกำลังใจในการต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆ สามารถทำให้บุคคลนั้นฟื้นฟูสภาพร่างกายสู่สภาพปกติได้เร็วยิ่งขึ้น ส่วนผลการรักษาโดยตรงแม้ไม่อาจพิสูจน์ให้เห็นได้อย่างชัดเจนแต่ชาวบ้านก็ยังใช้เป็นที่พึ่งทางใจมาโดยตลอด กล่าวได้ว่า พิธีกรรมการสะเดาะเคราะห์มีคุณค่าต่อคนในสังคมทั้งในอดีตและปัจจุบัน en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title ความเชื่อและพิธรกรรมการสะเดาะเคราะห์ : กรณีศึกษา บ้านจาน ตำบลบ้านจาน อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative The Beliefs and Ritual Varieties in Exorcism : a Case Study of Ban Jarn Vilage Ban Jarn Sub - District Putthaisong District Buriram Province en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline สถิติการวิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics