ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ความรูความเข้าใจ ของปรชาชนต่อบทบาทสมาชิกวุฒิสภา : กรณีศึกษาในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor จรัส สว่างทัพ en_US
dc.contributor.advisor ประชัน คะเนวัน en_US
dc.contributor.advisor วุฒินันท์ รามฤทธิ์ en_US
dc.contributor.author ถาวร, พานิช
dc.date.accessioned 2017-09-16T07:09:33Z
dc.date.available 2017-09-16T07:09:33Z
dc.date.issued 2552
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1981
dc.description.abstract การวิจัยครั้งมีมีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาความรู้ ความเข้าใจของประชาชนต่อบทบาทของสมาชิกวุฒิสภา กรณีศึกษาในพื้นที่ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 400 คน จำแนกตามลักษณะทางประชากร เครื่องมือที่ใช้ในเป็นแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น 0.8942 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. ประชาชนส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 50.30 มีอายุระหว่าง 33-47 ปี ร้อยละ 44.80 สำเร็จการศึกษาในระดับสูงกว่ามัธยมศึกษา ร้อยละ 44.70 ประกอบอาชีพเป็นพนักงานลูกจ้าง ร้อยละ 27.50 และมีรายได้รวมเฉลี่ยต่อเดือน 5,001 – 10,000 บาท ร้อยละ 38.00 2. ความรู้ ความเข้าใจของประชาชนต่อบทบาทของสมาชิกวุฒิสภา ในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ รายด้านภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านแล้วพบว่า ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจต่อบทบาทของสมาชิกวุฒิสภา มีค่าเฉลี่ยสูงไปหาต่ำ ดังต่อไปนี้ ด้านการพิจารณากลั่นกรองกฎหมาย ด้านการถอดถอนผู้ดำรงต่ำแหน่งทางการเมืองระดับสูง ด้านการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งองค์กรอิสระและให้ความเห็นชอบ และด้านการควบคุมบริหารราชการแผ่นดิน 3. ความรู้ ความเข้าใจของประชาชนต่อบทบาทของสมาชิกวุฒิสภา ในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อจำแนกตามเพศ พบว่า เพศชายและเพศหญิงมีความรู้ความเข้าใจต่อบทบาทของสมาชิกวุฒิสภาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ความรู้ ความเข้าใจของประชาชนที่มีต่อบทบาทของสมาชิกวุฒิสภา ในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อจำแนกตามอายุ พบว่า ประชาชนที่มีอายุแตกต่างกันมีความรู้ ความเข้าใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. ความรู้ ความเข้าใจของประชาชนที่มี การศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือนต่อบทบาทของสมาชิกวุฒิสภาในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 6. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับลักษณะที่พึงประสงค์ของสมาชิกวุฒิสภาในจังหวัดบุรีรัมย์สรุปแยกออกเป็นหัวข้อดังต่อไปนี้ 6.1 บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ ยังขาดความบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบในเรื่อง ความถูกต้องยุติธรรมการตรวจสอบฝ่ายบริหาร ความซื่อสัตย์ การบริหารราชการแผ่นดิน และการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล 6.2 ลักษณะที่พึงประสงค์ของสมาชิกวุฒิสภา คือ ควรกลั่นกรองกฎหมายให้มากขึ้น มีความเที่ยงตรง กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง ตรวจสอบทุกองค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจถึงบทบาทของสมาชิกวุฒิสภา 6.3 ความคิดเห็นอื่น ๆ พบว่าประชาชนเห็นว่าสมาชิกวุฒิสภาควรมีจิตใจเข้มแข็ง ไม่อ่อนไหว กล้าตัดสินใจ สร้างความสนใจและประชาสัมพันธ์ให้คนในจังหวัดทราบและได้ร่วมให้ความคิดเห็น en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title ความรูความเข้าใจ ของปรชาชนต่อบทบาทสมาชิกวุฒิสภา : กรณีศึกษาในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative Knowledge and Comprehension of People Toward the Roles of Senator : a Case Study of Buriram Province en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline รัฐประศาสนศาสตร์
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.name รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics