ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การศึกษากระบวนการสรรหาผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานการ ประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor อนันต์ชัย พงศ์สุวรรณ en_US
dc.contributor.advisor พรพิมล พงศ์สุวรรณ en_US
dc.contributor.advisor สงวน สหวงษ์ en_US
dc.contributor.author ภานุมาศ, วงศ์คำ
dc.date.accessioned 2017-09-16T06:56:07Z
dc.date.available 2017-09-16T06:56:07Z
dc.date.issued 2544
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1952
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ เกี่ยวกับกระบวนการสรรหาผู้บริหารสถานศึกษาตามระเบียบปฏิบัติในปัจจุบันและตามความคาดหวัง ประชากรจำนวน 10,870 คน กลุ่มตัวอย่าง 635 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่พัฒนาขึ้นเอง ผลการวิจัยพบว่า 1. ด้านการกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครสอบ ในภาพรวม ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนเห็นด้วยในระดับปานกลาง โดยมีความต้องการให้เฉพาะข้าราชการครูสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติเข้าสอบมากที่สุด และมีความต้องการให้ผู้ที่มีวุฒิปริญญาโทเป็นอย่างต่ำเข้าสอบน้อยที่สุด 2. ด้านการกำหนดหลักสูตรการสอบ ในภาพรวมเห็นด้วยในระดับมาก โดยมีความต้องการให้หลักสูตรเน้นเรื่องการนำไปใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่มากที่สุด และมีความต้องการให้หลักสูตรส่งเสริมให้ผู้ที่มีผลงานดีเด่นได้มีความก้าวหน้าในตำแหน่งน้อยที่สุด 3. ด้านการประเมินผลงานและประสบการณ์ ในภาพรวมเห็นด้วยในระดับมาก โดยมีความต้องการให้การประเมินผลงานคำนึงถึงระบบคุณธรรม หรือความยุติธรรมเป็นเกณฑ์มากที่สุด และมีความต้องการให้การประเมินผลงานพิจารณาจากประโยชน์และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในผลงานเป็นเกณฑ์น้อยที่สุด 4. ด้านเกณฑ์การตัดสินผลการสอบ ในภาพรวมเห็นด้วยในระดับมากเมื่อพิจารณาตามระเบียบปฏิบัติในปัจจุบันและตามความคาดหวัง ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนมีความต้องการให้คะแนนรวมภาคความรู้ความสามารถทั่วไปและภาควิชาเฉพาะตำแหน่งมีความเหมาะสมมากที่สุด ผู้บริหารสถานศึกษาต้องการให้เกณฑ์การตัดสินผลการสอบมีความยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงทุกครั้งที่สอบน้อยที่สุด ในกรณีที่คะแนนรวมเท่ากัน ครูผู้สอนมีความต้องการให้จัดลำดับที่โดยยึดผู้ที่มีวุฒิทางการศึกษาสูงกว่าน้อยที่สุด 5. ด้านการฝึกอบรม ในภาพรวมเห็นด้วยในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามระเบียบปฏิบัติในปัจจุบันและตามความคาดหวัง ผู้บริหารสถานศึกษามีความคิดเห็นเหมือนกัน โดยต้องการให้การฝึกอบรมมุ่งให้ได้รับความรู้และประสบการณ์ทำงานเพิ่มขึ้นมากที่สุด และต้องการให้วิทยากรฝึกอบรมเลือกจากผู้ทรงคุณวุฒิหลายด้านน้อยที่สุด ส่วนครูผู้สอนมีความต้องการตามระเบียบปฏิบัติในปัจจุบันและตามความคาดหวังต่างกัน โดยตามระเบียบปฏิบัติในปัจจุบันนั้น ต้องการให้คะแนนการฝึกอบรมได้จากผู้เข้าฝึกอบรมประเมินกันเองมากที่สุด และต้องการให้เลือกวิทยากรฝึกอบรมจากผู้ทรงคุณวุฒิหลายด้านน้อยที่สุด ส่วนตามความคาดหวังต้องการให้การฝึกอบรมมุ่งให้ได้รับความรู้และประสบการณ์การทำงานเพิ่มขึ้นมากที่สุด และต้องการให้การฝึกอบรมสามารถปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์ของผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้น้อยที่สุด 6. ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน มีความคิดเห็นต่อกระบวนการสรรหาผู้บริหารสถานศึกษาตามระเบียบปฏิบัติในปัจจุบันและตามความคาดหวังโดยรวม 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก โดยมีความต้องการมากที่สุดในด้านการกำหนดหลักสูตรการสอบ โดยให้หลักสูตรเน้นเรื่องการนำไปใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ และมีความต้องการน้อยที่สุดในด้านการกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครสอบ โดยกำหนดให้เฉพาะผู้ที่มีวุฒิปริญญาโทเป็นอย่างต่ำเข้าสอบ 7. การเปรียบเทียบกระบวนการสรรหาผู้บริหารสถานศึกษาตามระเบียบปฏิบัติในปัจจุบันและตามความคาดหวังตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนไม่มีความแตกต่างกัน en_US
dc.description.abstract The purposes of this study were to investigate and compare the opinions of school administrators and teachers regarding the selection process for the position of school administrators under the regulations and expectations. The population were 10,870 primary school administrators and teachers under the Office of Buriram Provincial Primary Education. Applying Krejcie and Morgan cross-tabulation, six hundred and thirty-five samples were selected through stratified random sampling. A local questionnaire was developed and distributed to the samples, and all of them were returned. The statistical techniques employed in analyzing the collected data were percentage, mean, and standard deviation. A t-test with a significance of .05 was used to test the hypothesis. The result of the study were as follows : 1. Regarding the candidates' qualifications, as a whole, school administrators and teachers' opinion was at the moderate level. Nevertheless, they agreed at the highest level that the candidates would be those under the Office of the National Elementary Education Committee. They agreed at the lowest level that those with master degree at least were considered qualify for the examination. 2. As a whole, they agreed with the examination scope at the high level. The examination should be more practical to their jobs. They agreed at the lowest level that the examination supported rewarding teachers as a promotion. 3. As a whole, they agreed with job and experiences evaluation at the more level. The evaluation should focused on merit system or fairness mostly, and on usefulness and creativity the least. 4. Regarding the criteria for the examination results, as a whole, they agreed with it at the high level. According to regulations and expectation, they wanted the sum score of the general knowledge and ability and the major subjects to be most appropriate. At the lowest level, school administrators wanted the criteria to be flexible and change every time of the examination. In case of the same sum score, the teachers wanted least those with higher degree to be the winner. 5. Regarding training, as a whole, it was at the high level. According to regulations and expectation aspect, school administrators expected that training was for gaining more knowledge and job experiences. They wanted the lecturers chosen from those with many aspects of experiences least. The teachers' views towards regulations and examination were different. Regarding the regulation, they wanted the scores from peer most, and wanted the lecturer chosen from those with many aspects of knowledge least. Regarding their expectation, at the highest level, training was for gaining more knowledge and job experience. They wanted the training to change the trainees' vision at the lowest level. 6. School administrators and teachers' opinions' towards the 5 aspects of the selection process according to the regulations and examination curriculum focused upon practices and uses at the job site. What they wanted least was the scope of the examiners' qualification. They wanted those with at least master degree to take the examination least. 7. The comparison of the school administrators and teachers' opinion towards the selection process according to regulations and examination showed no difference. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title การศึกษากระบวนการสรรหาผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานการ ประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative A study of the selection process of school administrators under the office of Buriram Provincial Primary Education en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics