ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ความต้องการการพัฒนาบุคลากรของครูและผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor ประสิทธิ์ สุวรรณรักษ์ en_US
dc.contributor.advisor สงบ บุญคล้อย en_US
dc.contributor.advisor ละออง ภู่เงิน en_US
dc.contributor.author ถวัลย์รัตน์, สวนบุรี.
dc.date.accessioned 2017-09-16T06:55:01Z
dc.date.available 2017-09-16T06:55:01Z
dc.date.issued 2545
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1949
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความต้องการการพัฒนาบุคคลากรของครูและผู้บริหารสถานศึกษาและเพื่อเปรียบเทียบความต้องการการพัฒนาบุคคลากรของครูและผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ที่มีตำแหน่งต่างกันวุฒิทางการศึกษาต่างกันและประสบการณ์ในการทำงานต่างกันในกรอบความคิด 3 ด้าน คือ ด้านการศึกษาต่อ ด้านการฝึกอบรม และด้านการพัฒนาตนเอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนจำนวน 370 คน และผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 265 คน ได้มาโดยวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi - Stage Sampling) โดยสุ่มโรงเรียนในแต่ละอำเภอมา 1 ใน 3 ด้วย วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) และจากนั้นทำการสุ่มครูผู้สอนและผู้บริหารสถานศึกษาตามสัดส่วนให้ได้ตามขนาดของกลุ่มตัวอย่างแบบสอบถามได้รับกลับคืนมา จำนวน 603 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 94.96 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 3 ลักษณะ คือ ตอนที่1แบบเลือกตอบ (Check List) ตอนที่ 2 แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) โดยแบ่งเป็น 5 ระดับ คือ ระดับมากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด จำนวน 48 ข้อ และตอนที่ 3 แบบสอบถามปลายเปิด (Open Form) แบบสอบถามมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 1.752 - 6.404 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ.9346 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมุติฐานใช้การวิเคราะห์ t-test (Independent Sample) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - way Analysis of Varance) และเปรียบเทียบรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe's Method) กำหนดค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1.ความต้องการการพัฒนาบุคคลากรของครูและผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์โดยภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลางเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการฝึกอบรมมีความต้องการพัฒนาอยู่ในระดับมากนอกนั้นมีความต้องการพัฒนาอยู่ในระดับปานกลางโดยเรียงค่าเฉลี่ยไปหาต่ำ ได้แก่ด้านการฝึกอบรม ด้านการพัฒนาตนเองและด้านการศึกษาต่อตามลำดับ 2.ครูและผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์มีความต้องการการพัฒนาบุคคลากรโดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3.ครูและผู้บริหารสถานศึกษาที่มีวุฒิทางการศึกษาต่างกันโดยภาพรวมมีความต้องการการพัฒนาแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านการพัฒนาตนเองมีความต้องการพัฒนาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4.ครูและผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกันมีความต้องการการพัฒนาโดยรวมทุกด้านและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 5.ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเห็นว่าควรส่งเสริมให้ทุกคนได้ศึกษาต่อโดยมีทันหรืองบประมาณให้และศึกษาต่อแบบเต็มเวลาราชการโดยได้เลื่อนขั้นเงินเดือนให้มีการศึกษาต่อหลักสูตรระยะสั้นภาคฤดูร้อนโดยการสะสมหน่วยการเรียนให้มีการจัดฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องมีการประเมินผลและติดตามผลอย่างเป็นระบบควรให้เข้ารับการฝึกอบรมตามความต้องการโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและควรจัดให้เข้ารับการฝึกอบรมก่อนรับตำแหน่งใหม่โดยเร็วควรมีแผนงานและมาตรการให้ทุกคนมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องมีการติดตามผลและประเมินผลอย่างเป็นระบบส่งเสริมให้มีการพัฒนาตนเองหลากหลายรูปแบบ เช่น ด้านการศึกษาดูงาน การศึกษาทางไกลหรือศึกษาจากเอกสารงานวิชาการและสื่อต่างๆ การไปฝึกงานและเข้าร่วมกับองค์กรต่างๆ en_US
dc.description.abstract The purposes of this research were to study and compare the levels of school-community relations task performance of secondary schools in Buriram General Education Department within 6 areas : planning for promoting the relations between the schools and the communities, promoting and disseminating the relation of the schools, providing services to the communities, leading and coordinating in community development, supporting from the communities, and evaluating of school - community relations task performance. The total population of 272 were consisted of 68 school administrators and 204 teachers who were responsible for school - community relations task. The instruments used for data collection were 60 - item rating scale questionnaires with the discrimination power between 1.78 to 6.00 and the reliability of which is 0.98. Statistic techniques employed in analyzing the data were mean, and S.D. The hypothesis was tested by means of t- test and f-test and the Scheffe's multiple comparision method. The significance difference was set at .05. It was found that : 1.The performance of the administrator and teachers who were responsible for school - community relations was at a high level in 4 tasks i.e. planning for promoting the relations between the schools and the communities, promoting and disseminating the relation of the schools, providing services to the communities, and leading and coordinating in community development. Other 2 tasks i.e. supporting from the communities, and evaluating of school - community relations task performance were at an average level. 2.The performance of the administrator and the teachers who were responsible for school - community relations in both the overall picture and in each aspect of the problem was not significantly different. 3.The performance of the administrator and the teachers who were responsible for school - community relations in different - sized schools from different in both the overall picture and in each aspect of the problem was not significantly different. The performance of the administrator and the teachers who were responsible for school - community relations in small - sized schools on planning for promoting the relations between the schools and the community was high than the performance of the administrator and the teachers who responsible for school - community relations in largest - sized schools were significantly different at the .05 level. 4.Some problem and suggestions on performance about school - community relations were as followings : the schools should provide the systematic evaluation of the school - community relations, the schools should provide more coordination with the community leaders and organizations in the community, the schools should provide information about school activities for the community and the parents especially those who work in other provinces, the schools should arrange the meeting with the parents every semester, and the schools should ask for supporting budget from the community respectively. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title ความต้องการการพัฒนาบุคลากรของครูและผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative The need for personnel development of teachers and school administrators under the Office of Buriram Provincial Primary Education en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics