ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดจิตสาธารณะของนักศึกษาการศึกษานอกระบบ ในกลุ่มนครชัยบุรินทร์

Show simple item record

dc.contributor.advisor เผ่าพงษ์พัฒน์ บุญกะนันท์ en_US
dc.contributor.advisor กระพัน ศรีงาน en_US
dc.contributor.advisor โกวิท วัชรินทรางกูร en_US
dc.contributor.author พรรณี, ราชจันทร์
dc.date.accessioned 2017-09-16T06:53:17Z
dc.date.available 2017-09-16T06:53:17Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1944
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดจิตสาธารณะของนักศึกษาการศึกษานอกระบบในกลุ่มนครชัยบุรินทร์ 2) เพื่อศึกษาระดับการเกิดจิตสาธารณะของนักศึกษาการศึกษานอกระบบในกลุ่มนครชัยบุรินทร์ 3) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดจิตสาธารณะของนักศึกษาการศึกษานอกระบบในกลุ่มนครชัยบุรินทร์ที่สร้างขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 4) เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรงอิทธิพลทางอ้อมและอิทธิพลรวมของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดจิตสาธารณะของนักศึกษาการศึกษานอกระบบในกลุ่มนครชัยบุรินทร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษานอกระบบในกลุ่มนครชัยบุรินทร์ จำนวน 380 คน ได้โดยวิธีการสุ่มแบบหลบายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบมาตาส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.37-0.91 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติและวิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นด้วยโปรแกรม LISREL 8052 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดจิตสาธารณะของนักศึกษาการศึกษานอกระบบในกลุ่มนครชัยบุรินทร์ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1) ปัจจัยด้านการขัดเกลาทางสังคม (0.56) 2) ปัจจัยด้านความเป็นพลเมือง (0.56) 3) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในสถานศึกษา (0.36) และ 4) ปัจจัยด้านคุณธรรมจริยธรรม (0.14) 2. ระดับการเกิดจิตสาธารณะของนักศึกษาการศึกษานอกระบบ ในกลุ่มนครชัยบุรินทร์โดยรวมอยู่ในระดับมากเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1) ปัจจัยด้านความเป็นพลเมืองดี (0.59) 2) ปัจจัยด้านการขัดเกลาทางสังคม (0.17) 3) ปัจจัยด้านคูณธรรมจริยธรรม (0.14) และ 4) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในสถานศึกษา (0.14) 3. ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดจิตสาธารณะของนักศึกษาการศึกษานอกระบบ ในกลุ่มนครชัยบุรินทร์ที่สร้างขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า มีความสอดคล้องกันและมีค่าสถิติ ดังนี้ คือ ค่า Chi-square=130.25, ค่า df=110, ค่า P=.09, ค่า SRMR=0.024, ค่า GFI=0.98, ค่า AGFI=0.96 และค่า CFI=1.00 4. ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลทางตรงของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดจิตสาธารณะของนักศึกษาการศึกษานอกระบบ ในกลุ่มนครชัยบุรินทร์เรียง ดามลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้1) ปัจจัยด้านควานเป็นพลเมือง (0.59) 2) ปัจจัยด้านการขัดเกลาทางสังคม (0.17) 3) ปัจจัยด้านคุณธรรมจริยธรรม (0.14) และ 4) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในสถานศึกนา (-0.06) ค่าสัมประสิทธ์อิทธิทางล้อม เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย มีดังนี้ 1) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ในสถานศึกษาส่งผลทางอ้อมต่อการเกิดจิตสาธารณะ (0.42) โดยส่งอิทธิพลผ่านปัจจัยด้านการขัดเกลาทางสังคม ปัจจัยด้านคุณธรรมจริยธรรมและปัจจัยด้านความเป็นพลเมือง 2) ปัจจัยด้านการขัดเกลาทางสังคม ส่งผลทางอ้อม ต่อการเกิดจิตสาธารณะ (0.39) โดยส่งอิทธิพลพลผ่านปัจจัยด้านคุณธรรมจริยธรรม และปัจจัยด้านความเป็นพลเมือง และ 3) ปัจจัยด้าน ความเป็นพลเมือง ส่งผลทางอ้อมต่อการเกิดจิตสาธารณะ (-0.03) โดยส่งอิทธิพล ผ่านปัจจัยด้านการขัดเกลาทางสังคม และปัจจัยด้านคุณธรรมจริยธรรมค่าสัมประสิทธ์อิทธิพลรวมของปัจจัยที่ส่ง ผลต่อการเกิดจิตสาธารณะของนักศึกษาการศึกษานอกระบบ ในกลุ่มนครขัยบุรินทร์ เ รียงตามลำดับจากนากไปหาน้อย ดังนี้ 1) ปัจจัยด้านการขัดเกลาทางสังคม (0.56) 2) ปัจจัยด้าน ความเป็นพลเมือง (0.56) 3 ) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในสถานศึกษา มีค่า (0.36) และ 4) ปัจจัยด้าน คุณธรรมจริยธรรม (0.14)ค่าสัมประสิทธ์การพยากรณ์ (RJ) ของปัจจัยด้าน การเกิดจิตสาธารณะ พบว่า (0.53)นั่นหมายความว่า ปัจจัยด้านการขัด เกลาทางสังคม ปัจจัยด้าน ความเป็นพลเมือง ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาและปัจจัยด้านคุณธรรมจริยธรรม) สามารถอธิบายความแปรปรวนของการเกิดจิตสาธารณะ ได้ถึงร้อยละ 53 en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดจิตสาธารณะของนักศึกษาการศึกษานอกระบบ ในกลุ่มนครชัยบุรินทร์ en_US
dc.title.alternative The Development of Structural Equation Model of Factors Influencing Self-consciousness Formation of Non-formal Educational Students in the Cluster of Nakhonchaiburin en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics