ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3

Show simple item record

dc.contributor.advisor ประเสริฐ ภู่เงิน en_US
dc.contributor.advisor พงศ์เพชร สังข์ศักดา en_US
dc.contributor.advisor รัตติกร รัตกูล en_US
dc.contributor.author พันชัย, สวนบุรี
dc.date.accessioned 2017-09-16T06:50:12Z
dc.date.available 2017-09-16T06:50:12Z
dc.date.issued 2551-03-25
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1938
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 2) ศึกษาความพึงพอใจเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 64 คน และครู จำนวน 304 คน รวมทั้งสิ้น 368 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามชนิดตรวจรายการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า 1. การประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูมี 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1.1 การกำหนดวัตถุประสงค์ในการประเมินผลการปฏิบัติงาน พบว่า โรงเรียนมีการกำหนดวัตถุประสงค์ในการประเมินผลการปฏิบัติงานไว้ ผู้กำหนดวัตถุประสงค์ในการประเมิน คือ ผู้อำนวยการโรงเรียนและครูทุกๆ คน เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาปรับปรุงประสิทธิภาพการเรียนการสอนและการปฏิบัติงานของครู ใช้เกณฑ์ในการกำหนดวัตถุประสงค์ จากคุณภาพของงานที่ปฏิบัติ การแจ้งวัตถุประสงค์ผู้อำนวยการโรงเรียนประชุมชี้แจงครูให้รับทราบ ปัญหาที่พบคือ ขาดการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการประเมิน 1.2 การกำหนดแบบลักษณะของสิ่งที่จะประเมิน พบว่า โรงจัดตั้งคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน กำหนดระยะเวลาในการประเมินผลการปฏิบัติงานภาคเรียนละ 1 ครั้ง แบบประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นแบบให้คะแนนตามรายการ การสร้างแบบประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยพิจารณาจากคุณภาพของงานที่ปฏิบัติไปแล้ว ด้านปริมาณและคุณภาพ พฤติกรรมของครูประเมินจากความสนใจและความเอาใจใส่ในการสอน ประเมนผลงานของครูที่ปฏิบัติไว้ตรงตามมาตรฐานการปฏิบัติงานที่โรงเรียนกำหนดทั้งปริมาณและคุณภาพ ปัญหามี่พบ คือ ลักษณะของสิ่งที่จะประเมินมากเกินไป 1.3 การกำหนดและฝึกอบรมผู้ทำการประเมิน พบว่า ผู้ประเมินและผู้พิจารณาผลการปฏิบัติงานของครู คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองลงมาคือ คณะกรรมการการประเมินผลการปฏิบัติงาน โรงเรียนไม่มีการฝึกอบรมผู้ประเมินผลการปฏิบัติงานมีเพียงการประชุมชี้แจงเท่านั้น ปัญหาที่พบ คือ ผู้ประเมินไม่กล้าประเมินตามความเป็นจริงในกรณีผลการประเมินผลปฏิบัติงานอยู่ในเกณฑ์ต่ำ 1.4 การกำหนดวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงาน พบว่า โรงเรียนแจ้งให้ครูทราบก่อนจะมีการประเมินผลการปฏิบัติงานและแต่งตั้งคณะกรรมการการประเมินผลการปฏิบัติงานและประกาศให้ทุกคนรับทาบ กำหนดรายการที่จะประเมินให้ครอบคลุมทุกด้าน ใช้วิธีการให้คะแนนระดับการปฏิบัติงาน วิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานพิจารณาจากคุณภาพที่ปฏิบัติ เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติงานโดยครูบันทึกการปฏิบัติงานของตนเองเสนอต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้น กำหนดมาตรฐานในการปฏิบัติงานของครูด้วยปริมาณการสอนต่อสัปดาห์ที่ครูต้องรับผิดชอบ กำหนดมาตรฐานในการปฏิบัติงานของครูโดยผู้อำนวยการของโรงเรียนและครูทุกคน การแจ้งรายละเอียดมาตรฐาน ผู้อำนวยการของโรงเรียนแจ้งให้ครูทราบในที่ประชุม ปัญหาที่พบ คือ โรงเรียนใช้วิธีการเดียวในการประเมินผลการปฏิบัติงาน ผู้รวบรวมข้อมูลไม่กล้ารวบรวมข้อมูลด้านลบของครู ผู้รับผิดชอบยังขาดความรู้ความเข้าใจที่จะกำหนดมาตรฐานปฏิบัติงานของครู 1.5 หารวิเคราะห์ผลและการนำผลการปฏิบัติงานไปใช้ พบว่า ผู้วิเคราะห์ผลการประเมินผลการปฏิบัติงาน คือ คณะกรรมการการประเมินผลการปฏิบัติงานของโรงเรียน นำผลการประเมินผลการปฏิบัติงานไปใช้ในการวางแผนพัฒนาบุคลากรและประกอบการพิจารณาความดีความชอบประจำปี ผู้อำนวยการของโรงเรียนแจ้งภาพรวมของผลการประเมินในที่ประชุมครู วัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างครูกับผู้บังคับบัญชาทุกระดับ ผลที่เกิดทำให้ครูได้รับรู้ส่วนที่ต้องปรับปรุงแก้ไข ปัญหาที่พบ คือ ผู้วิเคราะห์ผลการประเมินขาดความรู้ความเข้าใจและขาดความชำนาญในการวิเคราะห์ผล 2. ความพึงพอใจในการประเมินผลการปฏิบัติงานของครู พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title การประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 en_US
dc.title.alternative Performance Appraisal of the Teachers Under Buriram Educational Service Area Office 3 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics