ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ปัญหาการบริหารงานในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์

Show simple item record

dc.contributor.advisor A survey of administrations problems in opportunity extension schools under the Office of Surin Primary Education en_US
dc.contributor.author ปรีชา, จินดาศรี
dc.date.accessioned 2017-09-16T06:45:16Z
dc.date.available 2017-09-16T06:45:16Z
dc.date.issued 2546
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1925
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้จากการสุ่มจากประชากร ซึ่งเป็น ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 132 โรงเรียน ได้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 132 คน ครูผู้สอนจำนวน 132 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามปัญหาการบริหารงานโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 45 ข้อ มีค่าระดับความเชื่อมั่น 0.96 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test แบบ independent Sample Test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้บริหารโรงเรียนมีความคิดเห็นต่อปัญหาการบริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์ โดยรวมและรายด้านทุกด้านมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับปัญหาจากค่าเฉลี่ยสูงไปหาต่ำ ดังนี้ งานอาคารสถานที่ งานบุคลากร งานธุรการและการเงิน งานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน งานด้านวิชาการ และงานกิจการนักเรียน 2. ครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อปัญหาการบริหารงานโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์ โดยรวมและรายด้านทุกด้านมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับปัญหาจากค่าเฉลี่ยสูงไปหาต่ำ ดังนี้ งานอาคารสถานที่ งานบุคลากร งานกิจการนักเรียน งานธุรการและการเงิน งานวิชาการ และงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน 3. ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อปัญหารการบริหารงานโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์ โดยรวมและรายด้านทุกด้านมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับปัญหาจากค่าเฉลี่ยสูงไปหาต่ำ ดังนี้ งานอาคารสถานที่ งานบุคลากร งานธธุรการและการเงิน งานกิจการนักเรียน งานวิชาการและงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน 4. ผู้บริหารโรงเรียนมีความคิดเห็นต่อปัญหาการบริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์ โดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อปัญหาการบริหารงานด้านงานธุรการและการเงินแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ส่วนปัญหาการบริหารด้านอื่นๆ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อปัญหาการบริหารงานไม่แตกต่างกัน 5. ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ มีความคิดเห็นต่อปัญหาการบริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาโดยรวมทุกด้านและรายด้านไม่แตกต่างกัน en_US
dc.description.abstract The purposes of this research were to study and compare administration problems in opportunity extension schools under the Office of Surin Primary Education. The population were school administrators and teachers in all 132 extension schools. The sample group consisted of 132 teachers. A self-developed questionnaire consisted of a fating scale of 45 items with the reliability level of 0.96. The statistic techniques applied were the mean and standard deviation. Hypotheses were tested by the independent sample t-test and by the One-way Analysis of variance. It was found that: 1. As a whole and in a all aspects, problems in school administration were at the moderate level from high to low in the following order: school buildings, personnel, central office service and finance, school-community relations, academic affairs, and student affairs. 2. Teacher's opinions regarding the problems were at the moderate level ranked in importance from high to low in the follwing order: school buildings, personnel, student affairs, central office service and finance, student affairs, acacdemic affairs, and school-community relations. 3. As a whole and in all aspects, school administrators and teachers' opinions regarding the problems were at the moderate level from high to low and ranked in the following order: school buildings, personnal, central office service and finance, student affaits, academic affairs, and school-community relations. 4. As a whole, school administrators and teachers' opinions were not different. When all aspects were considered, however the sigificant difference at the level of .01 was found in only finance and central office service administration. 5. As a whole and in all aspects, the opinions of school administrators and teachers in large, medium, and small schools regarding problems in school administration were not different. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title ปัญหาการบริหารงานในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์ en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.name การบริหารการศึกษา
dc.degree.name ปริญญาโท


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics