ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การศึกษาสภาพและปัญหาการประเมินผลตามสภาพจริงโดยใช้แฟ้มสะสมผลงานตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน การประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor ประสิทธิ์ สุวรรณรักษ์ en_US
dc.contributor.advisor มาลิณี จุโฑปะมา en_US
dc.contributor.advisor พงศ์เพชร สังข์ศักดา en_US
dc.contributor.author พัฒนพงษ์, สายเพ็ชร
dc.date.accessioned 2017-09-16T06:41:39Z
dc.date.available 2017-09-16T06:41:39Z
dc.date.issued 2546-01-26
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1915
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ ศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อสภาพและปัญาการประเมินผลตามสภาพจริงโดยใช้แฟ้มสะสมงานในโรงเรียนประถมศึกษาจำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงานและการปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกันตามขั้นตอนการประเมิน 10 ขั้นตอน คือขั้นการกำหนดจุดประสงค์ของแฟ้มสะสมผลงาน ขั้นการรวบรวมผลงานหรือหลักฐาน ขั้นการคัดเลือกงานหรือหลักฐาน ขั้นการสร้างสรรค์ผลงานหรือการจัดระบบ ขั้นการสะท้อนความคิดเห็นหรือความรู้สึกต่อผลงาน ขั้นการตรวจสอบความสามารถของตนเอง ขั้นการประเมินผลงานหรือหลักฐาน ขั้นการสร้างความสัมพันธ์ ขั้นการทำให้มีคุณค่าหรือปรับเปลี่ยนผลงาน และขั้นการประชาสัมพันธ์ผลงานหรือการจัดนิทรรศการ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 826 คน ได้มาจากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ตามตารางสำเร็จรูปของ ทาโร ยามาเน่ (Taro Yamanc) แล้วทำการสุ่มกลุ่มย่อยตามระดับชั้น (Stratified Random Sampling ) โดยให้กระจายไปตามขนาดโรงเรียนตามสัดส่วน โดยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างง่าย (Simple Random Sampling ) แบบสอบถามได้รับกลับคืนมา 756 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 91.53 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มี 3 ลักษณะคือ แบบสำรวจรายการ (Check List) แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับและแบบปลายเปิด (Open Form) แบบสอบถามมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 1.910 – 4.116 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.9537 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานในการวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว (One – way ANOVA) เปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ตามวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s Method) กำหนดค่าสถิติที่ระกับนับสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาการประเมินผลตามสภาพจริงโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นขั้นตอน พบว่า ขั้นการสะท้อนความคิดเห็นหรือความรู้สึกต่อผลงาน ขั้นการตรวจสอบความสามารถของตนเอง ขั้นการสร้างความสัมพันธ์ ขั้นการทำให้มีคุณค่าหรือปรับเปลี่ยนผลงาน และขั้นการประชาสัมพันธ์ผลงานหรือการจัดนิทรรศการ มีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนขั้นอื่น ๆ มีปัญหาอยู่ในระดับน้อย 2. เปรียบเทียบปัญหาการประเมินผลตามสภาพจริงโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน ตามความคิดเห็นของครู จำแนกวุฒิการศึกษาโดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายขั้นตอนพบว่า ขั้นการกำหนดจุดประสงค์ของแฟ้มสะสมผลงาน มีปัญหาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ขั้นการคัดเลือกงานหรือหลักฐานและขั้นการประเมินผลงานหรือหลักฐานมีปัญหาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนขั้นตอนอื่น ๆ มีปัญหาไม่แตกต่างกัน 3. เปรียบเทียบปัญหาการประเมินผลตามสภาพจริงโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายขั้นตอน พบว่า ขั้นการตรวจสอบความสามารถของตนเองและขั้นการประชาสัมพันธ์ผลงานหรือการจัดนิทรรศการ มีปัญหาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนขั้นตอนอื่น ๆ มีปัญหาไม่แตกต่างกัน 4. เปรียบเทียบการประเมินผลงานตามสภาพจริงโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามการปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายขั้นตอนพบว่า ขั้นการกำหนดจุดประสงค์ของแฟ้มสะสมผลงาน มีปัญหาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ขั้นการสร้างสรรค์ผลงานหรือการจัดระบบมีปัญหาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนขั้นตอนอื่น ๆ มีปัญหาไม่แตกต่างกัน 5. ข้อเสนอแนะและปัญหาเกี่ยวกับการประเมินผลงานตามสภาพจริงโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน เห็นว่า ควรมีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ครู โดยวิทยากรมืออาชีพที่มีความรู้ ความสามารถ หน่วยงานต้นสังกัดหรือโรงเรียนควรจัดสรรเอกสาร คู่มือ ครุภัณฑ์ตลอดจนอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัยให้ทั่วถึง จัดอัตรากำลังครูให้เพียงพอตามเกณฑ์ และครบชั้นเรียน ผู้บริหารโรงเรียนและผู้เกี่ยวข้องควรเห็นความสำคัญ มีการนิเทศติดตามและสร้างความเข้าใจระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนครูต้องร่วมมือกับพัฒนาทักษะของนักเรียนด้านที่เป็นปัญหาต่อการประเมินอยู่เสมอ " en_US
dc.description.abstract The purposes of this study were to study and to compare the conditions and problems of authentic assessment by using portfolios according to the opinions of teachers in the school under the Office of Buriram Provincial Primary Education. The comparisons were made on the basis of their level of education, teaching experience and the size of schools in which they were working. The study investigated 10 steps of making a portfolio : determining the purposes collecting artifacts / evidences, selecting artifacts/ evidences, creating/ organizing artifacts/ evidences, reflecting opinions towards one’ s own artifacts, self assessing, evaluating the artifacts/ evidences, making condition, upgrading / changing the artifacts/ evidences and publicizing/ exhibiting the artifacts/ evidences. The samples were 826 teachers selected from the population of all teachers in the primary school under the Office of Buriram Provincial Primary Education through the Taro Yamane’ s Table, Stratified Random Sampling and Simple Random Sampling respectively. The data of 756 responses or about 91.53 % were obtained. The research instruments were questionnaires consisting of 3 parts : Check List, Rating Scale and Open From. The discriminating power of the questionnaires was at 1.910 – 4.116, and reliability was at 0.9537. The statistic techniques used to analyze the data were frequency, mean and standard deviation. The hypotheses were tested by One Way Analysis of Variances (One – way ANOVA),and Scheffe’s method was used for dual comparisons. The significant difference was set at the level of .05. The results of the study were as the followings : 1. The level of teachers’ opinions towards the problems of authentic assessment by using portfolios was at the average level. When steps were considered, it was found that the problems on the steps of reflecting opinions towards one’s own artifacts, self assessing, making connection, upgrading the artifacts/ evidences and publicizing the artifacts/ evidences were at the average level. The problems of the others were at the low ones. 2. There was no significant difference between the opinions of teachers with difference level of education towards the problems of authentic assessment by using portfolios as a whole. However, there was a significant difference at the level of .01 on the steps of determining the purposes, and at .05 level on selecting artifacts/ evidences and evaluating the artifacts/ evidences. There was no significant difference on other steps. 3. There was no significant difference between the opinions of teachers of difference teaching experiences towards the problems of authentic assessment by using portfolios as a whole. Nor was there any significant difference on each step except for self assessing and publicizing/ exhibiting the artifacts/ evidences on which the significant difference was found at the .05 level. 4. There was no significant difference between the opinions of the teachers working in schools of difference sizes as a whole. When the steps were investigated, the difference at .01 and .05 level was found on determining the purposes and creating/ organizing artifacts/ evidences respectively. There was no significant difference found on other steps. 5. There were some suggestions made as the followings : workshop training guided by professional guest lecturers should be provided for teachers; all school should be provided with documents, handbooks, materials and information technology; enough teachers should be provided for every school; school administrators and everyone concerned should recognize the importance of the method ; supervising and understanding making should be continually made; and all teachers should always cooperate with one another to develop students’ skills which they find as the problems. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title การศึกษาสภาพและปัญหาการประเมินผลตามสภาพจริงโดยใช้แฟ้มสะสมผลงานตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน การประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative A study of conditions and problems of authentic assessment by using portfolios according to the Office of Buriram Provincial Primary Education en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics