ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การศึกษาความต้องการพัฒนาตนเอง ตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนด้านการบริหารโรงเรียน ของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor สงวน ทรงวิวัฒน์ en_US
dc.contributor.advisor วิศิษฐ์ นาจำปา en_US
dc.contributor.advisor ประคอง กาญจนการุณ en_US
dc.contributor.author นำ, งาหอม
dc.date.accessioned 2017-09-16T06:40:21Z
dc.date.available 2017-09-16T06:40:21Z
dc.date.issued 2548
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1912
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความต้องการพัฒนาตนเองตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียน ด้านการบริหารโรงเรียน ของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ ประชากรเป็นผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 154 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้จากการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากประชากร ตามตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) แล้วใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ได้ผู้บริหารสถานศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 113 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมี 3 ลักษณะ คือ แบบสำรวจรายการ (Check List) แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) และแบบปลายเปิด (Open From) แบบสอบถามมีค่าอำนาจจำแนกเป็นรายข้ออยู่ระหว่าง 2.106 – 8.336 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .9481 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test แบบ Independent Sample การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance) เมื่อพบความแตกต่างเป็นรายข้อหรือรายมาตรฐานจึงทำการเปรียบเทียบเป็นรายคู่ตามวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s Method) กำหนดค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญที่ .05 ผลการวิจัย พบว่า 1. ความต้องการพัฒนาตนเอง ตามหลักเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียน ด้านการบริหารโรงเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ ทั้งโดยรวมและรายมาตรฐานอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมาตรฐานที่มีค่าเฉลี่ยสูงไปหาต่ำ คือ มาตรฐานที่ 3 มาตรฐานที่ 2 มาตรฐานที่ 5 และมาตรฐานที่ 4 2. ความต้องการพัฒนาตนเอง ตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียน ด้านการบริหารโรงเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ จำแนกตาม เพศ ประสบการณ์ในการบริหาร และวุฒิการศึกษา ทั้งโดยรวมและรายมาตรฐานไม่แตกต่างกัน 3. ผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ได้ให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ดังนี้ 1) โรงเรียนขนาดเล็กมีข้อจำกัดให้ด้านทรัพยากรกรบริหาร ควรให้การสนับสนุนทรัพยากรด้านบริหารให้มากกว่านี้ 2) ควรจัดสวัสดิการด้านการศึกษาให้แก่ผู้บริหารสถานศึกษาให้มากขึ้น เพื่อให้สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง และ 3) โรงเรียนขนาดเล็กขาดอัตรากำลังค่อนข้างมากผู้บริหารต้องสอนประจำชั้น ไม่มีเวลาบริหารจัดการศึกษา ควรเพิ่มอัตรากำลังให้มากกว่านี้ en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title การศึกษาความต้องการพัฒนาตนเอง ตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนด้านการบริหารโรงเรียน ของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative A study of needs for self-development according to the school standards in performance of the small-sized school administrators under theoffice of buriram educational service area en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics