ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาช่วงชั้นที่ 3-4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3

Show simple item record

dc.contributor.advisor อนันต์ชัย พงศ์สุวรรณ en_US
dc.contributor.advisor สุนันทา วีรกุลเทวัญ en_US
dc.contributor.advisor กิ่งแก้ว ปะติตังโข en_US
dc.contributor.advisor ปิยาภรณ์ ศิริภานุมาศ en_US
dc.contributor.author ประภาวัลย์, สิงหภิวัฒน์
dc.date.accessioned 2017-09-16T06:36:10Z
dc.date.available 2017-09-16T06:36:10Z
dc.date.issued 2013
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1900
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษาช่วงชั้นที่ 3-4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 โดยมุ่งศึกษาตัวแปรใน 5 ด้าน คือ ด้านความเป็นเลิศส่วนบุคคล ด้านรูปแบบความคิด ด้านวิสัยทัศน์ร่วมกัน ด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม ด้านการคิดอย่างเป็นระบบ และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่มีต่อแนวทาง การพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาช่วงชั้นที่ 3-4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ตามขนาดของสถานศึกษา ประชากรได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนในสถานศึกษาช่วงชั้นที่ 3-4 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 699 คน จำแนกเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา 22 คน และครูผู้สอน 677 คน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษา 22 คน และครูผู้สอน 248 คน โดยกำหนดขนาดตัวอย่างตามตารางของ เครจซีและมอร์แกนสุ่มตัวอย่างให้กระจายไปตามอำเภอตามสัดส่วนแล้วทำการสุ่มด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประกอบด้วยแบบตรวจสอบรายการแบบมาตราส่วนประมาณค่า และแบบคำถามปลายเปิด แบบสอบถามมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 2.246-8.205 และความเชื่อมั่น .9772 สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อย ค่าส่วนเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1. ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาช่วงชั้นที่ 3-4 โดยภาพรวมและรายด้านเห็นด้วยในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อยได้แก่ ด้านรูปแบบความคิด ด้านวิสัยทัศน์ร่วม ด้านการเรียนรู้กันเป็นทีม ด้านความเป็นเลิศส่วนบุคคล และด้านการคิดอย่างเป็นระบบตามลำดับ 2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาช่วงชั้นที่ 3-4 จำแนกตามขนาดของสถานศึกษาและรายด้านพบว่า โดยภาพรวมมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 3. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาช่วงชั้นที่ 3-4 พบว่าด้านความเป็นเลิศส่วนบุคคล เห็นด้วยมากที่สุดเกี่ยวกับ ควรให้โอกาสแก่บุคลากรได้อภิปรายแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานของสถานศึกษาได้อย่างเปิดเผยโดยปราศจากอคติหรือการมุ่งจับผิด ด้านรูปแบบความคิด เห็นด้วยมากที่สุดเกี่ยวกับมีการระดมสมองทุกครั้งที่มีการประชุมโดยให้ครูได้แสดงความคิดเห็น ด้านวิสัยทัศน์ร่วมกัน เห็นด้วยมากที่สุดเกี่ยวกับ การเปิดโอกาสให้บุคลากรมีการแบ่งปันวิสัยทัศน์ของตนร่วมกับเพื่อนร่วมงานได้ ด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมเห็นด้วยมากที่สุดเกี่ยวกับ ควรส่งเสริมให้บุคลากรมีโอกาสแสดงความคิดเห็นตามโอกาสและสถานการณ์ที่เหมาะสม และด้านการคิดอย่างเป็นระบบ เห็นด้วยมากที่สุดเกี่ยวกับ ควรสนับสนุนให้บุคลากรตระหนักถึงเหตุผลของการวางแผนโครงการต่าง ๆ en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาช่วงชั้นที่ 3-4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 en_US
dc.title.alternative Ways of School Development to Become Learning Organization in the Secondary Schools under Buriram Educational Service Area Office 3 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.name การบริหารการศึกษา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics