ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

รูปแบบความสำพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของสมรรถนะศึกษานิเทศก์ที่ส่งผล ต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

Show simple item record

dc.contributor.advisor โกวิท วัชรินทรางกูร en_US
dc.contributor.advisor กระพัน ศรีงาม en_US
dc.contributor.author ปริญญา, เฉิดจำเริญ
dc.date.accessioned 2017-09-16T06:35:24Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1896
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นสมรรถนะของศึกษานิเทศก์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อตรวจสอบความตรงโครงสร้างของสมรรถนะศึกษานิเทศก์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมของสมรรถนะศึกษานิเทศก์ที่ส่งต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยประชากรในการวิจัย ได้แก่ ศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 60 เขต จำนวนศึกษานิเทศก์ 1,058 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ศึกษานิเทศก์ ศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 958 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (multi-stage random sampling) และได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่จากแบบสอบถามสมบูรณ์ จำนวน 900 ฉบับ โดยมีวิธีในดำเนิเนการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาปัจจัยและรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของสมรรถนะศึกษานิเทศก์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 เป็นการสัมภาษณ์เพื่อกำหนดกรอบของรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างของสมรรถภาพศึกษานิเทศก์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาข้นพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 3 เป็นการตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นสมรรถนะของศึกษานิเทศก์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยใช้แบบสอบถามโดยมีลักษณะเป็นแบบสอบถามมารตาส่วนประเมินค่า (rating scale) 5 ระดับ และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างสาเหตุตามทฤษฏีกับข้อมูลเชิงประจักษ์จากกลุ่มตัวอย่างนั้น โดยใช้โปรแกรม LISREL ตรวจสอบความสอดคล้องของรูป แบบตามแบบจำลองการวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ตามโมเดลที่ใช้เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย ซึ่งมีตัวแปรทั้งภายในและภายนอก ผลการวิเคราะห์จะนำเสนอในรูปการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเส้นระหว่างตัวแปรต่างๆ ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1.รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นสมรรถนะศึกษานิเทศก์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่พัฒนาขึ้นมี 4 องค์ประกอบ ตัวแปรสังเกตได้ 14 ตัวแปร และ 54 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ สมรรถนะเฉพาะทางหรือหน้าที่ของศึกษานิเทศก์ มีตัวแปรสังเกตได้ 3 ตัวแปร และ 11 ตัวบ่งชี้ สมรรถนะคุณลักษณะส่วนบุคคลของศึกษานิเทศก์ ตัวแปรสังเกตได้ 3 ตัวแปร และ 13 ตัวบ่งชี้ สมรรถนะกิจกรรมนิเทศการศึกษา ตัวแปรสังเกตได้ 4 ตัวแปร และ 11 ตัวบ่งชี้ และสมรรถนะประสิทธิผลของสถานศึกษามีตัวแปร สังเกตได้ 4 ตัวแปร และ 19 ตัวบ่งชี้ 2.ผลการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของสมรรถนะศึกษานิเทศก์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กับข้อมูลเชิงประจักษ์ ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis) แบบมีตัวแปรแฝง พบว่า มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาได้จากค่าสถิติและค่าดัชนีที่ผ่านเกณฑ์ดังนี้ ค่าไค-สแควร์ (x2) มีค่าเท่ากับ 93.45,df=52, p =0.0037, CFI =0.979, GFI =.985, AGFI =0.970, RMSEA =0.030 และ x2/df = 1.797 3.ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อสมรรถนะศึกษานิเทศก์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลชองสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กิจกรรมนิเทศการศึกษา ตัวแปรที่มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อม คือ และ คุณลักษณะส่วนบุคคลของศึกษานิเทศก์ และสมรรถนะเฉพาะทางหรือหน้าที่ของศึกษานิเทศก์ en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title รูปแบบความสำพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของสมรรถนะศึกษานิเทศก์ที่ส่งผล ต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน en_US
dc.title.alternative A LINEAR STRUCTURAL RELATIONSHIP MODELOF SUPERVISORS' COMPRTENCY AFFECTING THE EFFECTIVENESS OF BASIC EDUCATION SCHOOLS en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.name การบริหารการศึกษา
dc.degree.name ปริญญาเอก


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics