ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ความต้องการพัฒนาตนเอง ในงานวิชาการของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2

Show simple item record

dc.contributor.advisor สงวน ทรงวิวัฒน์ en_US
dc.contributor.advisor นิตยา บรรณประสิทธิ์ en_US
dc.contributor.author ประภารัตน์, ทศพนัสสัก
dc.date.accessioned 2017-09-16T06:31:42Z
dc.date.available 2017-09-16T06:31:42Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1887
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบ ความต้องการพัฒนาตนเอง ในงานวิชาการของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 จำแนกตาม เพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดของสถานศึกษาที่ปฏิบัติงานในกรอบของเนื้อหา 4 ด้านได้แก่ 1) ด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ 2) ด้านการจัดการเรียนรู้ 3) ด้านสื่อการเรียนรู้และ 4) ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ ประชากรที่ศึกษาได้แก่ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 จำนวน 2,718 คนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 338 คน ได้จากการสุ่มจากประชากรโดยกำหนดตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน โดยใช้วิธีสุ่มแบบหลายขึ้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมี 3 ลักษณะได้แก่ แบบตรวจสอบรายการ แบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบปลายเปิดมีค่าความเชื่อมั่น .9718 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้การทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบค่าทีแบบกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบความแตกต่าง จึงทำการเปรียบเทียบเป็นรายคู่ตามวิธีการของเชฟเฟ่ กำหนดค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัย พบว่า 1. ความต้องการพัฒนาตนเองในงานวิชาการของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 2 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ย จากสูงไปหาต่ำ ได้แก่ ด้านการวัดผลและแระเมินผล ด้านสื่อการเรียนรู้ ด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ และด้านการจัดการเรียนรู้ ตามลำดับ 2. การเปรียบเทียบความต้องการพัฒนาเองในงานวิชาการของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 2 จำแนกตาม เพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดของสถานศึกษาที่ปฏิบัติงานโดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน 3. ความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ที่มีจำนวนมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) ความต้องการพัฒนาเกี่ยวกับการอบรมจัดทำเกณฑ์ในการประเมิน อ่าน คิด วิเคราะห์ เขียน ควรสนับสนุนให้ครูได้รับการอบรมพัฒนา 2) ความต้องการพัฒนาเกี่ยวกับการประสานความร่วมมือในการผลิต พัฒนาและใช้สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อการจัดการเรียนการสอนภายในสถานศึกษา ควรสนับสนุนครูให้ได้รับการอบรมพัฒนาเกี่ยวกับสื่อเพื่อจัดการเรียนการสอนในแต่ละสาระวิชา จัดอบรมครูเกี่ยวกับ การผลิตสื่ออย่างหลากหลาย และ 3) ความต้องการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เช่น วิสัยทัศน์ หลักการ จุดหมายเนื้อหาสาระ และแนวการดำเนินการของหลักสูตรควรจัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการ ตามลำดับ en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title ความต้องการพัฒนาตนเอง ในงานวิชาการของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 en_US
dc.title.alternative NEEDS OF SELF-DEVELOPMENT IN ACADEMIC WORK OF SCHOOL TEACHERS UNDER THE OFFICE OF BURIRAM EDUCATIONAL SERVICE AREA 2 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics