ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

สภาพการบริหารความขัดแย้งในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศิราณี จุโทปะมา en_US
dc.contributor.advisor ประคอง กาญจนการุณ en_US
dc.contributor.author นภาภรณ์, จตุรปา
dc.date.accessioned 2017-09-16T06:30:28Z
dc.date.available 2017-09-16T06:30:28Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1880
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหวังหมายเพื่อการศึกษาและเปรียบเทียบสภาพการ บริหาร ความขัดแย้งในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 จำแนกตามสภาพตำแหน่ง และขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 144 คน และครูจำนวน 327 คน ได้กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซีและมอร์แกน แล้วทำการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 3 ตอน มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 สถิติพื้นฐานที่ใช้ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test ผลการวิจัยพบว่า 1.สภาพการบริหารความขัดแย้งในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคามเขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู โดยรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านเผชิญหน้าอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านอื่นๆอยู่ในระดับมากโดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านเผชิญหน้า รองลงมา คือ ด้านการเหลียกเลี่ยง ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านบังคับ 2.เปรียบเทียบความคิดเห็นผู้บริหารและครูเกี่ยวกับสภาพการบริหารความขัดแย้งในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคามเขต 2 จำนวนตามสถานภาพและตำแหน่ง โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3.เปรียบเทียมความคิดเห็นผู้บริหารและครูเกี่ยวกับสภาพการบริหารความขัดแย้งในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคามเขต 2 จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการประนีประนอม ด้านการร่วมมือ และด้านบังคับ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านการยอมให้ ด้านการหลีกเลี่ยง ด้านเอาชนะ และด้านเผชิญหน้า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4.ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะผู้บริหารและครูเกี่ยวกับสภาพการบริการความขัดแย้งในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคามเขต 2 โดยเรียงลำดับจากประเด็จที่มีจำนวนมากที่สุด คือ 1)ด้านการเหลีกเลี่ยงถ้าเกิดความขัดแย้งจะถอนตัวออกมาจากสถานการณ์ความขัดแย้งไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่อง ที่ทำให้เกิดความขัดแย้งและหาวิธีการแก้ไขปัญหา 2)ด้านการประนีประนอม ผู้บริหารและครูควรรู้จักการยืดหยุ่นไม่มุ่งเน้นผลงานจนมองข้ามความสำคัญของเพื่อนร่วมงาน 3)ด้านการยอมให้ผู้บริหารและครูควรรับฟังปัญหาและข้อเท็จจริงที่มี รับฟังข้อมูลทั้งสองฝ่ายด้วยความเข้าใจและยุติธรรม 4)ด้านการร่วมมือผู้บริหารและครูควรจะมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหาความขัดแย้งในโรงเรียน ให้ทุกคนทำงานได้อย่างมีความสุข 5)ด้านเผชิญหน้าผู้บริการควรมีความยุติธรรมในการบริหารงาน ครูช่วยกันทำงานไม่เอาเปรียบเพื่อนร่วมงาน 6)ด้านเอาชนะผู้บริหารและครูควรรู้จักการยืดหยุ่นในการทำงาน ไม่มุ่งเน้นผลงานจนมองข้ามความสำคัญของเพื่อนร่วมงาน และ 7)ด้านบังคับผู้บริหารควรรับฟังความคิดเห็นผู้ปฏิบัติงาน ไม่ควรบังคับให้ทำตามคำสั่งอย่างเดียว ในการบริหารความขัดแย้งในแต่ละโรงเรียน แต่ละองค์กรซึ่งมีวัฒนธรรมองค์กร ประเพณีวัฒนธรรมแต่ละชุมชนแตกต่างกัน ปัญหาความขัดแย้งแต่ละโรงเรียนแตกต่างกันควรใช้การบริหารความขัดแย้งที่แตกต่างกันจึงจะเกิดประสิทธิภาพ en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title สภาพการบริหารความขัดแย้งในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 en_US
dc.title.alternative The Condition of Conflict Management in Schools under Mahasarakham Primary Educational Service Area Office 2 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics