ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

พฤติกรรมการบริโภคของผู้ถือครองบัตรเครดิตธนาคารพาณิชย์ : กรณีศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

Show simple item record

dc.contributor.advisor จุรีพร จันทร์พาณิชย์ en_US
dc.contributor.advisor อาลัย จันทร์พาณิชย์ en_US
dc.contributor.advisor สุพัตรา รักการศิลป์ en_US
dc.contributor.author ทิพาพร, วิรุณสิทธิเลิศ
dc.date.accessioned 2017-09-16T06:27:51Z
dc.date.available 2017-09-16T06:27:51Z
dc.date.issued 2551-09-15
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1874
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคของผู้ถือครองบัตรเครดิตธนาคารพาณิชย์ และเพื่อศึกษาปัญหาในการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตธนาคารพาณิชย์ของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อ มูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) ทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ค่า Independent Samples t- test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - Way ANOVA)ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการใช้จ่ายบัตรเครดิต โดยรวมอยู่ในระดับน้อยหมวดที่มีการใช้จ่ายมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ หมวดพาหนะและการสื่อสาร หมวดอาหารและเครื่องดื่ม และหมวดเครื่องแต่งกายและเครื่องนุ่งห่ม หมวดที่มีการใช้จ่ายบัตรเครดิตน้อยที่สุด คือ หมวดสุขภาพและรักษาค่าพยาบาล 2. การเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคผู้ถือครองบัตรเครดิตธนาคารพาณิชย์จำแนกตา เพศ อายุสถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนจำนวนบัตรเครดิตที่ถือครอง พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ปัญหาในการใช้บัตรเครดิต ซึ่งกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่พบมากที่สุดคือ ปัญหาจากร้านค้าที่ให้บริการ รองลงมา คือ ปัญหาที่เกิดจากผู้ถือบัตรและปัญหาที่พบน้อยที่สุด คือ ปัญหาจากธนาคาร เมื่อพิจารณาปัญหาในการใช้บัตรเครดิตในแต่ละด้าน พบว่า 3.1 ปัญหาจากร้านค้าที่ให้บริการ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่พบปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาที่พบมากที่สุดคือ เมื่อชำระเงินด้วยบัตรเครดิตทำให้ไม่ได้รับส่วนลด รองลงมาคือ ร้านค้าคิดค่าธรรมเนียมเพิ่มกรณีชำระด้วยบัตรเครดิต และปัญหาที่พบน้อยที่สุด คือ ร้านค้ามักแจ้งว่าการสื่อสารขัดข้องบ่อย 3.2 ปัญหาที่เกิดจากผู้ถือบัตร กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่พบปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาที่พบมากที่สุดคือ มีการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยทำให้ไม่สามารถไม่ใช้หนี้ได้ตามกำหนดรองลงมาคือ ไม่สามารถจำเบอร์โทรศัพท์ธนาคารได้ ทำให้มีอุปสรรคในการติดต่อเมื่อบัตรเครดิตมีปัญหาและปัญหาที่พบน้อยที่สุดคือ วงเงินบัตรเครดิตไม่เพียงพอ 3.3 ปัญหาจากธนาคาร กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่พบปัญหาอยู่ในระดับน้อย ปัญหาที่พบมากที่สุดคือ ความสะดวกสบายในการชำระค่าใช้จ่าย รองลงมาคือ การติดต่อกับศูนย์บริการลูกค้า (Coll Center) ไม่สะดวก และปัญหาที่พบน้อยที่สุดคือ ข้อมูลบนแถบแม่เหล็กเสียหรือชำรุด en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title พฤติกรรมการบริโภคของผู้ถือครองบัตรเครดิตธนาคารพาณิชย์ : กรณีศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา en_US
dc.title.alternative Consumer Behavion of Credit Card Holders of Commercial Banks : a Case Study of Muang District, Nakhonratchasima Province en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การจัดการทั่วไป
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.name บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics