ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

สภาพและปัญหาการดำเนินงานจัดการการเรียนร่วมสำหรับเด็กพิเศษตามโคงการชีท (SEAT Framework) ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2

Show simple item record

dc.contributor.advisor พรพิมล พงศ์สุวรรณ en_US
dc.contributor.advisor กิ่งแก้ว ปะติตังโข en_US
dc.contributor.advisor สุนันทา วีรกุลเทวัญ en_US
dc.contributor.author ประภัสสร, สรวนรัมย์
dc.date.accessioned 2017-09-16T06:21:06Z
dc.date.available 2017-09-16T06:21:06Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1852
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานจัดการเรียนร่วมสำหรับเด็กพิเศษตามโครงสร้างซีท ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนเด็กพิเศษในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นฐานที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 และเพื่อเปรียบเทียบปัญหาการดำเนินงานจัดการเรียนร่วมสำหรับเด็กพิเศษตามโครงสร้างซีทของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนเด็กพิเศษ จำแนกตามตำแหน่งเพศ ระดับการศึกษาประสบการณ์ และขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ผู้บริหารสถานศึกษา 170 ครูผู้สอน เด็กพิเศษ 170 คน รวมทั้งสิ้น 340 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการทดสอบค่า T ผลการวิจัย พบว่า 1.สถานภาพการดำเนินงานจัดการเรียนร่วมสำหรับเด็กพิเศษตามโครงสร้างซีทในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ ด้านนักเรียน ด้านเครื่องมือ ด้านสภาพแวดล้อม และด้านกิจกรรมการเรียนการสอน 2. ปัญหาการดำเนินงานจัดการเรียนร่วมสำหรับเด็กพิเศษตามโครางสร้างซีทในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 โดยภาพรวมและการรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ ด้านนักเรียน ด้านกิจกรรม การเรียนการสอน ด้านเครื่องมือ และด้านสภาพแวดล้อม 3. ผลการเปรียบเทียบปัญหาการดำเนินงานจัดการเรียนส่วนสำหรับเด็กพิเศษตามโครงสร้างซีท ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนเด็กพิเศษ จำแนกตามตำแหน่ง เพศระดับการศึกษา ประสบการณ์ และขนาดโรงเรียน พบว่าปัญหาการดำเนินงานจัดการเรียนร่วมสำหรับเด็กพิเศษตามโครงสร้างซีทด้านสภาพแวดล้อม ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน และด้านเครื่องมือ แตกต่างกันอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านนักเรียนไม่มีความแตกต่างกัน ข้อเสนอแนะ 1.)ด้านนักเรียน ควรมีการเตรียมความพร้อมนักเรียนพิเศษ และนักเรียนทั่วไปโดยนักเรียนพิเศษควรตรวจวัดความพร้อมทางด้านการเรียน สังคมและร่างกาย โดยให้นักเรียนรู้จักสถานที่ การใช้บริการ 2.) ด้านสภาพแวดล้อม โรงเรียนต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อปรับสภาพแวดล้อมทางกายภาพโดยคำนึงถึงสภาพความบกพร่องของนักเรียนทั้งสภาพแวดล้อมภายนอกห้องเรียนและในห้องเรียน ควรประชุมทำความเข้าใจกับบุคลากรที่เกี่ยวข้องในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา ควรให้ผู้ปกครองของเด็กพิเศษ และเด็กปกติอาสาเป็นวิทยากรหรือมาร่วมกิจกรรมอนุบาลเด็กพิเศษ 3.) ด้านกิจจกรมการเรียนการสอน โรงเรียนควรมีการเตรียมการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล โดยมีการแต่งตั้งคณะบุคคลหลาย ๆ ฝ่ายมาร่วมในการจัดทำมีการทบทวนปรับแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ให้เหมาะสมกับนักเรียนพิเศษแต่ละบุคคล 4.) ด้านเครื่องมือ โรงเรียนควรมีการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจ อย่างชัดเจน มีแผนงานโครงสร้างให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมสนับสนุนและดำเนินงานด้านการเรียนร่วม สถานศึกษาควรมีบุคลากรที่จบด้านการศึกษาพิเศษ หรือต้องได้รับการอบรม ศึกษาดูงานเพื่อดูแลช่วยเหลือในด้านการจัด การเรียนการสอน การฝึกทักษะ เฉพาะด้าน การฝึกกิจกรรมบำบัด en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title สภาพและปัญหาการดำเนินงานจัดการการเรียนร่วมสำหรับเด็กพิเศษตามโคงการชีท (SEAT Framework) ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 en_US
dc.title.alternative STATES AND PROBLEMS OF SPECIAL EDUCATION EMERSION ACCORDING TO THE SEAT FRAMEWORK IN SCHOOLS UNDER BURIRAM PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics