ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ปัญหาการดำเนินการขอเลื่อนวิทยฐานะชำนาญการพิเศษของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1

Show simple item record

dc.contributor.advisor ประสิทธิ์ สุวรรณรักษ์ en_US
dc.contributor.advisor นิวัฒน์ กัลยพฤกษ์ en_US
dc.contributor.advisor ครุปกรณ์ ละเอียดอ่อน en_US
dc.contributor.author จุไรรัตน์, แก้วพลงาม
dc.date.accessioned 2017-09-16T06:12:04Z
dc.date.available 2017-09-16T06:12:04Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1828
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ศึกษาและเปรียบเทียบปัญหาการดำเนินการขอเลื่อนวิทยฐานะชำนาญการพิเศษของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 ตามขอบข่ายการดำเนินการขอเลื่อนวิทยฐานะชำนาญการพิเศษของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 5 ด้าน คือ ด้านหลักเกณฑ์และวิธีการขอให้มีหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษด้านหลักเกณฑ์และวิธีพัฒนาครูก่อนแต่งตั้งให้มีหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ด้านการเตรียมการ ด้านการพัฒนาผลงานทางวิชาการ และด้านการเขียนรายงานการวิจัย กลุ่มตัวอย่างจำนวน 285 คน ได้จากการสุ่มจากประชากรครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 ด้ววิธีสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling ) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมี 3 ลักษณะ คือ แบบตรวจสอบรายการ ( Checklists ) แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale ) และแบบปลายเปิด (Open Form ) แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .9780 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน การทดสอบสมมติฐาน ใช้ค่า Independent Sample t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ( One-way ANOVA) โดยกำหนดค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ครูสังกัดงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 ปัญหาในการดำเนินการขอเลื่อนวิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ ทั้งโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง 2. ครูที่มีเพศ วุฒิการศึกษา อายุ และประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีปัญหาในการดำเนินการ ขอเลื่อนวิทยฐานะชำนาญพิเศษ โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาในการดำเนินการขอเลื่อนวิทยฐานะชำนาญพิเศษครูสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 เห็นว่า เกณฑ์การประเมิณจากคณะกรรมการด้ารที่ 3 สูงเกินไป วิทยากรที่อบรมการทำผลงานทางวิชาการให้ความรู้แตกต่างกัน ทำให้ครูสับสนขาดความชัดเจนในการพัฒนาผลงาน โรงเรียนไม่จัดหาคู่มือเอกสารเกี่ยวกับการจัดทำผลงานทางวิชาการไว้ให้ศึกษาค้นคว้า ผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาวิชามีน้อย ครูขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเขียนรายงานการวิจัย ผลการประเมินจากคณะกรรมการการตรวจผลงานที่ 3 ขาดความเที่ยงธรรมนักเรียนได้รับผลกระทบจากการทำผลงานทางวิชาการ ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรพิจารณาลดเกณฑ์การประเมินด้านที่ 3 ให้น้อยลง วิทยากรที่อบรมควรเป็นคณะกรรมการตรวจผลงานด้าน ที่ 3 เพราะจะทำให้ครูได้รับความรู้ความเข้าใจตรงกับผู้ตรวจผลงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือโรงเรียนควรจัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาการจัดทำผลงานทางวิชาการ และมีเอกสาร ตัวอย่างให้ศึกษาให้ครูที่จะส่งผลงานเข้ากลุ่มตามสาขาวิชา แต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเป็นที่ปรึกษา เพื่อให้คำแนะนำ และดำเนินการจัดทำตามลำดับขั้นตอน มีการนิเทศ กำกับ ติดตามเป็นระยะ ๆอย่างต่อเนื่อง ควรจัดอบรมคณะกรรมการตรวจผลงานทางวิชาการด้านที่ 3 ให้มีความเข้าใจเกณฑ์การตรวจผลงานตรงกันทุกสาขาวิชา เพื่อให้เกิดความเที่ยงธรรม หรือเปลี่ยนรูปแบบการประเมิน โดยให้ผู้ยื่นคำขอเข้ากลุ่มตามสาขาวิชา มีผู้เชี่ยวชาญอบรมให้ความรู้และเป็นที่ปรึกษา มีการนิเทศ กำกับ ติดตามและทดสอบเป็นระยะๆ ในเวลา 2 ปี แล้วส่งผลงานทางวิชาการ จะทำให้มีครูชำนาญการพิเศษที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title ปัญหาการดำเนินการขอเลื่อนวิทยฐานะชำนาญการพิเศษของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 en_US
dc.title.alternative Problems of Professional Teachers' Promotion to Senior Specialist Implementation Under Buriram Educationa Service Area Office 1 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics