ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนากลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมจังหวัดบุรีรัมย์ : ศึกษาเฉพาะกรณีกลุ่มหม่อน เลี้ยงไหม บ้านหนองเสม็ด - ไทยเจริญ อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor หาญชัย อัมภาผล en_US
dc.contributor.advisor พัชรินทร์ ศิริอำพันธ์กุล en_US
dc.contributor.advisor ปัญญา เจริญพจน์ en_US
dc.contributor.author ประพนธ์, บรรจงศิริทัศน์
dc.date.accessioned 2017-09-16T06:07:49Z
dc.date.available 2017-09-16T06:07:49Z
dc.date.issued 2547-01-11
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1816
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมบางประการที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนากลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหม 2) ศึกษาการมีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนากลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหม 3) ศึกษาปัญหาการมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ผู้วิจัยศึกษาประชากร ผู้วิจัยศึกษาประชากร สมาชิกกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบ้านหนองเสม็ด – ไทยเจริญ จำนวน 107 คน เนื่องจากเป็นการศึกษาเฉพาะกรณีและประชากรมีจำนวนไม่มากนักจึงได้ศึกษาประชากรทั้งหมด การเก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องมือที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงจากผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์ โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า สมาชิกส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 92.50 อายุระหว่าง 36-45 ปี การศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา ส่วนใหญ่ไม่มีตำแหน่งทางสังคม การประกอบอาชีพการเกษตรมีพื้นที่เป็นของตนเอง พื้นที่ทำนา 1-10 ไร่ พื้นที่ทำไร่ 1-20 ไร่ พื้นที่ทำสวน 1-20 ไร่ พื้นที่ปลูกหม่อน 1-10 ไร่ การเลี้ยงไหม 1-10 กระด้ง รายได้ของสมาชิกจากการทำนา น้อยกว่า 20,000 บาท จากการทำไร่น้อยกว่า 20,000 บาท รายได้จากการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม 1-3,000 บาท มีรายได้จากการประกอบอาชีพเฉลี่ย 30,001 – 50,000 บาท การติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของรัฐพบว่าสมาชิกกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบ้านหนองเสม็ด – ไทยเจริญ ส่วนใหญ่ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร 6-10 ครั้ง/ปี การติดต่อกับผู้นำท้องถิ่น ติดต่อกับผู้ใหญ่บ้าน 6-10 ครั้ง/ปี การมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่มของสมาชิกมากที่สุด คือ กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ สำหรับปัญหาของสมาชิกส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องการกู้เงินระยะสั้น ร้อยละ 85 การเปรียบเทียบปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนากลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบ้านหนองเสม็ด – ไทยเจริญ ทั้ง 6 ประเด็น พบว่า การติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของรัฐมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ข้อเสนอแนะที่ได้จากผลการวิจัย เจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้นำท้องถิ่นเป็นบุคคลที่มีความสำคัญที่สามารถขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนากลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบ้านหนองเสม็ด – ไทยเจริญ เป็นอย่างมาก en_US
dc.description.abstract The objectives of the research were : (1) To study about the basic Socio-economics related to activities of the development for growing worm plants in the production of silk. (2) To study about the group being involved with the development of growing worm plants. (3) To study about the problems of this members. The research Studied 107 members of the groups in Ban – Nongsamed – Thaicharoen. Due to the lacking of population for case study so the study applied to all the population in the village. Collecting the information by using the most accurate equipment from the specialists. Analyzing the information by computer, using SPSS programme, percentage, and means. The results of the research were below. Most members were female (92.5%), aged 36-45 primary level educated. Most of then did not have ranking in the social. Their profession were farming from their own lands. The areas for growing rice are 1-10 rais, farming (1-20 rais), gardening (1-20 rais), growing worm plants (1-10 rais), and raising silk worm (1-10 trays.) The income of the members from growing rice was less than 20,000 baht, and from farming was less than 20,000 baht, from growing worm plants is 1,000 – 3,000 baht per annum. The average income from those professions was 30,001 – 50,000 baht. The information from agricultural authorities revealed that members in Ban – Nongsamed – Thaicharoen communicate with them and local leaders 6-10 times a year. The participation in the activity of most members were charity. Eighty – five percent of members faced short term loan problem. Studying of 6 factors indicated that the participation of the worm plants growing group with the authorities showed significant differences Researcher suggested the official authorities and local leaders were the most influential persons who could drive all activities involving group development. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนากลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมจังหวัดบุรีรัมย์ : ศึกษาเฉพาะกรณีกลุ่มหม่อน เลี้ยงไหม บ้านหนองเสม็ด - ไทยเจริญ อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative Factors concerning the participation in mulberry planting and silkworm raising development activities : A case study of the activities at Nongsamed-Thaicharoen, Pakam district : Buriram province en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics