ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เทคนิค Stad

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุนันทา วีรกุลเทวัญ en_US
dc.contributor.advisor ประเสริฐ ภู่เงิน en_US
dc.contributor.advisor บุหงา ชูสุวรรณ en_US
dc.contributor.author ชนกนาถ, ดลเอี่ยม
dc.date.accessioned 2017-09-16T04:59:08Z
dc.date.available 2017-09-16T04:59:08Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1776
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เทคนิค STAD ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75 / 75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เทคนิค STAD 3) ศึกษาเจตคติของนักเรียนต่อกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เทคนิค STAD กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนรมย์บุรีพิทยาคม รัชมังคลาภิเษก อำเภอบ้านด่าน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 จำนวน 50 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เทคนิค STAD จำนวน 8 แผน แบบทดสอบย่อยจำนวน 8 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยมีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.84 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.9294 และแบบสอบถามวัดเจตคติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานการวิจัย โดยใช้ ค่าสถิติ t (One – Sample t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เทคนิค STAD ที่มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 79.83 / 77.65 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75 / 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นั่นคือ นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 20 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มากกว่าร้อยละ 80 มีเจตคติต่อการเรียนโดยใช้เทคนิค STAD เรื่องการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เทคนิค Stad en_US
dc.title.alternative The Development of Learning Activities for Science Subject Areas on Motion Units of Mattayomsuksa 4 Students Through Stad Techniques en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline หลักสูตรและการสอน
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics