ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การศึกษาความต้องการการพัฒนาศักยภาพของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor สงวน ทรงวิวัฒน์ en_US
dc.contributor.advisor ประสิทธิ์ สุวรรณรักษ์ en_US
dc.contributor.advisor น้อย สุปิงคลัด en_US
dc.contributor.author ประหยัด, วรงค์
dc.date.accessioned 2017-09-16T04:54:06Z
dc.date.available 2017-09-16T04:54:06Z
dc.date.issued 2546-05-30
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1755
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความต้องการการพัฒนาศักยภาพของครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ จำแนกเพศ วุฒิทางการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน ในกรอบความคิด 5 ด้าน คือด้านการฝึกอบรม ด้านการส่งข้าราชการครูไปศึกษา ฝึกอบรมหรือดูงาน ด้านกระบวนการปฏิบัติงาน ด้านการพัฒนาตนเอง ด้านการพัฒนาโดยกระบวนการบริหาร กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 370 คน ได้จากการสุ่มจากประชากร โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน มี 3 ลักษณะ คือ แบบตรวจสอบรายการ (Check List) แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) และแบบปลายเปิด (Open Form) ซึ่งมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่า t-test Independent และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) และเปรียบเทียบเป็นรายคู่ในแต่ละด้านโดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe's Method) กำหนดค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ครูผู้สอนมีความต้องการพัฒนาศักยภาพ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีความต้องการในระดับมากทุกด้าน เช่นกัน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากสูงไปหาต่ำ ตามลำดับดังนี้ คือ ด้านการพัฒนาโดยกระบวนการบริหาร ด้านการพัฒนาโดยกระบวนการปฏิบัติงาน ด้านการฝึกอบรม ด้านการส่งบุคลากรไปศึกษา ฝึกอบรม หรือดูงาน และด้านการพัฒนาด้วยตนเอง 2. ครูชายและครูหญิง มีความต้องการพัฒนาศักยภาพโดยภาพรวมไม่แตกต่างกันเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการส่งบุคลากรไปศึกษา ฝึกอบรมหรือดูงานมีความต้องการพัฒนาศักยภาพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ครูที่มีวุฒิทางการศึกษาต่างกัน มีความต้องการพัฒนาศักยภาพโดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านฝึกอบรมและด้านการพัฒนาโดยกระบวนการบริหาร มีความต้องการพัฒนาศักยภาพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีความต้องการพัฒนาศักยภาพโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการพัฒนาโดยกระบวนการปฏิบัติงาน และด้านการพัฒนาด้วยตนเอง มีความต้องการพัฒนาศักยภาพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะครูผู้สอนต้องการให้ผู้บริหารหรือหน่วยงานต้นสังกัดให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนในการพัฒนาศักยภาพ คือ ต้องการให้สนับสนุนงบประมาณเป็นอันดับ 1 รองลงมา คือ การจัดฝึกอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพ มีการนิเทศ กำกับติดตาม และประเมินผล สนับสนุนในด้านวัสดุอุปกรณ์ สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีที่ทันสมัยมีการให้ขวัญและกำลังใจ สนับสนุนส่งเสริมการศึกษาดูงาน มีการอบรมเชิงปฏิบัติการต้องการให้เพิ่มครูฝ่ายสนับสนุนการสอน ตามลำดับ เกี่ยวกับรูปแบบในการพัฒนาศักยภาพที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด รองลงมาคือ การอบรมสัมมนา การศึกษาดูงาน การฝึกปฏิบัติจริง และการศึกษาด้วยตนเอง ตามลำดับ " en_US
dc.description.abstract This research aimed to study and to compare the needs for personnel development of the teachers in primary schools under the teachers' sex, education, and working experience. The needs studied were on 5 areas : training, futher study/ practice/ study visit, working process, self-development and administration process. The sample of 370 teachers was selected through Krejcie & Morgan's Table and Stratified Random Sampling respectively. The research instrument was a questionnaire comprising 3 parts: Check List, Rating Scale and Open Form. The reliability of the questionnaire was at .9475. The statistics techniques used for data analysis were percentage, mean, and stanard deviation. The hypotheses were tested by t - test Independence and One-way Analysis of Variance was set at level of .05. The findings were as the follows; 1. The teachers' needs for personnel development both as a whole and on each area were at a hight level. The range of needs on 5 areas from the highest to the lowest was on administration process, working process, training, furture study/ practice/ study visit and self-development. 2. There was no significant difference between the needs of male and female teachers on personnel development as a whole. However, there was a significant difference at the level of .05 on the area of further study/ practice/ study visit. 3. There was a significant difference at the level of .05 between the needs of the teachers with different levels of education for personnel development as a whole. Moreover, there was a significant difference at the level of .01 on the areas of training and administration process. 4. There was no significant difference between the needs for personnel development as a whole of the teachers with different working experience; nevertheless, the significant difference at .01 was found on the areas of working process and self-development. 5. The suggestions made by the teachers, listed from he highest to the lowest frequency, were: allocating budget for personnel development; training for potential development; providing supervising. following up and evaluating; providing materials and up-to-date information technology; reinforcing teachers' morale; supporting study visits; arranging workshop; adding the number of assistant teachers. There also was suggestion about the patterns of potential development; the most to the least recommended patterns were seminar, study visit, actual practice and self-self. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title การศึกษาความต้องการการพัฒนาศักยภาพของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative A Study of needs for personnel development of the teachers in primary schools under the Office of Buriram Provincial Primary Education en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.name การบริหารการศึกษา
dc.degree.name ปริญญาโท


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics