ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

รูปแบบการสร้างสุขภาวะที่เหมาะสมกับเพศและวัยของชุมชนบ้านซาด หมู่ที่ 2 ตำบลมะเฟือง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปิยาภรณ์ ศิริภานุมาศ en_US
dc.contributor.advisor อนันต์ ลิขิตประเสริฐ en_US
dc.contributor.advisor สมบัติ ประจญศานต์ en_US
dc.contributor.author ภัทรา, เชื้อนิล
dc.date.accessioned 2017-09-16T04:54:00Z
dc.date.available 2017-09-16T04:54:00Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1753
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหาสุขภาวะของประชาชนบ้านซาดเพื่อค้นหาองค์ความรู้ในการสร้างเสริมสุขภาวะของชุมชน และเพื่อศึกษารูปแบบสุขภาวะที่เหมาะสมกับเพศและวัยของชุมชนบ้านซาด กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยประกอบด้วยประชากรเพศชายและเพศหญิงที่มีอายุอย่างน้อย 25 ปี แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ผู้นำชุมชนและผู้ที่มีบทบาทด้านสาธารณสุขชุมชนครู ปราชญ์ชาวบ้าน จากบุคคลที่เป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ สุ่มตัวอย่างเฉพาะเจาะจง จำนวน 10 คน กลุ่มที่ 2 ประชาชนทั่วไปที่สนใจปัญหาสาธารณสุขสุ่มตัวอย่างแบบสะดวกโดยการเชิญชวนเข้าร่วมโครงการด้วยความสมัครใจ จำนวน 55 คน มีคณะวิจัยชาวบ้านในชุมชนร่วมกันทำงาน จำนวน 15 คน ได้ทำการศึกษาทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพรูปแบบเชิงประจักษ์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และ เครื่องมือในการสำรวจสุขภาพ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลได้โดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า สถานการณ์ปัญหาสุขถาวะของชุมชนโดยจำแนกตามเพศและวัย กลุ่มอายุ 25-25 ปี เพศชาย ขาดความอบอุ่นในครอบครัว ออกไปทำงานรับจ้างต่างถิ่น กลุ่มอายุ 25-35 ปี เพศหญิง ขาดความอบอุ่นในครอบครัว พ่อต้องไปทำงานในเมือง เกิดความห่างเหิน ขาดที่พึ่ง กลุ่มอายุ 36-45 ปี เพศชายมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป กลุ่มอายุ 36-45 ปี เพศหญิง มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป กลุ่มตัวอย่าง 46 ปี ขึ้นไป เพศชาย มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป กลุ่มอายุ 46 ปี ขึ้นไป เพศหญิง เกิดความเครียดจากสภาพร่างกายเมื่อเข้าสู้วัยทอง มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป องค์ความรู้ในการสร้างเสริมสุขภาวะ ของชุมชน พบว่า ประชาชนบ้านซาดใช้องค์ความรู้ด้านสมุนไพรพื้นบ้านที่มีคุณสมบัติทางยามารักษาผู้ป่วย โดยปรับใช้หรือแปรสภาพความเข้มข้นของสมุนไพรให้เหมาะกับผู้ป่วย ใช้สมุนไพรในการบำรุงรักษาผิวพรรณและบำบัดอาการป่วยเมื่อยตามร่างกาย ใช้สมุนไพรในการดับกลิ่นอับในบ้าน ใช้สมุนไพรทำเป็นยาอมลูกกลอนเพื่อให้ชุ่มคอและรักษากลิ่นปาก และสุดท้ายใช้สมุนไพรเป็นสินค้าเพื่อประกอบอาชีพหา รายได้เลี้ยงตัวเองและครอบครัว รูปแบบการสร้างสุขภาวะที่เหมาะสมกับเพศและวัยของชุมชน พบว่า รูปแบบการสร้างสุขภาวะต้องมีองค์ประกอบหลัก 6 องค์ประกอบ คือ 1. ชุมชนมีภาวการณ์เป็นผู้นำ หมายถึง ประชาชนส่วนใหญ่สนใจใฝ่รู้ในสิ่งแวดล้อมรอบข้าง และมีความตื่นตัวกับสิ่งแปลกใหม่ พร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับนักวิจัยในการทำงานเป็นอย่างดี 2. ชุมชนมีองค์ความรู้ที่ทันสมัย คือมีการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนโดยการสร้างประชาคมด้านสุขภาพ สร้างเครื่องข่ายสื่อมวลชน สมาคม องค์กรต่าง ๆ มากขึ้น เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการสร้างสุขภาพที่ดีให้กับชุมชน 3. ชุมชนมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน 4.ชุมชนมีกระบวนการจัดการชุมชน 5. ชุมชนมีการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น 6. ชุมชนมีกระบวนการเฝ้าระวังภัย หมายถึง คือประชาชนในชุมชนช่วยกันดูแลความสงบสุขของชุมชน โดยการจัดเวรยามดูแลสถานการณ์ในชุมชน en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title รูปแบบการสร้างสุขภาวะที่เหมาะสมกับเพศและวัยของชุมชนบ้านซาด หมู่ที่ 2 ตำบลมะเฟือง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative MODEL FOR MAKING THE PROPER WELL BEING ON THE SEX AND AGE OF PEOPLE IN SAD VILLAGE, MOO 2, MAFIENG SUB-DISTRICT, PUTTHAISONG DISTRICT, BURIRAM PROVINCE en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics