ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาศักยภาพธุรกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร บ้านเกตุเหนือ ตำบลตะโก อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor จรัส สว่างทัพ en_US
dc.contributor.advisor เที่ยง ด้วงบุตรศรี en_US
dc.contributor.advisor อนันต์ ลิขิตประเสริฐ en_US
dc.contributor.author ประเดิม, นิลศิริ
dc.date.accessioned 2017-09-16T04:49:27Z
dc.date.available 2017-09-16T04:49:27Z
dc.date.issued 2547
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1737
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานธุรกิจชุมชน และ 2) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้ที่นำไปสู่การพัฒนาศักยภาพในการดำเนินงานธุรกิจชุมชน ศึกษาประชากรทั้งหมดซึ่งเป็นกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านเกตุเหนือ ตำบลตะโก อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 64 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ที่พัฒนาขึ้นเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearsin’s Product Correlation) และวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regession Analysis = MRE) ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานธุรกิจชุมชน ปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ปัจจัยด้านการได้รับสนับสนุนจากบุคคลภายนอก 2)รูปแบบและกระบวนการเรียนรู้ที่มีผลต่อการพัฒนาศักยภาพธุรกิจชุมชน ปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ขั้นตอนการจัดกระบวนการเรียนรู้ และ 3) ศักยภาพการดำเนินงานธุรกิจชุมชนปฏิบัติในระดับมาก ได้แก่ ด้านสังคมวัฒนธรรมความเป็นองค์กร และ 4) วิเคราะห์ความถดถอยระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตา พบว่า ตัวแปรอิสระทุกตัวที่นำเข้าสู่สมการถดถอยเชิงพหุมีผลต่อตัวแปรตาม คือ ศักยภาพการดำเนินงานธุรกิจชุมชน ผลการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ พบว่า การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานธุรกิจชุมชน กับศักยภาพด้านเศรษฐกิจสามารถอธิบายการผันแปรของตัวแปรตามได้ในระดับสูงสุด ร้อยละ 79.90 ในขณะที่รองลงมา ได้แก่ การวิเคราะห์ความถดถอยระหว่างรูปแบบกระบวนการเรียนรู้ที่มีผลต่อการพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานธุรกิจชุมชนกับศักยภาพการดำเนินงานธุรกิจชุมชนด้านเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถอธิบายความสัมพันธ์ได้ร้อยละ 67.10 การวิเคราะห์ความถดถอยระหว่างรูปแบบกระบวนการเรียนรู้ที่มีผลต่อการพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานธุรกิจชุมชน กับศักยภาพการดำเนินงานธุรกิจชุมชนด้านสังคมวัฒนธรรมสามารถอธิบายความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระได้ในระดับต่ำที่สุดร้อยละ 34.50 en_US
dc.description.abstract The objectives of this study were 1) to investigate the factors affecting the potentiality development in running the community business, and 2) to analyse the learning styles and learning styles and learning processes that can convey the potentiality development in running the community business. The population were 64 members of the Peasant Housewives Group at Ban Kednua, Tambon Tago, Amphur Hauyrat, Buriram Province. The instruments used for collecting the data were the locally made questionnaires. The statistics used in data analysis were the mean, percentage, standard deviation, Pearson’s Product Correlation, and Multiple Regression Analysis (MRA). The results of the study were: 1) the factors affecting the potentiality development of the community business were practiced at a high level included the factors concerning the support from outsiders, 2) the learning styles and learning processes affecting the potentiality development of the community business were practiced at a high level procedures for arranging the learning processes, and 3) the potentiality for running the community business practiced at a high level was the factor concerning the socio – cultual as the community organizations, and 4) the results of the regression analysis the independent variables and the dependent variables were found that all of the independent variables tested through the Multiple Regression Analysis effected the dependent variables i.e. the potentiality in running the community business. The Multiple Regression Analysis (MRA) resulted that the multiple regression between the factors affecting the potentiality development in running the community business and the economic potentiality could explain the changing of the dependent variables at the highest level of 79.90% While the lower level were the multiple regression between the learning styles that affected the potentiality development in running the community business and the potentiality in running the economic community business which could explain the relationship at 67.10%. The multiple regression between the learning styles that affected the potentiality development in running the community and the socio – cultural potentiality could explain the relationship of the dependent variables at the lowest level of 34.50%. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาศักยภาพธุรกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร บ้านเกตุเหนือ ตำบลตะโก อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative The factors affecting potentiality of development for the local business of the Peasant Housewives Group at Ban Kednua, Tambon Tago, Amphur Hauyrat, Buriram Province en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics