ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor โกวิท เชื่อมกลาง en_US
dc.contributor.advisor สงวน ทรงวิวัฒน์ en_US
dc.contributor.advisor ละออง ภู่เงิน en_US
dc.contributor.author ชาญยุทธ, นาเจริญ
dc.date.accessioned 2017-09-16T04:48:41Z
dc.date.available 2017-09-16T04:48:41Z
dc.date.issued 2545
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1730
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพปัญหาและความต้องการในการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ ประชากรเป็นครูผู้สอน จำนวน 10,224 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้จากการสุ่มจากประชากรโดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากตารางสำเร็จรูปของเครจซีและมอร์แกน (Krejcie & Morgan) ได้กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอน จำนวน 370 คน โดยการสุ่มตามระดับชั้นอย่างมีสัดส่วน (Proportional Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมี3 ลักษณะ คือ แบบสำรวจรายการ (Check List) แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) และแบบปลายเปิด (Open Form) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานใช้ t-test แบบ Independent Sample t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way Analysis of Variance) และเมื่อพบความแตกต่างจึงทำการเปรียบเทียบรายคู่ในแต่ละด้านตามวิธีของ เชฟเฟ่ (Scheffe’s Method) กำหนดค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัย พบว่า 1. ครูผู้สอนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหาในการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน ทั้งโดยรวมและเป็นรายด้าน อยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงไปหาต่ำ ดังนี้ ด้านความรู้และทักษะในการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน ด้านปัจจัยเกื้อหนุนในการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียนและด้านการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน 2. ครูผู้สอนมีความต้องการในการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน ทั้งโดยรวมและเป็นรายข้ออยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับข้อที่มีความต้องการสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ งบประมาณสนับสนุนในการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน การให้ขวัญและกำลังใจในการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียนจากผู้บังคับบัญชาและการมีที่ปรึกษาในการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน ส่วนข้อที่มีความต้องการน้อยที่สุด ได้แก่ การกำหนดงานการวิจัยในชั้นเรียนให้เป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานวิชาชีพครู 3. ครูผู้สอนที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหาในการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน ทั้งโดยรวมและเป็นรายด้าน ไม่แตกต่างกัน 4. ครูผู้สอนที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีความต้องการในการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ครูผู้สอนที่มีประสบการณ์ต่างกัน มีความต้องการในการเผยแพร่ผลงานการวิจัยในชั้นเรียนจากหน่วยงานต้นสังกัดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. ครูผู้สอนที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหาในการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน ทั้งโดยรวมและเป็นรายด้านไม่แตกต่างกัน 6. ครูผู้สอนปฏิบัติงานอยู่ในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการในการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน ทั้งโดยรวมและเป็นรายข้อไม่แตกต่างกัน 7. ครูผู้สอนแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสภาพปัญหาในการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 5 ลำดับแรก ได้แก่ 1) ครูผู้สอนยังขาดความรู้ความเข้าใจในแนวทางการวิจัยในชั้นเรียนและคิดว่าเป็นเรื่องยากจึงไม่ทำการวิจัย 2) ครูไม่มีงบประมาณที่เพียงพอในการทำการวิจัยในชั้นเรียน 3) ครูมีเวลาที่ไม่เพียงพอที่จะทำการวิจัยในชั้นเรียนเนื่องจากมีงานทั้งการสอนและงานพิเศษอื่น ๆ มาก 4) ครูขาดตัวอย่างที่หลากหลายสำหรับเป็นแนวทางในการวิจัยในชั้นเรียน และ 5) ขาดแหล่งความรู้ในการค้นคว้าเพื่อทำการวิจัยในชั้นเรียน 8. ครูผู้สอนแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความต้องการในการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 5 ลำดับแรก ได้แก่ 1) ควรจัดการอบรมสัมมนาด้านการวิจัยในชั้นเรียนให้แก่ครูอย่างต่อเนื่องและอย่างเป็นรูปธรรม 2) ควรจัดสรรงบประมาณช่วยเหลือแก่ครูที่ทำการวิจัยในชั้นเรียนอย่างเพียงพอ 3) ควรแต่งตั้งหรือจัดหาที่ปรึกษาหรือผู้ชำนาญการด้านการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อให้ครูที่สนใจจะทำการวิจัยในชั้นเรียนได้มีที่พึ่งในคราวที่มีปัญหาเมื่อทำการวิจัยในชั้นเรียน 4) ทางราชการควรจัดหาเอกสารความรู้ด้านการวิจัยในชั้นเรียนต่าง ๆ ให้แก่ครูเพื่อนำไปศึกษาหาความรู้สำหรับทำการวิจัยในชั้นเรียน และ 5) ควรมีการประกาศเกียรติคุณผู้ทำการวิจัยในชั้นเรียนหรือประชาสัมพันธ์ผลงานการวิจัยในชั้นเรียนให้บุคคลทั่วไปได้รับทราบ en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative A study of the problems and needs classroom action research of the teachers under the Office of Buriram Provincial Primary Education en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics