ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ปัจจัยและแนวทางแก้ปัญหาการออกกลางคันของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปิยาภรณ์ ศิริภานุมาศ en_US
dc.contributor.advisor สาธิต ผลเจริญ en_US
dc.contributor.author นุชสุดา, ละมัยกุล
dc.date.accessioned 2017-09-16T04:47:44Z
dc.date.available 2017-09-16T04:47:44Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1729
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกกลางคันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการออกกลางคันของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาของโรงเรีนยน และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาการออกกลางคันของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาเดิม และโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 2302 คน จำแนกเป็น ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 101 คน และครูจำนวน 2201 คน กลุ่มตัวอย่างได้แก่่ผู้บริหาร จำนวน 80 คน และครู 327 คน โดยการกำหนดขยายตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกนทำการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .9851 สถิติที่ใช้ในการวิจัยข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานใช้ t-test โดยกำหนดคต่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการออกกลางคันของนักเรียนระดับชั้นมัธนมศึกษาตอนต้น พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านสภาพครอบบครัวนักเรียน ด้านตัวนักเรียน ด้านชุชมชน และด้านสภาพโรงเรียน 2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการออกกลางคันของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำแนกตามประเภทของโรงเรียน โดยภาพรวมพบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูโรงเรียนศึกษาเดิมและโรงเรียนขยายโอกาสมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการออกกลางคันของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ีการศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน 3. การศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาการออกกลางคันของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพชุมชนคือมห้มีการจัดหาอาชีพและแนะแนวให้ผู้ปกครองทำเป็นหลักแหล่่ง ให้สถานศึกษาร่วมมือกับชุมชนตั้งกองทุนช่วยเหลือนักเรียนที่ขาดแคลน ให้มีการจัดหารายได้ให้กับเด็กนักเรียนระหว่างปิดภาคเรียน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพโรงเรียน คือ จัดการเรียนการสอนเสริมนักเรียนที่เรียนเก่งและซ่อมเสริมนักเรียนที่เรียนช้าให้นักเรียนได้มีส่วน่วมในการส่งเสริมกิจกรรมจะได้มีความรักความห่วงใยโรงเรียน จัดการเรียนการสอนเพื่อฝึกอาชีพให้กับนักเรียน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพครอบครัว คือ ควรร่วมมือกับการสอนเพื่อติดตามการเรียนของลูก เป็นผู้สนับสนุนให้ลูกได้เรียนตามความสามารถ เป็นที่ปรึกษาที่่ดีให้ลูก แนะนำให้ประพฤติแต่สิ่งที่ดี ควรใช้เวลาให้อยู่กับลุกมากที่สุด ผู้ปกครองควรมีการวางแผนด้านการศึกษาให้กับลูก ปัจจัยที่เกี่ยวกับข้องกับสภาพตัวนักเรียนคือ ให้มีบริการจัดสรรเงินกู้-ยืม เพื่อการศึกาา โดยให้นักเรียนเข้าถึงได้ง่ายมีความสะดวก และรวดเร็ว ให้มีการเสริมสร้างคุณลักษณะของนักเรียน ใฝห้มีทัีกษะให้มีสมรรถนะสามารระประกอบอาชีพได้หลากหลายรวมถึงการประกอบอาชีพอิสระได้มากขึ้น มีการจัดระบบความช่วยเหลือ สนับสนุนการเรียนการสอนซ่อมเสริมให้มีระบบที่ช่วยให้นักเรียนสามารถทำการศึกษาเพิ่มเติมด้วยตนเองได้สะดวก en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title ปัจจัยและแนวทางแก้ปัญหาการออกกลางคันของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 en_US
dc.title.alternative FACTORS AND PROBLEM SOLVING GUIDELINES TOWARDS THE DROPPING OUT OF LOWER SECONDARY STUDENTS IN SCHOOL UNDER BURIRAM EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 3 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics