ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การพัฒนาครูในสถานศึกษาเพื่อรองรับการปรัเมินสมรรถนะประจำสายงานด้านภาวะผู้นำครู

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุนันทา วีระกุลเจริญ en_US
dc.contributor.advisor อมรรัตน์ ภิญโญอนันต์พงศ์ en_US
dc.contributor.author นงลักษณ์, พิมพ์ศรี
dc.date.accessioned 2017-09-16T04:45:17Z
dc.date.available 2017-09-16T04:45:17Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1723
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาองค์ประกอบการพัฒนาสมรรถนะประจำสายงานครูด้านภาวะผู้นำ เพื่อศึกษาลักษณะและพฤติกรรมสมรรถนะประจำสายงานครูด้านภาวะผู้นำ เพื่อสร้างคู่มือการพัฒนาภาวะผู้นำสมรรถนะประจำสายงานครูด้านภาวะผู้นำเพื่อทดลองการพัฒนาครูด้านการมุ่งพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน โดยได้กำหนดวิธีดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบการพัฒนาครูในสถานศึกษาจากแหล่งข้อมูล 2 แหล่ง คือ 1) จากเอกสารงานวิจัย 2) จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูสอนดีจำนวน 100 คน ที่ได้มาโดย การเลือกแบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้แบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับที่มีค่าเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.74 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 สร้างและพัฒนาคู่มือการพัฒนาสมรรถนะประจำสายงานครูด้านภาวะผู้นำ ตรวจสอบความถูกต้องและยืนยันคู่มือตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญโดยการให้สัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ความเป็นไปได้ และความเหมาะสมของคู่มือโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 ท่าน ระยะที่ 3 การทดลองใช้คู่มือการพัฒนาสมรรถนะประจำสายงายครูด้านภาวะผู้นำโดยเลือกครูสอนดีเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการพัฒนา จำนวน 30 คน โดยการประเมินก่อนและหลังการพัฒนา ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า 1.องค์ประกอบการพัฒนาครูในสถานศึกษาเพื่อรองรับการประเมินสมรรถนะ ประจำสายงานด้านภาวะผู้นำครูประกอบด้วย 5 ได้แก่ 1)วุฒิภาวะความเป็นผู้ใหญ่ที่เหมาะสมกับความเป็นครู 2)การสนทนาอย่างสร้างสรรค์ 3)การเป็นบุคคลแห่งการเปลี่ยนแปลง 4)การปฏิบัติงานอย่างไตร่ตรอง และ 5)การมุ่งพัฒนาผลสัมฤทธิ์ผู้เรียน 2.ลักษณะและพฤติกรรมครูในสถานศึกษาเพื่อรองรับการการประเมินสมรรถนะประจำสายงายด้านภาวะผู้นำครูพบว่า ลักษณะและพฤติกรรมครู เฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (X=4.18) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 2 ด้าน คือ ด้านการปฏิบัติงานอย่างไตร่ตรอง (X=4.67) รองลงมาคือ ด้านวุฒิภาวะความเป็นผู้ใหญ่ที่เหมาะสมกับความเป็นครูแสดงออกกับผู้เรียนอย่างเหมาะสมกับความเป็นครู (X=4.53) ส่วนด้านการมุ่งมั่นพัฒนาผลสัมฤทธิ์ผู้เรียนอยู่ในระดับปานกลาง 3.สร้างและพัฒนาคู่มือการพัฒนาครูในสถานศึกษาเพื่อรองรับการประเมินสมรรถนะประจำสายงานด้านภาวะผู้นำครูองค์ประกอบด้วย ความเป็นมา จุดประสงค์ เนื้อหาหลักสูตร ระยะเวลาในการพัฒนา ตารางพัฒนาตามหลักสูตร หลักสูตรการพัฒนาครู วิธีการพัฒนา สื่อและนวัตกรรมการพัฒนา การประเมินผลการพัฒนาโดยผ่านผู้เชี่ยวชาญ ให้การยืนยันความเหมาะสมและความเป็นไปได้ 4.พัฒนาครูภาวะผู้นำด้านการมุ่งพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้ง 3 ระยะ การดำเนินการในขั้นกระบวนการแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ระยะก่อนปฏิบัติการ ระยะที่ 2 ระยะปฏิบัติการประกอบด้วย การประชุมปฏิบัติการ โดยใช้คู่มือการพัฒนาครูในสถานศึกษาเพื่อรองรับการประเมินสมรรถนะประจำสายงานด้านภาวะผู้นำครูที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title การพัฒนาครูในสถานศึกษาเพื่อรองรับการปรัเมินสมรรถนะประจำสายงานด้านภาวะผู้นำครู en_US
dc.title.alternative DEVELOPMENT OF TEACHERS IN SCHOOLS FOR FUNCTIONAL COMPETENCY ASSESSMENT OF LEADSHIP en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline ภาวะผู้นำเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics