ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

บทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลต่อการพัฒนาชุมชนตามทัศนะของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor ประสิทธิ์ สวรรณรักษ์ en_US
dc.contributor.advisor เที่ยง ด้วงบุตรศรี en_US
dc.contributor.advisor ประกิจ จันตะเคียน en_US
dc.contributor.author ชาญณรงค์, หาญกิจ
dc.date.accessioned 2017-09-16T04:44:54Z
dc.date.available 2017-09-16T04:44:54Z
dc.date.issued 2545
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1720
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาบทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลต่อการพัฒนาชุมชน ด้านโครงสร้างพื้นฐานสังคมและด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามทัศนะของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล และเพื่อเปรียบเทียบบทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลต่อการพัฒนาชุมชน โครงสร้างพื้นฐานสังคมด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามทัศนะขององค์การบริหารส่วนตำบล จำแนกตามสถานภาพตำแหน่ง ระดับการศึกษา และอาชีพ ประชากรได้แก่ สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดบุรีรัมย์ 184 แห่ง จำนวน 4,498 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 367 คน ได้มาจากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของทาโร ยามาเน (Taro Yamana) โดยทำการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi – Stage Sampling) คือ สุ่มอำเภอและสุ่มตำบลด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) แล้วทำการสุ่มสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล จำแนกตามสถานภาพตำแหน่ง (Stratified Random Sampling) อย่างมีสัดส่วนจะได้กลุ่มตัวอย่างเป็นกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล 325 คน และสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมี 3 ลักษณะ คือ แบบเลือกตอบ แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบปลายเปิด แบบสอบถามมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 1.764 ถึง 9.668 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.9853 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่า t-test Independent การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – way Analysis of Variance) และเปรียบเทียบรายคู่ใช้วิธีของเชฟเฟ่ (Scheff’s Method) กำหนดค่าสถิติมีระดับนัยสำคัญที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. บทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลต่อการพัฒนาชุมชน ตามทัศนะของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล โดยภาพรวม พบว่า ควรมีบทบาทอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านโครงสร้างพื้นฐานสังคม มีบทบาทอยู่ในระดับปานกลาง และด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต มีบทบาทอยู่ในระดับมาก 2. การเปรียบเทียบทัศนะของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล เกี่ยวกับบทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลต่อการพัฒนาชุมชน จำแนกตามสถานภาพตำแหน่ง พบว่า โดยภาพรวมมีทัศนะไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตมีทัศนะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 3. การเปรียบเทียบทัศนะของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล เกี่ยวกับบทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลต่อการพัฒนาชุมชน จำแนกตามระดับการศึกษา โดยภาพรวมและรายด้าน พบว่า มีทัศนะไม่แตกต่างกัน 4. การเปรียบเทียบทัศนะของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล เกี่ยวกับบทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลต่อการพัฒนาชุมชน จำแนกตามอาชีพ โดยภาพรวมและรายด้าน พบว่า มีทัศนะไม่แตกต่างกัน 5. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมรวมทั้งปัญหาต่างๆ ได้แก่ ควรมีการฝึกอาชีพให้ประชาชนได้มีอาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ให้ครอบครัว มีความสำคัญอันดับ 1 รองลงไปคือ งบประมาณในการพัฒนามีน้อยไม่เพียงกับความต้องการของชุมชน ควรพัฒนาถนนให้ได้มาตรฐานและให้มีทุกหมู่บ้าน ประชาชนยังขาดความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานและบทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบล และมีการชี้แจงนโยบายการพัฒนาชุมชนให้ประชาชนทราบและประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร ตามลำดับ en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title บทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลต่อการพัฒนาชุมชนตามทัศนะของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative The roles of Buriram is Sub-district Administrative Organizations in community development as perceived by their members en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics