ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น กับกระบวนการเรียนการสอนในโรงเรียนประถมศึกษา : กรณีศึกษา โรงเรียนในสังกัดการประถมศึกษากิ่งอำเภอบ้านด่าน สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุวรรณ พวงประโคน en_US
dc.contributor.advisor พรพิมล พงศ์สุวรรณ en_US
dc.contributor.advisor พัชรินทร์ ศิริอำพันธ์กุล en_US
dc.contributor.author ณิศนันทน์, พลอามาตย์
dc.date.accessioned 2017-09-16T04:31:29Z
dc.date.available 2017-09-16T04:31:29Z
dc.date.issued 2545
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1674
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษากระบวนการเรียนการสอนของครูภูมิปัญญาท้องถิ่นและผลของการจัดกระบวนการเรียนการสอนของครูภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีต่อนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษากิ่งอำเภอบ้านด่าน 5 แห่ง มีผู้บริหาร 5 คน ครูผู้สอน 5 คน ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น 5 คน นักเรียนที่ได้เรียนรู้กับครูภูมิปัญญาท้องถิ่นแห่งละ 5 คน รวม 25 คน โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ แบบเจาะลึกในการเก็บข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการเรียนการสอนของครูภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้ง 5 คน มีกระบวนการเรียนการสอนที่คล้ายคลึงกัน เริ่มจากการวางแผนการสอนร่วมกับครูผู้สอน มีการวิเคราะห์หลักสูตรกำหนดเนื้อหารายวิชาที่สอนให้สอดคล้องกับความรู้ความชำนาญของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น กล่าวคือ วิชาการงานพื้นฐานอาชีพ การดำเนินการก่อนสอบ มีการสร้างความคุ้นเคยกับนักเรียน วิธีการสอน มีการสอนแบบบรรยายประกอบการสาธิต และให้นักเรียนฝึกปฏิบัติตามโดยใช้สื่อการสอนที่เป็นของจริง ตามเนื้อหาวิชาที่สอน เช่น การขยายพันธุ์พืช การทำอิฐดิน-ซีเมนต์ การทอผ้าและการทำข้าวกล้อง การประเมินผลการสอน ใช้วิธีการสังเกตขณะฝึกปฏิบัติงานและตรวจผลงาน 2. ผลที่เกิดกับนักเรียนหลังจากที่ได้เรียนกับครูภูมิปัญญาท้องถิ่นแล้ว จากการสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน นักเรียนและครูภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยใช้กรอบลักษณะที่พึงประสงค์ตามแนวปฏิรูปการศึกษา คือ นักเรียนเป็นคนเก่ง เป็นคนดี และมีความสุข พบว่า สิ่งที่แสดงว่านักเรียนเป็นคนเก่ง คือ นักเรียนสามารถคิดอย่างมีเหตุผล เชื่อมโยงจากสิ่งเรียนรู้เข้าสู่วิถีชีวิต พัฒนาตนให้มีความรู้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง สามารถแก้ปัญหา โดยการนำความรู้ไปปฏิบัติจริง จนเกิดความรู้ใหม่ สิ่งที่แสดงว่านักเรียนเป็นคนดี คือ นักเรียนมีคุณธรรมและจริยธรรม โดยการทำงานด้วยความขยันรับผิดชอบ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แบ่งปันสิ่งของกัน ช่วยเหลือกัน ซื่อสัตย์ ตรงต่อเวลา ไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด อนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น โดยการเข้าร่วมกิจกรรมประเพณีท้องถิ่น ที่ชุมชนจัดขึ้น รู้จักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมในกิจกรรม เช่น การปลูกป่าและชักชวนผู้อื่นเข้าร่วมกิจกรรมด้วย สิ่งที่แสดงว่านักเรียนมีความสุข คือ ความพร้อมและกระตือรือร้นในการเรียน โดยที่นักเรียนไม่ขาดเรียน ตั้งใจและปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย en_US
dc.description.abstract The purpose of the research was to study the teaching and learning process of the folk wisdom teachers and the effectiveness of the use of the teaching and learning process of the folk wisdom teachers on students. The samples were 5 primary schools in Bandan Sub District including 5 school administrators , 5 teachers, 5 folk wisdom teachers, and 5 students who studied with the folk wisdom teachers from each school, making the total number of 25 persons. The data was collected by means of in-depth interviews. The results were : 1. The teaching and learning process of the 5 folk wisdom teachers were similar. These included lesson planning with other teachers, curriculum analyzing, contents setting to suit with expertise of each of the folk wisdom teachers, i.e. the courses on future careers. At the pre- teaching stage, the teachers arranged the activities to mark familiar with the students. The teaching methods used were the lecture-demonstration styles and student practiced with the real materials according to the teaching contents, such as planting trees, making dirtycement blocks, making textiles, and making rice milk. The evaluation methods included observing and correcting students work. 2. The effectiveness of the methods on students after they had attended the folk wisdom teachers’ classes were measured through the opinions of the school administrators, teachers, students and the folk wisdom teachers based on the expected characteristics outcomes of students under the educational reform, i.e. being smart, nice, and happy. The results revealed that the evidence that showed that students are smart included their ability of critical thinking, ability of adapting what they had studied to their real lives, ability to cope with the changing world, ability to solve their own problems, and ability to create new knowledge. The evidence that showed that students are nice included their value in ethics and nice conducts, their responsibilities in their work, their kind heartedness, their helpfulness, their awareness of being on-time, their avoidance of narcotics, their awareness of cultural and custom preservation, such as taking parts in the local cultural activities, and their preservation of natural resources and environments, such as planting forests. The evidence that showed that students are happy included their readiness and eagerness to attend their classes which can be observed through their regular class attendance, and their happiness in performing the assigned tasks en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น กับกระบวนการเรียนการสอนในโรงเรียนประถมศึกษา : กรณีศึกษา โรงเรียนในสังกัดการประถมศึกษากิ่งอำเภอบ้านด่าน สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative Folk wisdom teachers with the teaching and learning process in primary schools : case study of primary school in Bandan Sub District under Buriram Provincial Primary Education Office en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics