ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การศึกษาระบบบริหารการจัดการธุรกิจผ้าไหมเพื่อพัฒนาไปสู่ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ : กรณีศึกษากลุ่มสตรีสหกรณ์ผ้าไหมปักธงชัย บ้านทุ่งจาน ตำบลงิ้ว อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา

Show simple item record

dc.contributor.advisor จุมพล วิเชียรศิลป์ en_US
dc.contributor.advisor พรพิมล พงศ์สุวรรณ en_US
dc.contributor.advisor พัชรินทร์ ศิริอำพันธ์กุล en_US
dc.contributor.author ธีรศักดิ์, คูศิริรัตน์
dc.date.accessioned 2017-09-16T04:28:04Z
dc.date.available 2017-09-16T04:28:04Z
dc.date.issued 2547
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1664
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาศักยภาพเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ความต้องการในการใช้ระบบระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนรูปแบบการนำเสนอผ้าไหมของกลุ่มสตรีสหกรณ์ผ้าไหมปักธงชัย บ้านทุ่งจาน ตำบลงิ้ว อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ เกษตรกรผู้ทอผ้าไหมที่เป็นสมาชิก จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยแบบสอบถามความต้องการระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 5 ประเด็นคือ ความต้องการนำเสนอสินค้าความต้องการวิธีการสั่งซื้อสินค้า ความต้องการวิธีการขนส่งสินค้า วิธีการรับชำระเงินและแบบสอบถามรูปแบบของการประกอบการของกลุ่มตามทฤษฏีส่วนประสมการตลาดการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติร้อยละ ค่าฐานนิยม ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ด้านความต้องการเสนอสินค้า พบว่ากลุ่มสตรีสหกรณ์ผ้าไหมปักธงชัยบ้านทุ่งจาน มีความต้องการใช้ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้า ต้องการให้ สหกรณ์เป็นผู้นำเสนอสินค้า กลุ่มลูกค้าที่ต้องการนำเสนอคือผู้ใช้สินค้า กลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ ด้านความต้องการวิธีการส่งสินค้าพบว่า ต้องการให้สั่งซื้อโดยตรงกับกลุ่ม ผลิตตามรูปแบบที่ลูกค้าต้องการ และต้องการหลักประกันในการสั่งสินค้าเป็นสัญญาซื้อขาย ด้านความต้องการวิธีการขนส่งสินค้าพบว่าต้องการให้ผู้ซื้อมารับสินค้าด้วยตนเองและไม่มีการประกันการจัดส่งสินค้า ด้านความต้องการวิธีการชำระเงิน พบว่า ต้องการรับชำระเงินจากลูกค้าโดยตรงและไม่มีนโยบายในการรับชำระเงิน และต้องการให้ใช้ชื่อกลุ่มเป็นผู้รับเงินสำหรับรูปแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสมในการนำเสนอสินค้าออกสู่ตลาดนั้น พบว่ารูปแบบที่เหมาะสม คือ รูปแบบพาณิชย์ระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค (Consumer to Consumer หรือ C-to-C) ซึ่งยังต้องอาศัยหน่วยงานของภาครัฐเข้ามาสนับสนุนจึงจะสามารถนำสินค้าของชุมชนออกสู่ตลาดด้วยระบบพาณิชย์ได้ en_US
dc.description.abstract The main purposes of this research were to examine the development to electronic commerce system, the electronic commerce needs and electronic commerce presentation forms of Pagthongchai Women Skill Craft Cooperative, Barn Tungjarn, Tambol Ngew, Amphur Pagthaongchai, Nakornratchasima Province. What appropriate electronic patterns for them to place their products in the markets were also investigated. The subjects of the study were 120 members of the groups Data was collected through a questionnaire survey with particular emphasizing on 5 aspects of needs : product presentation, ways of product ordering, methods of product transportation, methods of payment, and management patterns of the groups. Data was analyzed by the percentage and mode. The results of the study found that : The groups needed the electronic commerce system for increasing more channels of their products sales. The product promotion focusing on domestic and international customers should be in charge of Cooperative. The group prefered the customer’s direct ordering. They also wanted to produce according to the needs and they needed the guarantee by contract. The groups preferred methotds of conveniently product transportation without guarantee. They needed the customers’direct payment to the group to the group. The finding also revealed that appropriate and possible pattern of the Electronic commerce system was the Customer to Customer or C-to-C, but they still needed the subport from private and public organization as well as education institutions in order to feasibly promote their product with the electronic commerce system. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title การศึกษาระบบบริหารการจัดการธุรกิจผ้าไหมเพื่อพัฒนาไปสู่ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ : กรณีศึกษากลุ่มสตรีสหกรณ์ผ้าไหมปักธงชัย บ้านทุ่งจาน ตำบลงิ้ว อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา en_US
dc.title.alternative A study of thai silk business administration developed to the electronic commerce system : A case study of Pagthongchai Women Silk Craft Cooperative, Barn Tungjarn, Tambol Ngew, Amphur Pagthongchai, Nakornratchasima Province en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics