ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ทัศนะของครูที่มีต่อการพัฒนาบุคลากรในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor ประสิทธิ์ สุวรรณรักษ์ en_US
dc.contributor.advisor มาลิณี จุโฑปะมา en_US
dc.contributor.advisor ละออง ภู่เงิน en_US
dc.contributor.author ฉลาด, โพธิ์ใส
dc.date.accessioned 2017-09-16T04:26:22Z
dc.date.available 2017-09-16T04:26:22Z
dc.date.issued 2545-03-30
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1660
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาทัศนะของครูที่มีต่อการพัฒนาบุคลากร ใน โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ และเพื่อเปรียบเทียบทัศนะของครูที่มีต่อการพัฒนาบุคลากรในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ จำแนกตามเพศ ประสบการณ์การทำงาน และการปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน ในกรอบความคิด 6 ด้านคือ ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านการฝึกอบรม ด้านการศึกษาต่อ ด้านการจัดทำผลงานทางวิชาการ ด้านการนิเทศการสอนและด้านเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่างได้แก่ครูผู้สอน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 830 คน ได้มาจากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ตามตารางของทาโรยามาเน (Taro Yamane) แล้วทำการสุ่มกลุ่มย่อย (Stratified Random Sampling) ตามขนาดโรงเรียนโดยให้กระจายตามสัดส่วนด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ลักษณะ คือ แบบเลือกตอบ (Check List) แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับและแบบปลายเปิด (Open Form) แบบสอบถามมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 2.917 - 9.020 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.9901 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance) และเปรียบเทียบรายคู่ใช้วิธีของ เชฟเฟ่ (Scheffe’ Method) กำหนดค่าสถิติมีระดับนัยสำคัญที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการวิเคราะห์ทัศนะของครูที่มีต่อการพัฒนาบุคลากรในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ โดยภาพรวมทุกด้าน พบว่า มีทัศนะระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีทัศนะระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาต่ำสุด ดังนี้ ด้านเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู ด้านการจัดทำผลงานทางวิชาการ ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านการฝึกอบรม ด้านการนิเทศการสอน และด้านการศึกษาต่อ 2. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบทัศนะของครูที่มีต่อการพัฒนาบุคลากร ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ จำแนกตามเพศ โดยภาพรวมทุกด้าน มีทัศนะแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อในแต่ละด้าน พบว่าด้านการนิเทศการสอน ข้อ 10 การเผยแพร่ผลงานของครูที่ประสบผลสำเร็จมีทัศนะ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนข้ออื่นๆ มีทัศนะแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบทัศนะของครูที่มีต่อการพัฒนาบุคลากร ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ จำแนกตามประสบการณ์ การทำงานโดยภาพรวมทุกด้าน มีทัศนะแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อในแต่ละด้าน พบว่า การส่งเสริมให้บุคลากรมีโอกาสเข้าร่วมประชุมสัมมนาหรืออบรมเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน มีการวางแผนแนวปฏิบัติในการส่งครูเข้าฝึกอบรมอย่างชัดเจน มีนโยบายและการวางแผนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาต่อที่ชัดเจน ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการศึกษาต่อที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน การส่งเสริมให้ครูเข้ารับการศึกษาต่อในสาขาวิชาที่ตรงกับความต้องการของโรงเรียน การนิเทศโดยศึกษานิเทศก์มาเป็น ผู้ปฏิบัติงานในโรงเรียน การให้คุรุสภาเป็นสถาบันวิชาชีพครูมีหน้าที่ส่งเสริมควบคุมสถาบัน วิชาชีพครู จัดสวัสดิการพิทักษ์สิทธิครูและวิชาชีพครู มีทัศนะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการให้ครูที่ได้รับการอบรมทางวิชาการนำความรู้มาเผยแพร่หรือถ่ายทอดให้แก่ครูที่ยังไม่ได้เข้ารับการอบรม การแจ้งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการศึกษาต่ออย่างรวดเร็วและ ทันเหตุการณ์ การมีหลักเกณฑ์ที่มาตรฐานในการพิจารณาครูให้ไปศึกษาต่อ มีทัศนะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนข้ออื่นๆมีทัศนะแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ ทางสถิติ 4. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบทัศนะของครูที่มีต่อการพัฒนาบุคลากร ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ จำแนกตามการปฏิบัติงานใน โรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน โดยภาพรวมทุกด้านมีทัศนะแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีทัศนะแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติเช่นเดียวกัน 5. ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นเพิ่มเติมได้แก่ ควรใช้กระบวนการ เทคนิควิธีที่ หลากหลายตลอดจนเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการพัฒนาบุคลากร และมีการนิเทศติดตามประเมินผล อย่างเป็นระบบมีประสิทธิภาพ มีความสำคัญอันดับ 1 รองลงไปคือ ควรจัดสรรงบประมาณในด้านการพัฒนาบุคลากรและกิจกรรมสนับสนุนอื่นๆให้เพียงพอ ควรมีการพัฒนาครูทั้งระบบและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน ผู้ที่เกี่ยวข้องทางการศึกษาได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสมสอดคล้องกัน ควรจัดส่งข้อมูลข่าวสาร เอกสาร ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์การสื่อสารประชาสัมพันธ์ ให้ทั่วถึงรวดเร็ว ทันเวลาและต่อเนื่อง ควรนำผลการวิจัยการจัดทำผลงานทางวิชาการที่เอื้อต่อการพัฒนาครู มาเผยแพร่อย่างทั่วถึงและนำมาปรับใช้อย่างเหมาะสม ตลอดจนส่งเสริมการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ตามลำดับ en_US
dc.description.abstract The purposes of this study were to study and to compare the opinions of teachers under the Office of Burirum Provincial Primary Education towards personnel development in 6 different aspects: staff development, teacher training, further study promotion, academic work production, teaching supervision and professional standards. The teacher were classified into groups by sexes, working experiences and school sizes. The sample group of 830 teachers was determined by Taro’s Table, and the data groups’ number and member schools were determined by Stratified Random Sampling and Simple Random Sampling techniques. The instrument used comprised of 3 parts: Check List, Rating Scale and Open Form. Its discrimination was at the level of 2.919 – 9020; its reliability was at the level of 0.9901. The statistics for data analysis were frequencies, percentage, mean and standard deviation. The hypotheses were tested by t- test Independent and One – Way Analysis of Variance. The comparison of each pair was made through Scheffe’s method. The significant difference was at the level of .05. The findings were as the followings; 1. The level of teachers’ opinions towards personnel development as a whole was high; it was also high on every individual aspect. The order of priority from the highest to the lowest was professional standards, academic work production, staff development, teacher training, teaching supervision and further study promotion. 2. There was no significant difference between the levels of opinions of teachers of different sexes towards both personnel development as a whole and on each aspect. However, there was significant difference at the level of .05 towards item 10 of the aspect of teaching supervision: the propagation of successful teachers’ work. 3. There was no significant difference among the levels of opinions of teachers with different working experiences towards both personnel development as a whole and each individual aspect. Nevertheless, looking at items under all aspects, the researcher found the significant differences at the level of .05 on these following items: encouraging teachers to join training for job development; having concrete and practical plans for teacher training; having concrete policies and plans about teachers’ further study; having regulations appropriate to present situation for further study; encouraging teachers to further study in line with schools’ needs; having supervisors supervise at schools; making Teacher Council function in controlling and supporting teaching institute, providing teachers’ welfare and protecting teachers’ rights and teaching profession. He also found the significant differences at the level of .01 on the following items: having academically trained teachers widespread and pass on the knowledge gained from training to untrained teachers; passing on educational information quickly and in time; having standard criteria for selecting teachers for further studying. There was no significant difference on other items. 4. There was no significant difference among the levels of opinions of teachers in schools of different sizes towards personnel development neither as a whole nor on each aspect. 5. There were many suggestions given; they are as followings: 1) many new methods and techniques should be used for personnel development, supervision, and evaluation should be systematically and efficiently done, 2) budgets should be allocated for personnel development and other supporting activities, 3) all teachers and personnel of local organizations and communities and other educational stake-holders should be systematically developed in the same direction, 4) information and materials should be sent to all teachers and communication, and pubic relation should be done quickly and continually, 5) researches on academic work useful for teacher development should publicized, widespread and appropriately for common use of all, and building up new bodies of knowledge should be promoted. It should be noted that the suggestions items 1 was considered the most important; items 2 – 5 were less important than the first and were put in the priority of importance from the most to the least en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title ทัศนะของครูที่มีต่อการพัฒนาบุคลากรในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative Opinions of teachers in schools under the Office of Buriram Provincial Primary Education towards personnel development en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics