ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การศึกษาพฤติกรรมการพบกลุ่มของครูประจำศูนย์การเรียนชุมชนการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญวิธีเรียนทางไกลระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author ประเสริฐ, บุญเรือง
dc.date.accessioned 2017-09-16T04:24:32Z
dc.date.available 2017-09-16T04:24:32Z
dc.date.issued 2545-03-30
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1655
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ศึกษาพฤติกรรมการพบกลุ่มของครูประจำศูนย์การเรียนชุมชน การศึกษานอกโรงเรียน สายสามัญ วิธีเรียนทางไกล ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดบุรีรัมย์ ใน 5 ด้าน คือ ด้านคุณลักษณะส่วนตัว ด้านการเตรียมการสอน ด้านแรงจูงใจและการเสริมแรงทางการเรียน ด้านการควบคุมวิจัยและการสร้างบรรยากาศ และด้านการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน และเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญ วิธีเรียนทางไกล ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดบุรีรัมย์ จำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์การสอนและการอบรมหลักสูตรครูประจำศูนย์การเรียนชุมชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูประจำศูนย์การเรียนชุมชนที่ปฏิบัติหน้าที่พบกลุ่มนักศึกษา สายสามัญวิธีเรียนทางไกล ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ภาคเรียนที่ 1 / 2544 ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage sampling) จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสังเกตพฤติกรรมการพบกลุ่ม (Sign system) ซึ่งแบ่งเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 เป็นสถานภาพของผู้ใช้ได้รับการสังเกตในด้าน ระดับการศึกษา ประสบการณ์การสอน และการผ่านการอบรม หลักสูตรครูประจำศูนย์การเรียนชุมชน ตอนที่ 2 เป็นแบบสังเกตพฤติกรรมการพบกลุ่มด้านต่างๆ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้วิธีของ Mann-whitney U Test ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรม การพบกลุ่มของครูประจำศูนย์การเรียนชุมชน โดยรวม มีค่าร้อยละ 93.63 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า พฤติกรรมการพบกลุ่ม ด้านคุณลักษณะส่วนตัว มากที่สุด ร้อยละ 97.50 รองลงมาคือ ด้านการควบคุมวินัยและการสร้างบรรยากาศ ร้อยละ 96.68 ด้านการปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน ร้อยละ 96.34 ด้านแรงจูงใจและการเสริมแรงทางการเรียน ร้อยละ 92.98 และด้านการเตรียมการสอน ร้อยละ 89.67 ตามลำดับ 2. พฤติกรรม การพบกลุ่มของครูประจำศูนย์การเรียนชุมชน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า 2.1 พฤติกรรม การพบกลุ่มของครูประจำศูนย์การเรียนชุมชน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่ามีค่าร้อยละ 97.50 โดยใช้พฤติกรรมการพบกลุ่ม มากที่สุดคือ ภาษาพูดเหมาะสมกับระดับประสบการณ์ ของผู้เรียนร้อยละ 100 รองลงมาคือ ครูแต่งกายสุภาพเรียบร้อยเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น ร้อยละ 99.20 ครูมีบุคลิกภาพด้านการสอนเหมาะสมกับการสอนนักศึกษาสายสามัญ วิธีเรียน ทางไกลร้อยละ 96.70 และลำดับสุดท้าย คือ ครูสนใจนำข่าวสารข้อมูลใหม่ ๆ มาให้ผู้เรียนได้ศึกษาหาความรู้ ร้อยละ 95.40 2.2 พฤติกรรมการพบกลุ่มของครูประจำศูนย์การเรียนชุมชน ด้านการเตรียมการสอนมีค่าร้อยละ 89.67 โดยใช้พฤติกรรม การพบกลุ่ม มากที่สุดคือ ครูเลือกใช้วิธีการสอนเหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอน ร้อยละ 98.30 รองลงมาคือครูเลือกใช้กิจกรรมการสอนเหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอนร้อยละ 95.80 ครูทบทวนเนื้อหาที่ผ่านไป ร้อยละ 93.80 และลำดับสุดท้าย คือ ครูใช้วิธีการสอนแบบสืบสวนสอบสวน ร้อยละ 67.10 2.3 พฤติกรรมการพบกลุ่มของครูประจำศูนย์การเรียนชุมชน ด้านแรงจูงใจและการเสริมแรงทางการเรียนมีค่าร้อยละ 92.98 โดยใช้พฤติกรรมการพบกลุ่ม มากที่สุด คือ รับฟังคำตอบและความคิดเห็นของผู้เรียน ด้วยความสนใจ ครูพูดชักจูงให้ผู้เรียนนำประสบการณ์ มาแสดงในชั้น ร้อยละ 95.00 รองลงมาคือ ครูชมเชย สนับสนุนให้ผู้เรียนแสดงออกทางความคิดและกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการสอนร้อยละ 94.6 ครูนำผลงานทางความคิดเห็นของผู้เรียน มาสัมพันธ์กับการเรียนการสอนในชั้นเรียน ครูใช้เทคนิคการจูงใจให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการอภิปรายร้อยละ 92.9 และลำดับสุดท้าย คือ ครูใช้มุขตลกหรือกลวิธีเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้เรียน ร้อยละ 88.80 2.4 พฤติกรรมการพบกลุ่มของครูประจำศูนย์การเรียนชุมชน ด้านการควบคุมวินัยและการสร้างบรรยากาศ มีค่าร้อยละ 96.68 โดยใช้พฤติกรรมการพบกลุ่ม มากที่สุดคือ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงการคัดค้าน เพื่อให้ข้อคิดเห็นในการจัดสภาพการเรียนการสอน ครูจัดชั้นเรียนเหมาะสมกับสภาพการจัดการเรียนการสอน ร้อยละ 98.80 รองลงมาคือ ครูให้การแนะนำ อบรม หรือตักเตือนให้ผู้เรียน มีความสนใจในการเรียน ร้อยละ 96.30 ครูตักเตือนนักเรียน ได้เข้าใจบทบาทและหน้าที่ของตนเองอย่างถูกต้อง ร้อยละ 95.40 และลำดับสุดท้าย คือ ครูใช้เหตุผลชักจูงใจข้อเสนอแนะ เพื่อให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติตามร้อยละ 95.00 2.5 พฤติกรรมการพบกลุ่มของครูประจำศูนย์การเรียนชุมชน ด้านการปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียน มีค่าร้อยละ 96.34 โดยใช้พฤติกรรมการพบกลุ่มมากที่สุด คือ ให้กำลังใจผู้เรียน ได้มีกำลังใจในการเรียน ครูให้ข้อเสนอแนะการกทำงานของผู้เรียน ร้อยละ 97.90 รองลงมา คือ ครูซักถามปัญหาให้ผู้เรียนตอบโดยใช้ความคิดที่มีเหตุผล ร้อยละ 97.50 ครูทักทายสร้างความคุ้นเคยกับผู้เรียน ครูเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นข้อซักถามข้อสงสัย ร้อยละ 96.70 และลำดับสุดท้าย คือ ครูให้ผู้เรียนร่วมกันจัดกิจกรรมขึ้นมาโดยครูคอยให้คำแนะนำ ร้อยละ 95.80 3. ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมการพบกลุ่มของครูประจำศูนย์การเรียนชุมชน มีดังนี้ 3.1 ครูประจำศูนย์การเรียนชุมชนที่มีการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี กับมีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีพฤติกรรมการพบกลุ่มโดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ครูประจำศูนย์การเรียนชุมชนสองกลุ่ม มีพฤติกรรมการพบกลุ่ม ด้านการเตรียมการสอนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 ส่วนด้านคุณลักษณะส่วนตัว ด้านแรงจูงใจและการเสริมแรงทางการเรียน ด้านการควบคุมวินัยและการสร้างบรรยากาศ และด้านปฏิสัมพันธ์ ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ครูทั้งสองกลุ่มมีพฤติกรรมการพบกลุ่มไม่แตกต่างกัน 3.2 ครูประจำศูนย์การเรียนชุมชนที่มีประสบการณ์การสอนต่ำกว่า 3 ปี กับประสบการณ์การสอน 3 ปีขึ้นไป มีพฤติกรรมการพบกลุ่มโดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ครูประจำศูนย์การเรียนชุมชนทั้งสองกลุ่ม มีพฤติกรรมการพบกลุ่ม ด้านคุณลักษณะส่วนตัว ด้านการเตรียมตัวสอน ด้านแรงจูงใจ และการเสริมแรงทางการเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วน ด้านการควบคุมวินัยและการสร้างบรรยากาศ และด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนครูทั้งสองกลุ่มมีพฤติกรรมการพบกลุ่มไม่แตกต่างกัน 3.3 ครูประจำศูนย์การเรียนชุมชน ที่ผ่านการอบรมกับที่ไม่ผ่านการอบรมหลักสูตรครูประจำศูนย์การเรียนชุมชน มีพฤติกรรมการพบกลุ่มโดยรวมไม่แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ครูทั้งสองกลุ่มมีพฤติกรรมการพบกลุ่มไม่แตกต่างกันทั้ง 5 ด้าน en_US
dc.description.abstract The purpose of this study was to examine group meeting behaviours of community learining center teachers in non-formal general education, The study investigated by distance learning at the lower secondary education level in Buriram Province in these adpects:personal characteristics, teaching preparation, learning motivtion and reinforcement, discipline control and climate creation, and intetactions between teachers and students, and to compare geoup meeting behaviors of community learning center teachers in non-formal general education by distance learning at the lower secondary education level in Buriram province, as classified according to the educational attainment, teaching experience, and training experience in the program for the community learning center teachers. The sample for this study consisted of 60 community learning center teachers performing their tasks in meeting with groups of general education disrance learning students at the lower secondary education level at Buriram provicial Non-formal Education Center in the first semester of the academic year 2001. This number was obtained through the multi-stage random sampling technique. The instrument used for collecting data was a group meeting behavior observation form (sing system).This form was divided into two parts. Part 1 was the observer's starus in the aspects of level of education, teaching experience, and training experience in the program for the community learining center teacher. Part 2 was the group meeting behavior observation form in different aspects. The statistics used for analyzing data were percentages and mean, and for resting, the hyportheses Mann-Whitney U test was employed. The study findings were as follows. 1. Group-meeting behaviors of community learning center teachers as a whole were at 93.63% When each aspect was considered, the following data was found. The group meeting behaviors in the aspersonal characheristics were used the most, at 97.50%. Next highest figure was in the aspect of discipline control and climate creations, at 96.68%; interactions between the teacher and learners, at 96.34%; learning motivation and reinforcement, at 92.98%; and teaching proparation, at 89.67% respectively 2. For group meeting behaviors of community learning center teachers when each aspect was considered, the following data was found: 2.1 Group meeting behaviors of community learning center teachers in the aspect of personal characteristics were at 97.50%. That was, the group meeting behavior used most was "The verbal language is appropriate for the level of learners'experiences", at 100 percent. Nex was: "The teacher has an appropriate presonality for local conditions", at 99.20%; "The teacher has an appropriate personality for teaching his/her general esucation distance learning students", at 96.70%; and the last otder was 'The teacher is interested in bringing new information to learners to seek knowledge" at 95.40% .2 Group meeting behaviors of community learning center teachers in the aspect of teaching preparation were at 89.67%. That was, the group meeting bekhaviors used mest were "The teacher swlects telects teaching methods appropriate for learning/teaching comditions", at 98.30%. Nex highest was: "The teacher selects teaching activities appropriate for learning/teaching conditions", at 95.80%; "The teacher reviews previous contents" at 93.80%; and the last order "The teacher uses the inquiry method of teaching at 67.10%. 2.3 Group meeting behaviors of community learning center teachers in the aspect of learning motivation and reinforcement were at 92.98%. That was, the group meeting behavior used most was " The teacher listens to learners'answers and options with interest, and the teacher persuades learners to show their experiences in the classroom", at 95.00%. Nex highest was: "The teacher admires and encourages learners ro express of ideas and participate in different acrivities concerning teaching", at 94.60%; "The teachet rakes students opinion assignments to associate with learning/teaching in the classroom, and the teacher uses techniques to motivate leachers uses gags or strategies to keep the attention of learners at 88.80%.2.4 Group meeting behaviors of community learning center teacher in the aspect of doscipline control and climate creation were at 96.68%. That was, the group meeting behavior used most was "The was, the group meeting behavior used most was "The reacher provides opportunities for learners to express their objections in order to present options about arranging the learning/teaching conditions, and the teacher organizes the classroom appropriately for learning/teaching conditions", 98.80%. Nex was: "The teacher advises, teains or warners learners to pay attention while studying", at 96.30%; "The teacher warns learners to understand their own roles and functions correctly", at 95.40%; and the last order was "The teacher uses motivating reasons and suggestions for learners to follow" at 95.00%.2.5 Group meeting behaviors of community learning center teachers in the aspect of interactions between the teacher and learners were at 96.34%. That was, the group of interactions behaviors used most was "The teacher encourages learners to have willpower to study, and teacher gives suggestions to leatners about how to do their work", at 97.90%. Nex highest form was: "The teacher asks questions and has leaerners answer by using reasonable thinking", at 97.50%; "The teacher greets and creates familiarity with learners, and the teacher provides opprtunities for learners to express their opinions and to ask questions", at 96.70%; and the lowest was "The teacher has learners cooperatively organize activities, with the teacher being available to give asvice" at 95.80%. 3. The findings of comparing behaviors of community learning center teachers were as follows: 3.1 Community learning center teacher with their education attainment at lower level than a bachelor's degree and those with a bachelor's degree had different group meeting behaviors as a whole at the .05 level of statistical significance. When each aspect was considered, the following was found. The two groups of community learning center teachers and different group meeting behaviors in the aspect of reaching preparation at the .05 level of statistical significance. However, in the aspects of personal characteristics, learning motivation and reinforcement, discipline control and climate creation, and intheactions between the teacher and learners, the two groups did not have different group meeting behaviors. 3.2 Commuity learning center teachers with less than three years of teaching experience had different group meeting behaviors as a whole at the .05 level of statistical significance. When each aspect was considered, the following were found. The two group of community learning center teachers had different group-meeting behaviors in the aspects of personal characteristics, teaching preparation, and learning motivation and reinforcement at the .05 level of statistical significance. Whereas, in the aspects of discipline control and climate creations between the teacher and learmers, the two groups of teachers did not have different group meeting behaviors. 3.3 Community learning center teachers with training experience, and those without training experience in the program for the community learning center teacher did not have different group meeting behaviors as a whole. When each aspect was considered, it was dound that the two groups of teachers did not have different group meeting behaviors in all aspects. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title การศึกษาพฤติกรรมการพบกลุ่มของครูประจำศูนย์การเรียนชุมชนการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญวิธีเรียนทางไกลระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative A Study of group meeting behaviors of community learning center teachers in non-formal general education by distance learning at the lower secondary education lever in Buriram Province en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.name การบริหารการศึกษา
dc.degree.name ปริญญาโท


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics