ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1

Show simple item record

dc.contributor.author พนัส, ด้วงเอก
dc.date.accessioned 2017-09-16T04:23:03Z
dc.date.available 2017-09-16T04:23:03Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1650
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการปฏิบัติการบริหารงานวิชาการ ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 ตามความคิดเห็นของครูวิชาการใน 3 ด้าน คือ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การเรียนการสอน การวัดผลประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติการบริหารงานวิชาการ ตามความคิดเห็นของครูวิชาการ โดยจำแนกตามเพศ ประสบการณ์ และขนาดสถานศึกษา เพื่อรวบรวมปัญหาข้อเสนอแนะเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นครูวิชาการ จำนวน 136 คน ซึ่งได้มาโดยตารางกำหนดขนาด กลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และ การทดสอบรายคู่ตามวิธีของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยสำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้บริหารสถานศึกษา ปฏิบัติการบริหารงานวิชาการ ตามความคิดเห็นของครูวิชาการโดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก ยกเว้นรายข้อ ด้านการเรียนการสอน เรื่องการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย อยู่ในระดับปานกลาง 2. ผู้บริหารสถานศึกษา ปฏิบัติงานบริหารงานวิชาการตามความคิดเห็นของครูวิชาการ ที่มีเพศต่างกัน โดยรวม รายด้าน และรายข้อส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก และส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นรายข้อในเรื่อง การจัดทำแผนการนิเทศการใช้หลักสูตร การส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย การส่งเสริมให้มีการวัดประเมินผลตามสภาพจริง แตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และการส่งเสริมผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายประเมินการใช้หลักสูตรเป็นระยะ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผู้บริหารสถานศึกษา ปฏิบัติการบริหารงานวิชาการตามความคิดเห็นของครูวิชาการที่มีประสบการณ์ต่างกัน โดยรวม และรายข้อส่วนใหญ่ อยู่ในระดับมาก และส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นรายข้อในเรื่อง การประสาน ส่งเสริม สนับสนุนการใช้ และการบริหารหลักสูตร การให้ครูวิเคราะห์เนื้อหาสาระ หลักสูตร ก่อนจัดการเรียนการสอน และการเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการวัด และประเมินผล แตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และการวิเคราะห์ความต้องการความสนใจของผู้เรียน และผู้ปกครอง แตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ผู้บริหารสถานศึกษา ปฏิบัติการบริหารงานวิชาการตามความคิดเห็นของครูวิชาการที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาขนาดต่างกันโดยรวม รายด้าน และรายข้อ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก และส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นรายข้อในเรื่อง การมีคำสั่งแต่คณะดำเนินงานการพัฒนาหลักสูตร การวิเคราะห์ความต้องการ ความสนใจของผู้เรียน ชุมชน และผู้ปกครอง การเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการวัดและประเมินผล แตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ การให้คำแนะนำเกี่ยวกับแนวปฏิบัติการเทียบโอนผลการเรียน แตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. ครูวิชาการ เห็นว่า การบริหารงานวิชาการ มีปัญหาสำคัญ คือ ครูมีภาระงานนอกเหนือจากการสอนมาก ครูสอนไม่ตรงกับวิชาเอก การจัดพิมพ์หนังสือเรียนไม่ทันการส่งล่าช้า และการได้รับจัดสรรงบประมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการ โดยได้เสนอแนะว่า ผู้บริหารควรจัดครูเข้าชั้นเรียนตามความรู้ความสามารถของครูผู้สอน ควรส่งเสริมให้ครูจัดทำงานวิจัยและควรส่งเสริมการจัดทำสื่อเทคโนโลยีการสอน en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics