ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ผลการดำเนินงานกระบวนการเรียนรู้เรื่องอนุรักษ์พลังงานและ สิ่งแวดล้อมของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการรุ่งอรุ่น สังกัด สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor จุมพล วิเชียรศิลป์ en_US
dc.contributor.advisor พัชรินทร์ ศิริอำพันธ์กุล en_US
dc.contributor.advisor อนันต์ ลิขิตประเสริฐ en_US
dc.contributor.author นิมนางค์, คลังกูล
dc.date.accessioned 2017-09-16T04:21:56Z
dc.date.available 2017-09-16T04:21:56Z
dc.date.issued 2545-10-19
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1645
dc.description.abstract การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้เรื่องอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการรุ่งอรุณ และเปรียบเทียบผลการเรียนรู้เรื่องอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมระหว่างโรงเรียนต้นแบบ (โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 26) และโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการรุ่งอรุณ (โรงเรียนชุมชนบ้านโคกว่าน) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ โรงเรียนต้นแบบและโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการรุ่งอรุณ นักเรียน จำนวน 69 คน ครู จำนวน 40 คนได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ส่วนสมาชิกชุมชน จำนวน 154 คน ได้จากใช้เกณฑ์ประชากรร้อยละ 20 รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 263 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตรวัดขั้นบันได มาตรฐาน 5 ระดับ มีความเชื่อมั่น .9674 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าฐานนิยม ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ค่าเฉลี่ยความแตกต่างด้วยค่า t วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวด้วยค่า F และทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยครั้งละคู่ โดยใช้วิธี Least Significant Difference (LSD) ผลการศึกษาพบว่า 1.) กระบวนการเรียนรู้เรื่องการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการรุ่งอรุณตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และสามชิกชุมชนโดยรวมมีผลการปฏิบัติ ดังนี้ 1.1) กระบวนการเรียนรู้เรื่องการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม พบว่า องค์ประกอบที่ 1 กระบวนการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม และองค์ประกอบที่ 3 การประเมินวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์แก่ โรงเรียนต้นแบบและโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการรุ่งอรุณ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เกณฑ์ปฏิบัติอยู่ในระดับดีเช่นเดียวกันสำหรับองค์ประกอบที่ 2 ยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบโรงเรียนต้นแบบมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด เกณฑ์ปฏิบัติอยู่ระดับดีเยี่ยม ส่วนโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการรุ่งอรุณมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เกณฑ์ปฏิบัติอยู่ระดับดี 1.2) ประสิทธิผลการบวนการเรียนรู้เรื่องอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม พบว่าองค์ประกอบที่ 1 กระบวนการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วม และองค์ประกอบที่ 2 ประสิทธิผลการพัฒนาโรงเรียนทั้งสอง ระบบแก่ โรงเรียนต้นแบบและโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการรุ่งอรุณ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เกณฑ์ปฏิบัติอยู่ในระดับดีเช่นเดียวกัน 1.3) ผลการดำเนินงานการเรียนรู้เรื่องอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม พบว่าองค์ประกอบที่ 1 แนวคิดเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และองค์ประกอบที่ 3 พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากกระบวนการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โรงเรียนต้นแบบและโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการรุ่งอรุณอรุณ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เกณฑ์ปฏิบัติอยู่ในระดับดีเช่นเดียวกัน สำหรับองค์ประกอบที่ 2 ค่านิยมเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โรงเรียนต้นแบบมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด เกณฑ์ปฏิบัติอยู่ระดับดีเยี่ยม ส่วนโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการรุ่งอรุณมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เกณฑ์ปฏิบัติอยู่ระดับดี 1.4) สัมฤทธิ์ผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม พบว่าองค์ประกอบที่ 1 ความสำเร็จในการดำเนินงานเรียนรู้เรื่องอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และองค์ประกอบที่ 2 ความยั่งยืนในการดำเนินงานเรียนรู้เรื่องอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โรงเรียนต้นแบบและโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการรุ่งอรุณอรุณ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เกณฑ์ปฏิบัติอยู่ในระดับดีเช่นเดียวกัน ส่วนองค์ประกอบที่ 3 การบูรณาการผลการดำเนินงานเรียนรู้เรื่องอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และองค์ประกอบที่ 4 การปฏิบัติจริงเกี่ยวกับการดำเนินงานเรียนรู้เรื่องอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โรงเรียนต้นแบบและโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการรุ่งอรุณ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด เกณฑ์ปฏิบัติอยู่ในระดับดีเยี่ยม 1.5) สัมฤทธิผลโครงการรุ่งอรุนเกี่ยวกับพฤติกรรมอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมโรงเรียนต้นแบบและโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการรุ่งอรุณ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด เกณฑ์ปฏิบัติอยู่ในระดับดีเยี่ยมเช่นเดียวกัน 2.) การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้เรื่องอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนต้นแบบและโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการรุ่งอรุณ ตามความคิดเห็นโดยรวมของนักเรียน ครู และสมาชิกชุมชน มีรายละเอียดดังนี้ ประสิทธิผลกระบวนการเรียนรู้เรื่องอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม สัมฤทธิ์ผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และสัมฤทธิผลโครงการโครงการรุ่งอรุนเกี่ยวกับพฤติกรรมอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม พบว่าโรงเรียนต้นแบบมีผลการดำเนินงานกระบวนการเรียนรู้เรื่องอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม สูงกว่าโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการรุ่งอรุณ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน en_US
dc.description.abstract The purposes of this research was to study learning process regarding energy and environmental conservation of schools participating Dawn project, and to compare the result of energy and environmental conservation learning of a model school (Thairathwittaya 26) and a school participating Dawn Project (Khokwan Communities School). The samples of this study were the model school and the school participating the Dawn Project, 69 students, and 40 teachers sampled by purposive sampling. The other samples were 154 community members recruited by the criterion 20 percent of the total number of members. This made the total of 263 samples. The instrument of this research was a questionnaire with 5 standard ladder level gauge. This questionnaire obtained .9674 reliability value. The statistical values used to analyze the collected data were percentage, means, modes, and standard deviation. The t –test was used to test the difference of the means, while the F – test was used to analyze the one way of variance. Finally, the Least Significance Difference (LSD) was used to test the difference of the pair means. The researcher found that : 1. The general opinions of students, teachers, and community members towards the energy and environmental conservation learning process of the schools participating the Dawn Project were below. 1.1 Concerning the energy and environmental conservation learning process, the author found that the samples (the model school and the school participating the Dawn Project) conducted the 1 st element, participating development process, and the 3rd element, the evaluation of product life circle, at Much Level, For the 2 nd element, the whole system of school development strategies, the model school has administered at the Most Level. The level of administering was at Excellent Level, while the school participating the Dawn Project administered this element at the Most Level and the level of administering was at Good level. 1.2 Concerning the effective result of energy and environmental conservation learning process, the researcher found that the samples the 1 st element, participating working process. And 2 nd element, the effective result of the whole system of school development at Most Level the level of conducting was at Good level too. 1.3 Concerning the effective of learning process conduct regarding energy and environmental conservation, the researcher found that the samples the 1 st element, concept concerning energy and environmental conservation, and the 3 rd element, behaviors generated from energy and environmental conservation process at Most Level., and the level of managing was at Good level too. For the 2 nd element, attitude towards energy and environmental conservation, the model school conducted at Most Level and the level of practice was at Excellent Level while the school participating Dawn Project practiced at Most Level and the level of practice was at Good level. 1.4 Concerning the achievement of adjusting behaviors towards energy and environmental conservation, the author found that the samples gained the 1 st element, success in learning conduct regarding energy and environmental conservation, and the 2nd element, the permanence of learning conduct regarding energy and element at Most Level and obtained Good Level for administering. For the 3rd element, integrating the learning conduct regarding energy and environmental conservation, and the 4 th element, the real practice concerning energy and environmental conservation learning conduct, the samples practiced at Most Level and the level of practice was at Excellent Level. 1.5 Concerning the achievement of the Dawn Project regarding energy and environmental conservation behaviors, the researcher found that the 1st element, Dawn Project administration. And the 2nd element, behaviors concerning energy and environmental conservation, the samples conducted at Most Level and the level of practice was at Excellent Level. 2. The comparison of samples, general viewpoints towards the learning result regarding energy and environmental conservation of the model school and the school participating Dawn Project revealed the following details. Concerning the achievement of energy and environmental conservation learning process, learning result regarding energy and environmental conservation achievement of energy and environmental conservation behavior adjustment, and Dawn Project achievement regarding energy and environmental conservation behaviors, the researcher found that the model school obtained higher result regarding energy and environmental conservation learning process conduct than the school participating the Dawn Project as predicted in the assumption. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title ผลการดำเนินงานกระบวนการเรียนรู้เรื่องอนุรักษ์พลังงานและ สิ่งแวดล้อมของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการรุ่งอรุ่น สังกัด สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative Effects of learning process conduct regarding energy and environmental conservation on admited schools utilizing the dawn project under the Buriram Provincial Primary Education Office en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics