ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษา

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธีระ รุญเจริญ en_US
dc.contributor.advisor สุนทร โครตบรรเทา en_US
dc.contributor.advisor ปรานีพัน จารุวัฒนพันธ์ en_US
dc.contributor.advisor จรัส สว่างทัพ en_US
dc.contributor.author นัฏฐกร, แก่นดี
dc.date.accessioned 2017-09-16T04:19:21Z
dc.date.available 2017-09-16T04:19:21Z
dc.date.issued 2556
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1638
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1)ศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษา 2)ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการบริหารการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษา และ 3)วิเคราะห์และตรวจสอบความสอดคล้องรูปแบบความสัมพันธ์ โครงสร้างเชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีต่อการเป็นส่วนร่วมในการบริหารการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ คณะกรรมสถานศึกษา จำนวน 306 คนจากโรงเรียนสังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 4 ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามตามแนวคิดทฤษฎีที่ผู้วิจัยสร้างขั้นเองมีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.996 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีต่อการเป็นส่วนร่วมในการบริหารการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาด้วยการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบจำลองตามแนวคิดทฤษฎีที่ผู้วิจัยสร้างขั้นกับข้อมูลประจักษ์ และความสอดคล้องของสมมติฐานการวิจัย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษา ซึ่ง ได้แก่ ปัจจัยที่เกี่ยวกับด้านคุณลักษณะของคณะกรรมการสถานศึกษา ด้านคุณลักษณะและพฤติกรรมของผู้บริหาร ดานพฤติกรรมของครู และด้านการปฏิบัติงานของสถานศึกษา ทั้งโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก2.ระดับการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในการบริหารสถานศึกษาทั้งโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3.รูปแบบความสัมพันธ์ โครงสร้างเชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีต่อการเป็นส่วนร่วมในการบริหารการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษามีความสอดคล้องของกับข้อมูลเชิงประจักษ์ อยู่ในเกณฑ์ ดี มีค่า Chi-square เท่ากับ141.89 , df เท่ากับ 119 ค่า P เท่ากับ .08 ค่า RMSEA เท่ากับ .03 ค่า GFI เท่ากับ .95 ค่า AGFI เท่ากับ .93 และค่า CFI เท่ากับ 1.00 โดยมีอิทธิพลโดยรวม เท่ากับ .80 ประกอบด้วยปัจจัยคุณลักษณะของคณะกรรมการสถานศึกษามีอิทธิพลเท่ากับ .78ปัจจัยด้านด้านคุณลักษณะและพฤติกรรมของผู้บริหารมีอิทธิพล เท่ากับ .25 ปัจจัยด้านพฤติกรรมของครูมีอิทธิพล เท่ากับ .23 อย่างมีสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนปัจจัยด้านผลการปฏิบัติของสถานศึกษาเท่ากับ.07 อย่างมีสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยที่มีอิทธิพล ทางตรง มี 3 ปัจจัย คือ 1)ปัจจัยด้านคุณลักษณะของคณะกรรมการสถานศึกษามีอิทธิพลเท่ากับ .58 2)ปัจจัยด้านด้านคุณลักษณะและพฤติกรรมของผู้บริหารมีอิทธิพล เท่ากับ .25 และ 3)ปัจจัยด้านพฤติกรรมของครูมีอิทธิพล เท่ากับ .23 ตามลำดับ นอกจากนี้ปัจจัยด้านคุณลักษณะของคณะกรรมการสถานศึกษา มีอิทธิพลทางอ้อมต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารการศึกษา เท่ากับ .20 en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษา en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics