ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

สภาพการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4

Show simple item record

dc.contributor.advisor โกวิท เชื่อมกลาง en_US
dc.contributor.advisor มาลิณี จุโฑปะมา en_US
dc.contributor.advisor พรพิมล พงศ์สุวรรณ en_US
dc.contributor.author ประกอบ, โพธิ์ราม
dc.date.accessioned 2017-09-16T04:16:13Z
dc.date.available 2017-09-16T04:16:13Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1625
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน จำแนกตามตำแหน่ง วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากการคำนวณสูตรยามาเน่ แล้วจึงแบ่งการสุ่มตัวอย่างตามระดับชั้น จากนั้นใช้วิธีการสุ่มแบบง่ายได้กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 345 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.9546 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน และทดสอบสมมติบาน โดยใช้ One Sample t-test และ Independent Samples t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้บริหารและครูผู้สอน มีความคิดเห็นต่อสภาพการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีสภาพการปฎิบัติอยู่ในระดับมาก โดยมีสภาพการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในแต่ละด้านเรียงจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการแปรรูปองค์กร (ค่าเฉลี่ย = 3.17) ด้านพลวัตการเรียนรู้การปฎิบัติงานและด้านการให้อำนาจ (ค่าเฉลี่ย = 3.04) ด้านการจัดการความรู้ (ค่าเฉลี่ย = 3.03) และด้านการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ (ค่าเฉลี่ย = 2.92) ตามลำดับ 2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 ที่มีต่อสภาพการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า แตกต่างกัน 4 ด้าน คือ ด้านพลวัตการเรียนรู้การปฎิบัติงาน ด้านการแปรรูปองค์กร ด้านการให้อำนาจและด้านการจัดการความรู้ โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ไม่แตกต่างกัน 3. เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 ที่มีต่อสภาพการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้จำแนกตามวุฒิการศึกษา โดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีความแตกต่างกันระดับ .05 คือ ด้านการให้อำนาจ ส่วนด้านประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 4.ข้อเสนอแนะของผู้บริหารและครูเกี่ยวสภาพการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 ในด้านการจัดการความรู้ และด้านพลวัตความรู้ ปัญหา คือ การจัดอบรมให้บุคลากรในสถานศึกษาให้ความรู้ความเข้าใจในการจัดการความรู้และการส่งเสริมให้บุคลากรในสถานศึกษานำความรู้ใหม่ๆ มาใช้จัดการเรียนการสอน ควรจัดกระบวนการในการจัดการความรู้ให้เป็นระบบอย่างต่อเนื่องเพื่อนำความรู้และนวัตกรรมใหม่มาใช้ในสถานศึกษาหรือใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title สภาพการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 en_US
dc.title.alternative The Status as Learning Organization of Schools Under Educational Service Area Office 4 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics