ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกกลางคันของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอนางรอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32

Show simple item record

dc.contributor.advisor ประสิทธิ์ สุวรรณรักษ์ en_US
dc.contributor.advisor มาลิณี จุโฑปะมา en_US
dc.contributor.advisor ศิราณี จุโฑปะมา en_US
dc.contributor.author ภวัต, สังขรักษ์
dc.date.accessioned 2017-09-16T04:12:15Z
dc.date.available 2017-09-16T04:12:15Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1611
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อนศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารครูที่ปรึกษา และครูแนะแนวที่มีต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกกลางคันของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอนางรอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 จำนวนตามสถานภาพตำแหน่งและขนาดของโรงเรียน จำนวนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 221 คน ใช้ประชากรเป็นกลุ่มตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามจำนวน 3 ตอน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .9650 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบสมมติฐาน โดย t-test independent และค่าทดสอบ f-test เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงทำการทดสอบรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ กำหนดค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้บริหาร ครูที่ปรึกษา และครูแนะแนว โรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอนางรอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกาามัธยมศึกษา เขต 32 มีความคิดเห็นต่อปัจจุยโดยรวมที่ส่งผลต่อการออกกลางคันของนักเรียน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านครอบครัว ด้านสภาพแวดล้อมในชุมชุม และด้านสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน อยู่ในระดับมาก ส่วนปัจจัยด้านสื่อเทคโนโลยี อยู่ในระดับกลาง 2. ผู้บริหาร ครูที่ปรึกษา และครูแนะแนว โรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอนางรอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 ที่มีสถานภาพตำแหน่งและที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกกลางคันของนักเรียนโดยภาพรวม และรายด้านไม่แตกต่างกัน 3. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้บริหาร ครูที่ปรึกษา และครูแนะแนวที่มีต่อการออกกลางคันของนักเรียนมัธยมศึกษา อำเภอนางรอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยทศึกษา เขต 32 ในแต่ละด้าน มีดังนี้ ด้านครอบครัว พ่อ แม่ ผู้ปกครองควรให้ความสนใจ ดูแล เอาใจใส่ และติดตามพฤติกรรมของนักเรียนอย่างใกล้ชิด ด้านสภาพแวดล้อมในชุมชน ผู้นำชุมชนและบุคลากรทุกภาคส่วนตระหนักและให้ความสำคัญกับนักเรียนที่จะเป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคต โดยการร่วมคิด ร่วมสร้างชุมชนที่มีคุณธรรมจริยธรรมให้ปลอดอบายมุข ด้านสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคน ควรให้ความสำคัญกับนักเรียนทุกคน ดูแล แก้ไขนักเรียนกลุ่มเสี่ยง ป้องกันกลุ่มปกติ และส่งเสริมสนับสนุนกลุ่มที่มีความสามารถพิเศษ โดยดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง และด้านสื่อเทคโนโลยีควรมีการบังคับใช้กฎหมายต่อร้้้านเกมออนไลน์ที่กระทำผิดอย่างจริงจัง และรัฐควรจัดผังรายการโทรทัศน์ที่เอื้อต่อพัฒนาการทางสมองและการเรียนรู้ของนักเรียนให้มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title ปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกกลางคันของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอนางรอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 en_US
dc.title.alternative CONCERNING FACTORS AFFECTING STUDENTS'DROP OUT, NANGRONG DISTRICT SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 32 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics