ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

สภาพการบริหารศูนย์เด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศิราณีจุโฑปะมา en_US
dc.contributor.advisor ประคอง กาญจนการุณฃ en_US
dc.contributor.author มนธิรา, ปัสสาสุ
dc.date.accessioned 2017-09-16T03:55:34Z
dc.date.available 2017-09-16T03:55:34Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1558
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหาร บุคลากรในศูนย์และนักวิชาการศึกษา เกี่ยวกับสภาพการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ และ 2) เปรียบเทียบความเห็นของผู้บริหาร บุคลากรในศูนย์และนักวิชาการศึกษา เกี่ยวกับสภาพการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยจำแนกตามสถานภาพตำแหน่ง และหน่วยงานที่สังกัด กลุ่มตัวอย่างใช้ประชากร เป็นผู้บริหาร จำนวน 36 คน บุคลากรในศูนย์ 135 คน และนักวิชาการศึกษาจำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมี 3 ลักษณะ ได้แก่ แบบสำรวจรายการ แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบปลายเปิด มีค่าความเชื่อมั่น 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ตามวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า 1.สภาพการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร บุคลากรในศูนย์แลนักวิชาการศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. ผลการเปรียบเทียบเกี่ยวกับสภาพการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร บุคลากรในศูนย์และนักวิชาการศึกษา จำแนกตามหน่วยงานที่สังกัด โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านบริหารวิชาการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารบุคลากรในศูนย์และนักวิชาการศึกษา เกี่ยวกับสภาพการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำแนกตามสถานภาพตำแหน่ง โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการบริหารบุคคลและด้านการบริหารงานทั่วไปแตกต่างกันย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านการบริหารวิชาการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านการบริหารงบประมาณไม่แตกต่างกัน 4. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสภาพการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร บุคลากรในศูนย์และนักวิชาการศึกษา ที่มีจำนวนมากที่สุด คือ ด้านการบริหารงานบุคคล ได้แก่ ผู้ดูแลเด็กควรมีหน้าที่ดูแลเด็กเท่านั้น ไม่ควรปฏิบัติหน้าที่อย่างอื่น และควรมีครูผู้ดูแลเด็กมากกว่านี้ ด้านการบริหารวิชาการ ได้แก่ ควรมีการประเมินพัฒนาการของเด็กอย่างต่อเนื่อง และควรให้เด็กมีการเรียนรู้ร่วมกับชุมชนอย่างสม่ำเสมอ ด้านการบริหารงานทั่วไป ได้แก่ ควรมีการจัดอาหารเสริมให้กับเด็กนักเรียนอย่างเพียงพอ และควรมีกิจกรรมเยี่ยมบ้ายเด็ก และด้านการบริหารงบประมาณ ได้แก่ ควรมรการจัดการงบประมาณให้เหมาะสม และชุมชนควรมีส่วนร่วมในการวางแผนการใช้งบประมาณ en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title สภาพการบริหารศูนย์เด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative ADMINISTRATION OF CHILDREN DEVELOPMENT CENTER UNDER THE LOCAL ADMINISTRATIVE ORGANIZATION IN MEUANG DISTRICT, BURIRAM PROVINCE en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics