ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ความคิดเห็นและความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor ผดุงชาติ ยังดี en_US
dc.contributor.advisor ประชัน คะเนวัน en_US
dc.contributor.advisor อาลัย จันทร์พาณิชย์ en_US
dc.contributor.author ทองศรี, ชัยละคร
dc.date.accessioned 2017-09-16T03:51:30Z
dc.date.available 2017-09-16T03:51:30Z
dc.date.issued 2552-04-01
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1548
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นและความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดบุรีรัมย์ จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา และอาชีพ กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มประชากรที่มีสิทธิเลือกตั้ง โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างตามตารางของ ทาโร ยามาเน (Taro Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน แล้วทำการสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยเป็นแบบสอบถามมี 3 ลักษณะ คือ แบบตรวจสอบรายการ (Check List) แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) และแบบปลายเปิด (Open Form) ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม (Reliability) เท่ากับ 0.9329 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F-test) ผู้วิจัยพบว่า 1. ความคิดเห็นและความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดบุรีรัมย์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกระบวนการการเลือกตั้ง อยู่ในระดับมาก นอกจากนั้น อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน 2. ผลการเปรียบเทียบระดับความเชื่อมั่นของประชาชน เมื่อจำแนกตามเพศ พบว่า โดยภาพรวม และรายด้าน มีความเชื่อมั่นไม่แตกต่างกัน เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษา ทั้งโดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้น ด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้งที่แตกต่างกัน โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี มีความเชื่อมั่นแตกต่างจากกลุ่มที่มีระดับการศึกษาอื่น และเมื่อจำแนกตามอาชีพ ทั้งโดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้น ด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้งที่แตกต่างกัน โดยกลุ่มอาชีพรับราชการ / รัฐวิสาหกิจ / ข้าราชการบำนาญ / ลูกจ้างภาคราชการ และกลุ่มอาชีพรับจ้าง / กำลังศึกษา ที่มีความเชื่อมั่นแตกต่างจากกลุ่มอาชีพอื่น 3. ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ด้านการบริหารงานเลือกตั้ง ควรมีการเสริมประสิทธิภาพในการบริหารงานจัดการเลือกตั้งทั้งในด้านกระบวนการและวิธีการต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์การเมือง ด้านการสืบสวนสอบสวนและการวินิจฉัยเรื่องร้องเรียงการเลือกตั้ง ควรเพิ่มมาตรการในกระบวนการสืบสวนสอบสวนและการหาข่าวเชิงลึกให้เข้มข้น โดยเฉพาะในกระบวนการวินิจฉัยเรื่องร้องเรียนการเลือกตั้ง ควรมีการจัดทำโครงการ “กกต.จังหวัดบุรีรัมย์ พบประชาชน” เพื่อประชาสัมพันธ์องค์กรในเชิงรุก และเป็นการเข้าถึงประชาชนอย่างแท้จริง และด้านความเชื่อมั่นต่อการทำหน้าที่ของ กกต. จว.บุรีรัมย์ ควรปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นกลาง และมีความซื่อสัตย์ สุจริต โดยยึดหลักธรรมาภิบาล และควรมีการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ทุก ๆ หนึ่งปี " en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title ความคิดเห็นและความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative Opinion and Confidence of People Towards Performing Duty of Buriram Elrforming Duty Commission en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline รัฐประศาสนศาสตร์
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.name รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics