ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีมย์ เขต 3

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุรชัย ปิยานุกูล en_US
dc.contributor.advisor สาธิต ผลเจริญ en_US
dc.contributor.author จันทร์เพ็ญ, กฤตยานวัช
dc.date.accessioned 2017-09-15T07:58:18Z
dc.date.available 2017-09-15T07:58:18Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1460
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพปัญหาและรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 77 คน และครูผู้สอน จำนวน 154 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .94 และใช้วิธีประชุมกลุ่มสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัญหาการปฏิบัติงานในโรงงานขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาในแต่ละด้านเป็นดังนี้ 1) ด้านผู้บริหารมีปัญหาในเรื่องการสร้างเสริมให้ครูมีความเป็นผู้นำทางวิชาการและเกิดความคิดใหม่ๆ ในการปฏิบัติงาน 2) ด้านสมรรถนะครูมีปัญหาเรื่องครูไม่สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลาย 3) ด้านบริหารจัดการโรงเรียนไม่มีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของโรงเรียนเพื่อเป็นข้อมูลในการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพโรงเรียน 4) ด้านการจัดการเรียนรู้โรงเรียนมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น ให้เด็กมีความสามารถต่างอายุกันมาเรียนอยู่ในชั้นเดียวกันน้อย 5) ด้านสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้โรงเรียนไม่พัฒนาแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน 6) ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินทิศทางนโยบายและเป้าหมายของการจัดการศึกษาน้อย 2. รูปแบบการบริหารจัดการการเรียนการสอนที่เหมาะสมสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 สำหรับผู้บริหารและครูผู้สอน คือ รูปแบบการบริหารจัดการการเรียนการสอนแบบคละชั้น ซึ่งเป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนจำนวนน้อยและ แก้ปัญหาขาดแคลนครู ครุไม่ครบชั้น ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนแบบคละชั้นสามารถปรับตารางเรียนให้สอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้แบบคละชั้น โดยเน้นทักษะที่สำคัญที่เป็นทักษะร่วมในการแสวงหาความรู้ครูผู้สอนสามารถจัดชุดแผนการเรียนรู้ได้ตามบริบทตรงตามระดับที่คละชั้น เนื่องจากแผนการเรียนรู้แยกเป็นแต่ละชั้นปี จึงนำมาจัดรวมกันได้ตามบริบทของแต่ละโรงเรียน ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและคุณภาพผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีนโยบายสนับสนุนงบประมาณในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบคละชั้นให้โรงเรียนขนาดเล็กในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ครอบคลุมทุกโรงเรียนเพื่อการพัฒนาและขยายผลการเรียนการสอนแบบคละชั้น นำไปสู่การพัฒนาศักยภาพนักเรียนและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครู en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีมย์ เขต 3 en_US
dc.title.alternative A Study of Multigrade Classroom Management in Small-Sized Schools Under Buriram Educational Service Area Office 3 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline หลักสูตรและการสอน
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics