ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ปัญหาและแนวทางการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาของโรงเรียนในเขตอำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปิยาภรณ์ ศิริภานุมาศ en_US
dc.contributor.author ช่วงมณี, จงเพียร
dc.date.accessioned 2017-09-15T06:15:16Z
dc.date.available 2017-09-15T06:15:16Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1409
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาของโรงเรียนในอำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ และ 2) ศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาของโรงเรียนในอำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1-ม.3) ของโรงเรียนในอำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 505 คน โดยผู้บริหารและครูผู้สอนทำการศึกษาทั้งประชากร ส่วนนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนได้จากการสุ่มจากประชากรตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน แล้วทำการสุ่มแบบกระจายตามระดับชั้นอย่างมีสัดส่วนแล้วจึงสุ่มอย่างง่าย ศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่าและการประชุมกลุ่มย่อย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาของโรงเรียนในอำเภอโนนดินแดงส่วนใหญ่มีการดำเนินงานจัดการเรียนรู้เพศศึกษาในโรงเรียนต่างๆ คือ ด้านหลักสูรการเรียนรู้ ด้านเนื้อหาการเรียนรู้ ด้านครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านสื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้ และด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 2. ปัญหาการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาของโรงเรียน คือ 2.1 โรงเรียนสนับสนุนให้จัดกิจกรรมเรียนรู้เพศศึกษาในโรงเรียน และสอดแทรกเนื้อหาเพศศึกษาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 2.2 เนื้อหาการเรียนเพศศึกษา ไม่สอดแทรกความรู้สึกนึกคิด และทักษะการดำเนินชีวิต 2.3 ครูขาดการเตรียมการก่อนจัดการเรียนรู้เพศศึกษาและครูวุฒิไม่ตรงกับวิชาที่สอนเพศศึกษา 2.4 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพศศึกษา ไม่เหมาะสมต่อการเปลี่ยนแปลงในสังคมปัจจุบัน 2.5 สื่อที่มีลักษณะยั่วยุทางเพศหาง่ายเกลื่อนกลาดในสังคมปัจจุบัน 2.6 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้เพศศึกษาไม่สอดคล้องกับการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน 3. แนวทางการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาของโรงเรียนในอำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ มีดังนี้ 3.1 หลักสูตรการเรียนรู้เพศศึกษาควรจัดกิจกรรมเพศศึกษาเป็นวิชาหนึ่งในหลักสูตรโดยเฉพาะ ต้องจัดให้ตรงกับความต้องการของเด็ก ผู้ปกครอง โดยยึดพัฒนาการทางเพศของผู้เรียนเป็นหลัก 3.2 เนื้อหาการเรียนรู้เพศศึกษาควรประกอบด้วยหน่วยการเรียนรู้ 6 หน่วย คือ หน่วยพัฒนาการทางเพศ หน่วยสัมพันธภาพระหว่างบุคคล หน่วยทักษะส่วนบุคคล หน่วยพฤติกรรมทางเพศ หน่วยสุขภาพทางเพศ และหน่วยสังคมวัฒนธรรมทางเพศ 3.3 ครูผู้จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพศศึกษาควรผ่านการฝึกอบรมการให้ความรู้เพศศึกษามาก่อนจะช่วยให้การสอนเพศศึกษามีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น 3.4 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพศศึกษาควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการกลุ่มและวิธีการที่หลากหลาย 3.5 สื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้เพศศึกษาควรนำมาใช้อย่างหลากหลาย และควรนำนักเรียนไปทัศนศึกษาผลของความประมาทในเรื่องเพศ เช่น ที่วัดพระบาทน้ำพุ 3.6 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้เพศศึกษาควรวัดทั้งในด้านความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมให้ตรงกับการปฏิบัติจริงในชีวิตตามบริบทของสังคมในปัจจุบัน 3.7 การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองคือ ควรแสดงพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสมตามวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามเพื่อให้เป็นตัวอย่างแก่ผู้เรียน 3.8 กิจกรรมเสริมการเรียนรู้เพศศึกษาที่ควรจัดคือ กิจกกรมเข้าค่ายเรียนรู้เพศศึกษา กิจกรรมเข้าค่ายอบรมธรรมะเพื่อพัฒนาจิต ตั้งชมรมเพื่อนช่วยเพื่อน ตั้งคลินิกรับปรึกษาปัญหาเรื่องเพศให้กับเพื่อน ฯลฯ en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title ปัญหาและแนวทางการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาของโรงเรียนในเขตอำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative Problems and Guidelines for Six Educational Learning Management of Schools Located in Nondindaeng District, Buriram Province en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics