ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

สภาพจริงและสภาพที่คาดหวังในการสร้างแรงจูงใจให้ครูทำวิจัยในชั้นเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1

Show simple item record

dc.contributor.advisor สงวน ทรงวิวัฒน์ en_US
dc.contributor.advisor มาลิณี จุโฑปะมา en_US
dc.contributor.advisor สมศักดิ์ เทศสวัสิ์วงศ์ en_US
dc.contributor.author เกศวรรณ, พลเดช
dc.date.accessioned 2017-09-15T04:00:02Z
dc.date.available 2017-09-15T04:00:02Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1387
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพกจริงและสภาพที่คาดหวังในการสร้างแรงจูงใจให้ครูทำวิจัยในชั้นเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 ของผู้บริหารสถานศึกษาและครูในกรอบการสร้างแรงจูงใจจากสองปัจจัยได้แก่ ปัจจัยกระตุ้นและปัจจัยค้ำจุน โดยจำแนกตามสภาพตำแหน่งและวุฒิการศึกษา กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูมีจำนวน 370 คน ได้จากการสุ่มจากประชากร ที่มีอยู่จำนวน 3,112 คน โดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามคารางเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) และทำการสุ่มตามระดับชั้นอย่างมีสัดส่วน (Proportional Stratified Random Sampling) เครื่องมือเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่น 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานใช้ t-test แบบ Independent กำหนดค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้บริหารสถานศึกษาและครูมีความคิดเห็นต่อสภาพจริง โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยกระตุ้น ด้านการได้รับความยอมรับนับถือ มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุด ในส่วนปัจจัยค้ำจุนด้านรายได้มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุด 2. ผู้บริหารสถานศึกษาและครูมีความคิดเห็นต่อสภาพที่คาดหวังโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ในส่วนปัจจัยกระตุ้น ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งการงาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุดในส่วนปัจจัยค้ำจุน ด้านสภาพแวดล้อมของงานมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาเกี่ยวกับสภาพจริงและสภาพที่คาดหวังของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีวุฒิการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการสร้างแรงจูงใจให้ครูทำวิจัยในชั้นเรียน ปัจจัยกระตุ้นโดยรวมและรายด้านมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านลักษณะของงานมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในส่วนปัจจัยค้ำจุนโดยรวมและรายด้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับสภาพที่คาดหวังทั้งปัจจัยกระตุ้นและปัจจัยค้ำจุนโดยรวมและรายด้าน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 4. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับสภาจริงและสภาพที่คาดหวังของครูที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการสร้างแรงจูงใจให้ครูทำวิจัยในชั้นเรียนทั้งปัจจัยกระตุ้นและปัจจัยค้ำจุน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน สำหรับสภาพจริง ปัจจัยกระตุ้นด้านความก้าวหน้าในตำแห่งการงานมีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. ผู้บริหารสถานศึกษาและครูมีความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาพจริงและสภาพที่คาดหวังในการสร้างแรงจูงใจให้ครูทำวิจัยในชั้นเรียน ได้แก่ 1) ควรส่งเสริมให้ครูทำการวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน โดยเน้นให้เด็กอ่านคล่องเขียนคล่อง คิดเป็นและแก้ปัญหาได้ 2) ควรจัดสรรงบประมาณสนับสนุน ส่งเสริมให้ครูทำวิจัยในชั้นเรียน เป็นการจัดสรรพงประมาณให้เหมือนกับงบประมาณปกติและจัดสรรให้ต่อเนื่อง เหมือนงบประมาณทั่วไป 3) ควรส่งเสริมการประชุมอบรมสัมมนาให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในการวิจัยในชั้นเรียนอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม 4) สนับสนุนส่งเสริมให้ครูทำวิจัยในด้านคุณธรรม จริยธรรม ระเบียบวินัยและพัฒนาการของเด็กทุก ๆ ด้านและนำผลการวิจัยมาพัฒนาการเรียนการสอน 5) ควรส่งเสริมสนับสนุน และให้ความสำคัญของการทำวิจัยของครู en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title สภาพจริงและสภาพที่คาดหวังในการสร้างแรงจูงใจให้ครูทำวิจัยในชั้นเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 en_US
dc.title.alternative The Occurring State and Expected State in Construction Motive for Teachers to do Classroom Research in Schools Uner Buriram Educational Service Area Office 1 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics